เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการเรื่อง “การค้นหาความถนัดและพัฒนาตนสู่ความสำเร็จ” ดำเนินงานภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ ถึงความถนัดและอัจฉริยภาพของตนเอง รวมถึงมีความรู้ความเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ ทั้งนี้คณะกรรมการดำเนินงานได้ดำเนินโครงการจำแนกเป็น 2 รุ่น ดังนี้ รุ่นที่ 1 วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00-16.00 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนโรงเรียนคณะราษฏรบำรุง 2 จังหวัดยะลา ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 5 และ 6 รวม 60 คน รุ่นที่ 2 วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00-16.00 น. โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนโรงเรียนอาสาสุลดินวิทยา จังหวัดยะลา ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ 6 จำนวน 90 คน การดำเนินงานโครงการเป็นลักษณะอบรมปฎิบัติการ โดยมีหัวข้อการอบรมแบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย การค้นหาความถนัดของตนเอง การค้นหาอัจฉริยภาพของตนเอง และการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ การอบรมนอกจากมีการบรรยายให้ความรู้ และชมวีดีทัศน์ ยังมีกิจกรรมให้เยาวชนทำแบบทดสอบพร้อมแปลความหมายความถนัดและอัจฉริยภาพ ทำให้เยาวชนรู้จักและเข้าใจตนเองมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาและการประกอบอาชีพในอนาคต ผลการดำเนินงาน ก่อนการอบรม เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจถึงความถนัดและอัจฉริยภาพของตนเอง รวมถึงแนวทางการพัฒนาตนเองสู่ความสำเร็จ คิดเป็นค่าเฉลี่ย 51.00 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 หลังการอบรม เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเพิ่มขึ้น คิดเป็นค่าเฉลี่ย 86.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.39 สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการวิชาการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.14 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 เมื่อจำแนกความพึงพอใจเป็นรายด้าน พบว่า เยาวชนมีความพึงพอใจด้านการให้บริการของเจ้าหน้าที่และวิทยากรในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะประเด็นวิทยากรอธิบายได้ชัดเจนสื่อความหมายได้เหมาะสม และประเด็นกิริยามารยาทและการมีมนุษยสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่และวิทยากร คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.28 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.33 และค่าเฉลี่ย 4.24 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.41 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจด้านอื่นๆ อันได้แก่ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก เยาวชนมีความพึงพอใจในระดับมาก

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนโรงเรียนคณะราษฏรบำรุง  2  จังหวัดยะลา  ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่  5  และ  6  รวม    60  คน
และเยาวชนโรงเรียนอาสาสุลดินวิทยา  จังหวัดยะลา  ระดับชั้นมัธยมศึกษาที่  6  จำนวน  90  คน

สถานที่ โรงเรียนคณะราษฏรบำรุง 2 จังหวัดยะลา และโรงเรียนอาสาสุลดินวิทยา จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 19 และ 21 กุมภาพันธ์ 2561

รายละเอียด

กลุ่มกะลามะพร้าวบ้านท่าสาป จังหวัดยะลา มีปัญหาด้านการผลิตและปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ โดยขาดแคลนอุปกรณ์ผลิต ทำให้การผลิตล่าช้าและผลงานไม่ละเอียดประณีตเท่าที่ควร อีกทั้งผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่าย ยังเป็นแบบเดิมๆ ขาดอัตลักษณ์ความ โดดเด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์จำนวน 3 แบบผลิตภัณฑ์ อันได้แก่ กระเป๋า เครื่องประดับ และนาฬิกา ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ น่าสนใจ และเป็นที่ยอมรับของตลาด อันเนื่องจากการใช้วัสดุและวัตถุดิบที่ผสมผสานในการผลิต (กะลามะพร้าวและเชือกถัก) ก่อให้เกิดความร่วมสมัย น่าสนใจ และสามารถใช้ประโยชน์ได้ สามารถนำมาซึ่งยอดขายและกำไรธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 24% ภายในระยะเวลาการดำเนินงานโครงการที่กำหนด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะลามะพร้าวบ้านท่าสาป  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

สถานที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มกะลามะพร้าวบ้านท่าสาป ที่ตั้ง 4/6 หมู่ 3 ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

