เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

พันธกิจที่สำคัญประการหฯึ่งซึ่งตอบสนองวิสัยทัศฯ์และปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุร๓าพชีวิตของประชาชนในท้องถิ่น เรียนรุ้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมื่องท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนได้ดำเนินการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่นเป็นประจำทุกปี โดยยึดข้อมูลปัญหาและความต้องการของท้องถิ่นเป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการในการให้บริการวิชาการตลอลมา ในพื้นที่ทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหสัดปัตตานี โดยการประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลชุมชน และองคืกรอื่นๆ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
   -  ผู้นำเยาวชน  จำนวน  30  คน
เชิงคุรภาพ
   -  ผู้นำ  เยาวชนตำบลทรายขาว  อำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี  ที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมในชุมชนของตนเองได้  และได้บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาจริยธรรมในงานพัฒนาชุมชน

สถานที่ ณ ศูนย์สามวัย ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 28-29 เมษายน 2561

รายละเอียด

จากการดำเนินงานวิจัยของสาขาการพัฒนาชุมชน ปีงบประมาร 2561 พบปัญหาการบริหารจัดาร การใช้เทคโนโลยีการผิตที่ไม่ครอบคลุมพื้นที่ เกษตรกรรายย่อต่างคนต่างทำจึงยากต่อก่ีจัดการผลผลิตให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ดังนั้นหลักสูตราการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดทำโครงการฝึกอบรมการบริหารจัดการ เครือข่ายเกษตรสวนทุเรียนโครงการเกษตรแปลงใหญ่ ตำบลทรายขาวขึ้น เพื่อแก้ไขปัยหาการบริหารจัดการเครือข่ายเกษตรกรสวนทุเรียน ให้เข้มแข็งสามารถดำเนินกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ  
   -  เกษตรกรสวนทุเรียนโครงการเกษตรกรแปลงใหญ่  จำนวน  25  คน  
 เชิงคุณภาพ
   -    เกษตรกรเครือข่ายสวนทุเรียนสามารถบริหารจัดการเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น  มีอาชีพมั่นคง  นำไปสู่ความมั่นคงมั่งคังและยังยืน

สถานที่ ณ องค์การบริหารส่วนตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 28-29 เมษายน 2562

รายละเอียด

พันธกิจที่สําคัญประการหนึ่งซึ่งตอบสนองวิสัยทัศน์และปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ การบริการวิชาการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีตามความต้องการให้แก่สังคม เรียนรู้เสริมสริางความเข้มแข็ง ให้กับกลุ่มโอทอป และความสามารถในการบริหารงานและการจําหน่ายสินค้าในระบบออนไลน์ ซึ่งหลักสูตร ศิลปะศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนได้ดําเนินการให้บริการวิชาการแก่ท้องถิ่นเป็นประจําทุกปี

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนโอท๊อป  ตําบลทรายขาวขึ้นต.ทรายขาว  อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี

สถานที่ ณ อาคารอเนกประสงค์บ้านหลวงจันทร์ อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ วันที่ 4 - 5 เมษายน 2564

รายละเอียด

พันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งตอบสนองวิสัยทัศน์และปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ การบริการวิชาการถ่ายทอดความรู้และกระบวนการเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล TPMAP (Thai Poverty Map and Analytics Platform) ในการเข้าถึงระบบบริการจัดการข้อมูลพัฒนาคนแบบชี้เป้า และส่งเสริมกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมและสามารถจัดการข้อมูลมหภาค (Big Data) ให้กลับกลุ่มบัณฑิตอาสา ซึ่งหลักสูตร ศิลปะศาตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนได้จัดกิจกรรมการบริการวิชาการ พัฒนาศักยภาพบัณฑิตอาสาในงานพัฒนาชุมชน โดยยึดข้อปัญหาความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงาน เป็นแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการในการบริการวิชาการตลอดมา ปีงบประมาณ 2564 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จึงได้กำหนดพื้นที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการในพื้นที่อำเภอธารโต อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เพื่อให้การบริการวิชาการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานเป็นรูปธรรมชัดเจนตลอดจนเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล TPMAP (Thai Poverty Map and Analytics Platform) ในการเข้าถึงระบบบริการจัดการข้อมูลพัฒนา คนแบบชี้เป้า ส่งเสริมกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมและสามารถจัดการข้อมูลมหภาค (Big Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับความรู้บัณฑิตอาสาให้สามารถทำงานเชิงรุกในพื้นที่ปฏิบัติการได้ หลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการ โครงการบริการวิชาการ เรื่อง พัฒนาศักยภาพบัณฑิตอาสาในงานพัฒนาชุมชน อำเภอธารโต อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