วันที่ดำเนินการ 1 เมษายน 2560 - 31 มีนาคม 2561

รายละเอียด

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีบ้านลิมุด (เบเกอรี่) จังหวัดยะลา มีปัญหาด้านผลิตภัณฑ์และการตลาด โดยผลิตภัณฑ์ยังคงเป็นเบเกอรี่แบบเดิมๆ ขาดอัตลักษณ์ความโดดเด่นเฉพาะตัวที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่เป็นที่สนใจของตลาด อีกทั้งการทำการตลาดเป็นลักษณะผลิตตามคำสั่งซื้อ ขาดการทำการตลาดเชิงรุก วิสาหกิจชุมชนสตรีบ้านลิมุด (เบเกอรี่) จังหวัดยะลา ได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เบเกอรี่สูตรใหม่ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ โดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขัน อย่างน้อย 3 สูตร รวมถึงได้รับการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย และการสื่อสารสร้างแบรนด์ ทำให้ทางกลุ่มฯ มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 28% ภายในระยะเวลาการดำเนินโครงการที่กำหนด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีบ้านลิมุด(เบเกอรี่)    จังหวัดยะลา

สถานที่ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีบ้านลิมุด(เบเกอรี่) จังหวัดยะลา 67/1 หมู่ที่ 3 ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

วันที่ดำเนินการ 1 เมษายน 2560 – 31 มีนาคม 2561

รายละเอียด

ธุรกิจ BB Chef เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2558 โดยคุณฟาอีซา บินอาบูด ภายใต้แนวคิดที่ต้องการให้คนเบตงได้รับประทานอาหารประเภทขนมไทยที่มีรสชาตอร่อยแท้ตามสูตรโบราณ อีกทั้งฮาลาล ถูกหลักศาสนาอิสลาม มุสลิมสามารถรับประทานได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่ผลิตและจำหน่ายปัจจุบัน ได้แก่ ขนมชั้น ขนมจีบนก ช่อม่วง ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด กลีบลำดวน อาลัว วุ้นกรอบ และข้าวเหนียวแก้ว ปัญหาปัจจุบันของธุรกิจคือบรรจุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน ขาดอัตลักษณ์เฉพาะ โครงการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบรรจุภัณฑ์ขนมไทยมงคล ภายใต้แบรนด์ BB Chef ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะ สามารถสื่อสารสร้างแบรนด์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้ โดยเป้าหมาย/ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับได้แก่บรรจุภัณฑ์ขนมไทยมงคล ที่มีต้นทุนบรรจุภัณฑ์ต่อชิ้นไม่เกินร้อยละ 15 ของราคาสินค้า บรรจุภัณฑ์สามารถสื่อสารสร้างแบรนด์ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้เพิ่มขึ้น 25% ภายในระยะเวลาการดำเนินงานโครงการที่กำหนด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มธุรกิจ  BB  Chef

สถานที่ 189 ถนนประชาธิปัตย์ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 28 กันยายน 2561 ถึง 28 กรกฎาคม 2562

รายละเอียด

รับผิดชอบกิจกรรมที่ 2 จัดทำแผนการพัฒนา และลงนาม MOU ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาคี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมรอยต่อที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กับสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา ที่ว่าการอำเภอเบตง สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเบตง เทศบาลเมืองเบตง และเทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นายนาซิร สนิ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทนท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา พันจ่าโท อนันต์ บุญสำราญ นายอำเภอเบตง นายประพันธ์ ทองสีดำ พัฒนาการอำเภอเบตง นายสมยศ เลิศลำยอง นายกเทศมนตรีเมืองเบตง และนายมะอูโซะ สาลัง นายกเทศมนตรีตำบลธารน้ำทิพย์ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ณ โรงแรมแกรนด์แมนดาริน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา การจัดเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์จังหวัดยะลา “คุณภาพชีวิตมั่นคง เกษตรมั่งคั่ง ท่องเที่ยวยั่งยืน”และขับเคลื่อนวิสัยทัศน์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา “มหาวิทยาลัยคลังปัญญาแห่งชายแดนใต้”ในการพัฒนาพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ตามโครงการนโยบายของรัฐบาล และโครงการพระราโชบายร่วมกัน รวมถึงพัฒนาพื้นที่อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว และร่วมอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดีงาม ร่วมกันผ่านการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านชุมชน โดยให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหมู่บ้านอย่างเข้มแข็งผ่านการจัดเวทีประชาคมในการวิเคราะห์และสร้างการรับรู้ปัญหาเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน 2) ด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ OTOP ที่มีศักยภาพโดดเด่น 3) ด้านการท่องเที่ยว โดยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เน้นหมู่บ้านที่มีธรรมชาติสามารถเป็นแหล่งพักผ่อนของนักท่องเที่ยว 4) ด้านการอนุรักษ์โดยเน้นให้คนในหมู่บ้านรักษาอัตลักษณ์ท้องถิ่น เพื่อพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านที่สามารถเชื่อมร้อยประเพณี วัฒนธรรม เส้นทางการท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์ชุมช นเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.สมบัติ  โยธาทิพย์  อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  นายนาซิร  สนิ  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ  รักษาราชการแทนท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดยะลา  พันจ่าโท  อนันต์  บุญสำราญ  นายอำเภอเบตง  นายประพันธ์  ทองสีดำ  พัฒนาการอำเภอเบตง  นายสมยศ  เลิศลำยอง  นายกเทศมนตรีเมืองเบตง  และนายมะอูโซะ  สาลัง  นายกเทศมนตรีตำบลธารน้ำทิพย์