บัณฑิตอาสา  ในพื้นที่  .อำเภอธารโต  อำเภอกรงปินัง  จังหวัดยะลา  จำนวน                48  คน

สถานที่ อำเภอธารโต อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ฝึกอบรมตามโครงการ ระหว่างวันที่ ระหว่างวันที่ 22 - 23 ธันวาคม 2564

รายละเอียด

กลุ่มเป้าหมาย

โครงการการต่อยอดผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชสมุนไพรในชุมชนกลุ่มแม่บ้านตำบลปุโละปุโยได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการในพื้นที่  ตำบลปุโละปุโย  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  พัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ในชุมชนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์  BCG  Economy  มีช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มแม่บ้านตำบลปุโละปุโยและเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน    มีกลุ่มเป้าหมาย  คือ  กลุ่มแม่บ้านตำบลปุโละปุโย  จำนวน  15  คน  มีการดำเนินการกิจกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชสมุนไพรในชุมชนและส่งเสริมการตลาด  ผลิตภัณฑ์สารสกัดพืชสมุนไพรในชุมชน  โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก  เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจำนวน  2  เครือข่าย  และเกิดองค์ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำสบู่ก้อนและแชมพู  ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับชาวบ้านในชุมชน  นอกจากนี้  จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ  70  อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดโครงการได้

สถานที่ กลุ่มแม่บ้านหมู่ 6 ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 25-26 สิงหาคม 2565

รายละเอียด

พันธกิจที่สำคัญประการหนึ่งซึ่งตอบสนองวิสัยทัศน์และปรัชญาขอมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา คือ การให้บริการวิชาการ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรม โดยการบูรณาการองค์ความรู้ กับภูมิปัญญาและความร่วมมือกับทุกภาคส่วน บนฐานทุนทางวัฒนธรรมและทรัพยากรของชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาชุมชน ได้จัดกิจกรรม บริการวิชาการการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตอาสา ในการใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน อำเภอ เบตง จังหวัดยะลา โดยยึดข้อปัญหาความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น หน่วยงาน เป็นแนวทาง ในการจัดทำแผนงานโครงการในการบริการวิชาการตลอดมา ในพื้นที่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา พบว่า กลุ่มบัณฑิตอาสารักษามาตุภูมิยังขาดองค์ความรู้ เกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล PPAOS (Provincial Poverty Alleviation Operating System) ในการ เข้าถึงระบบบริหารจัดการข้อมูลพัฒนาคนแบบชี้เป้า ทำให้เกิดปัญหาในการจัดการข้อมูลอย่างมี ประสิทธิภาพ และทำให้การลงพื้นที่เชิงรุกของกลุ่มบัณฑิตอาสาเป็นไปอย่างล้าช้า ซึ่งเป็นปัญหาที่ไม่อาจ ละเลยได้ เพราะเป็นช่องทางในการทำงานและเป็นฐานข้อมูลที่สำคัญที่หน่วยงานต่าง ๆ สามารถเอาไป ใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่ต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้การบริการวิชาการเป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีผลงานเป็นรูปธรรมชัดเจน ตลอดจน เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านเกี่ยวกับการใช้ฐานข้อมูล PPAOS (Provincial Poverty Alleviation Operating System) ในการเข้าถึงระบบแก้ไขปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับ จังหวัด ส่งเสริมกระบวนการแก้ไขปัญหาแบบองค์รวมและสามารถจัดการข้อมูลมหภาค (Big Data) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อยกระดับความรู้บัณฑิตอาสาให้สามารถทำงานเชิงรุกในพื้นที่ปฏิบัติการได้ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการพัฒนาชุมชน จึงได้จัดโครงการบริการวิชาการ กิจกรรมบริการวิชาการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตอาสา ในการใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลชุมชน อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

บัณฑิตอาสา  ในพื้นที่อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ณ ห้องประชุมไกรลาส ที่ว่าการอำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