สถานที่ ณ โรงแรมแกรนด์แมนดาริน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 11 มกราคม 2562

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการเรื่อง ศูนย์พัฒนาธุรกิจชายแดนใต้ : โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนใต้ รุ่นที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพื่อพัฒนาทักษะการเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจให้กับผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนใต้ ลักษณะโครงการเป็นการสนับสนุนองค์ความรู้ และงบประมาณเพื่อเพิ่มศักยภาพการดำเนินงานธุรกิจ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนใต้รวม จำนวน 30 คน 30 ธุรกิจ การดำเนินงานโครงการ เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือนเมษายน 2560 ณ คณะวิทยาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และอาคารพระเศวตสุดคชาธา(สนามช้างเผือก) ยะลา รวมถึงท่าแพเก่า เชิงสะพานเรือนจำ จังหวัดยะลา ผลที่ได้เกิดเครือข่ายความร่วมมือจำนวน 2 เครือข่าย , เกิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ จำนวน 30 ผลิตภัณฑ์ และเกิดองค์ความรู้ เรื่องการทำแผนธุรกิจ และสามารถปฏิบัติจัดท าแผนธุรกิจได้จำนวน 30 แผน นอกจากนี้ผลการสำรวจความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายจากผู้เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการจังหวัดชายแดนใต้รวม  จำนวน  30  คน  30  ธุรกิจ

สถานที่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ เดือนตุลาคม 2559 ถึง เดือนเมษายน 2560

รายละเอียด

โครงการการจัดตั้งศูนย์การศึกษาและวิจัยสู่ความเป็นเลิศด้านอุตสาหกรรมบริการและดูแล สุขภาพผู้สูงอายุ กิจกรรม : การยกระดับการบริการร้านอาหารภายหลังโควิค 19 ได้ดำเนินงานเมื่อวันที่ 12 - 14, 19 - 21 และ 26 - 28 มิถุนายน 2563 ณ ร้านอาหารฮานตาน่า อ าเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวนรวมทั้งสิ้น 30 คน เป้าหมายเพื่อจัดการองค์ความรู้ด้านการให้บริการ เพื่อจัดทำเป็นต้นแบบที่ดีในการให้บริการ ได้ให้แนวคิดในเรื่องวิกฤติโควิค 19 ประกอบด้วย 1. วิกฤติโควิค-19 2.วิถีปกติใหม่ (New Normal) 3.วิถีปกติใหม่ธุรกิจร้านอาหาร ส่วนของประเด่นอื่น ๆ ก็จะให้ความสำคัญตามสภาพการณ์ บริบท และการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา    รวม  30  คน

สถานที่ ร้านอาหารฮานตาน่า อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 12-14, 19-21 และ 26-28 มิถุนายน 2563