รายละเอียด

ในยุคปัจจุบันการนำ SDGs การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดหลักในยุคสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นทั้งหนทางที่ จะเข้าใจโลก และเป็นทั้งวิธีการที่จะแก้ปัญหาระดับโลก ด้วยเหตุนี้เองแนวคิด "การพัฒนาที่ยั่งยืน" จึงเกิดขึ้น เพื่อเรียกร้องให้ชาวโลกเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ และได้มีการพูดถึงแนวคิดนี้กันอย่างกว้างขวางทั่วทุกมุม โลก SDGs ย่อมาจากคำว่า “Sustainable Development Goal”หรือ“การพัฒนาอย่างยั่งยืน”คือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ(United Nations: UN) เพื่อทำให้โลกดีขึ้นภายในปี 2030 ด้วยการพัฒนาที่คำนึงถึงความเป็นองค์รวมของทุก ๆ ด้านอย่างสมดุลบนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกกลุ่ม โดยความเอื้ออาทร เคารพซึ่งกันและกัน เพื่อความสามารถในการพึ่งตนเอง และมีคุณภาพชีวิตอย่างเท่าเทียม ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สถานศึกษาหน่วยงานราชการ หรือบริษัทเอกชนต่างก็นำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน มาปรับใช้และ วางแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่อยู่ในระดับสากลและนานาชาติโดยประเด็นสำคัญ คือ การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals-SDGs) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ องค์การสหประชาชาติกำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ โดยมุ่งขจัดความยากจนทุกรูปแบบ และสนับสนุนการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนของโลก ประกอบด้วย 17 เป้าหมาย 169 เป้าประสงค์ คลอบคลุม 3 เสาหลักด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่จะใช้เป็นทิศทางในการพัฒนาของ ประชาคมโลกในระยะ 15 ปี จากการศึกษาในพื้นที่จังหวัดยะลาพบว่าในพื้นที่ไม่ค่อยเข้าใจถึงองค์ความรู้ทางด้าน Sustainable Development Goals : (SDGs) 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อส่งผลต่อการรับรู้ของคนในพื้นที่ ภายใน อานคตซึ่งยังไม่ได้รับการแพร่หลาย ส่งผลต่อการรับรู้ของคนในพื้นที่และในอนาคต จากการศึกษาจึงเล็งเห็นว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอิสลามประสานวิทย์ ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ที่กำลังศึกษา เข้ามาสู่รั้วมหาวิทยาลัยจำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยว Sustainable Development Goals : (SDGs) 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่จะต้องนำไปใช้ในการประกอบในการศึกษาใน อนาคตหรือใช้ใน การประกอบการพัฒนาอนุรักษ์สืบสานประเพณี และสิ่งแวดล้อมในอนาคตต่อไป จากข้อความข้างต้นคณะผู้จัดทำโครงการก้าวทันโลก เรียนรู้Sustainable Development Goals : (SDGs) 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับเยาวชนโรงเรียนอิสลามประสานวิทย์ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ขึ้นมาเพื่อที่จะส่งเสริมและให้ความรู้เกี่ยว Sustainable Development Goals : (SDGs) 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้กับเยาวชนโรงเรียนอิสลามประสานวิทย์ ต.สะเตงนอก อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อที่จะให้เด็กนักเรียนนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้รู้จักการปรับตัวเข้าสู่สังคมในรั่ว มหาวิทยาลัยและเป็นโอกาศแลเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจก่อนที่จะเข้ามาศึกษาต่อในประดับอุดมศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนชุ้นมัธยมศึกษาปีที่ื  6  โรงเรียนอิสลามประสานวิทย์  ตำยลสะเตง  อำเพอเมืองยะลา  จังหวัดยะลา

สถานที่ ห้องประชุมโรงเรียน โรงเรียนอิสลามประสานวิทย์ ตำยลสะเตง อำเพอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 25 มกราคม 2566

รายละเอียด

ด้วยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรม การพัฒนาชุมชน ได้บูรณาการรายวิชา 321322005 ทักษะและเทคนิคในงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 2132323 ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์กับการจัดโครงการบริการวิชาการ กิจกรรม บริการวิชาการ เรื่อง การพัฒนาทัศนคติเชิงบวกให้กับครัวเรือนยากจน อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เพื่อส่งเสริมและพัฒนา ความคิด ทัศนคติเชิงบวกให้กับครัวเรือนยากจนในพื้นที่ ให้สามารถนำไปใช้ในการทำงานและการดำรงชีวิต ประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

ตัวแทนครัวเรือนยากจน  อำเภอกรงปินัง  จังหวัดยะลา  จำนวน  50  คน

สถานที่ ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอกรงปินัง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2567