รายละเอียด

โครงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง(งานยุทธศาสตร์) กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ : พืชสมุนไพรพื้นถิ่น เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาการจัดการ กับ ชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นถิ่นของชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร อำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยมีบูรณาการโครงการบริการวิชาการ กับพันธกิจอื่น อันได้แก่ พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผ่านการลงพื้นที่เพื่อนำศาสตร์ด้าน การตลาด การเงิน และการบัญชี ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ชุมชน ทั้งนี้ผลที่ได้จากการบูรณาการ 1) พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอนใน 3 รายวิชา ประกอบด้วย วิชาการเงินธุรกิจ วิชาต้นทุน 2 และวิชาการบัญชีชั้นสูง1 2) พันธกิจด้านงานวิจัยเรื่อง “การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรพื้นถิ่นของชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์” 3) พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ด้านพืชสมุนไพรพื้นถิ่น ก่อให้เกิดผลดังนี้ 1) ผลิตภัณฑ์ใหม่ จำนวน 2 รายการ อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์พิมเสนน้ำ และ ยาดมสมุนไพร 2) แบบโลโก้และฉลากผลิตภัณฑ์พิมเสนน้ำและยาดมสมุนไพร “คีรี 1987” 3) คลิปวิดีโอเพื่อการสื่อสาร จำนวน 2 คลิป อันได้แก่ คลิปวิดีโอพิมเสนน้ำและยาดมสมุนไพร “คีรี 1987” (ต้นน้ำ & กลางน้ำ) และคลิปวิดีโอพิมเสนน้ำและยาดมสมุนไพร “คีรี 1987” (ปลายน้ำ) 4) ผลงานลิขสิทธิ์ ประเภท งานแพร่เสียงแพร่ภาพ จำนวน 2 ผลงาน

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร  1    ตำบลตะเนาะแมเราะ  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ณ ที่ทำการชุมชนอุโมงค์ปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 1 พฤศจิกายน 2563 – 30 เมษายน 2564

รายละเอียด

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาการจัดการ กับ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพ วังพญา โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจักสานจากวัสดุพื้นถิ่นเตยหนามของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล 2) เพื่อบูรณาการโครงการบริการวิชาการ กับพันธกิจอื่น อันได้แก่ พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการวิจัย และด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ทั้งนี้ผลที่ได้จากการบูรณาการ 1) พันธกิจด้านการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา “การตลาดผลิตภัณฑ์ฮาลาลและผลิตภัณฑ์ชุมชน” 2) พันธกิจด้านงานวิจัยเรื่อง “นวัตกรรมผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์แบบผสมผสานวัตถุดิบของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา อำเภอ รามัน จังหวัดยะลา” 3) พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเรื่อง “นวัตกรรมเตยหนาม.....เส้นสายงานศิลป์” ก่อให้เกิดผลดังนี้ 1) ผลงานกระเป๋าเตยหนามสร้างสรรค์ 3 Set อันประกอบด้วย Set “Binlala”, Set “Patical” และ Set “Banarock” 2) การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา ให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 45% 3) คลิปวิดีโอ “นวัตกรรมเตยหนาม.....เส้นสายงานศิลป์” 4. ผลงาน KM เรื่อง “นวัตกรรมเตยหนาม.....เส้นสายงานศิลป์”

กลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา

สถานที่ ณ ที่ทำการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านสันติภาพวังพญา 38 หมู่ 2 ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

รายละเอียด

โครงการ การพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมสร้างสรรค์ธุรกิจด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 116,110 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงหลัก เศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ธุรกิจรวมถึงพัฒนาผลงานนวัตกรรมตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ลักษณะเป็นการสํารวจความต้องการรับบริการวิชาการจากกลุ่มเป้าหมายและนําผลการสํารวจมาจัดกิจกรรมตามความต้องการ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ 4 ธุรกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา รวมจำนวน 30 คนดำเนินการวันที่ 29 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และที่ทำการกลุ่ม 4 ธุรกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจำนวน 1 เครือข่าย ก่อให้เกิดรายได้ 15,000 บาท และเกิดองค์ความรู้การพัฒนาอัตลักษณ์ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสาน จังหวัดยะลา นอกจากนี้ได้มีการประเมินความพึงพอใจผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ค่าร้อยละ 85 และมีข้อเสนอแนะการนำไปใช้ประโยชน์ โดยต่อยอดพัฒนาเรื่องการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา เพื่อสร้างการรับรู้และการตัดสินใจซื้อต่อลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

4  ธุรกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา  รวมจำนวน  30  คน

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา และที่ทำการกลุ่ม 4 ธุรกิจชุมชนกลุ่มเครือข่ายเตยหนามจักสานจังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 29 มกราคม 2565 ถึง 31 กรกฎาคม 2565