เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

ความหลากหลายทางภาษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากการอนุรักษ์ภาษาชาติพันธุ์และวัฒนธรรมท้องถิ่นมีความสำคัญเท่าๆกันกับการอนุรักษ์ระบบนิเวศเพื่อให้สิ่งมีชีวิตบนโลกโดยรวมอยู่ได้ องค์การยูเนสโก ได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยความหลากหลาย เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2501 ว่าให้ทุกประเทศมีการยอมรับและด าเนินการในสองสิ่ง คือ ขอให้มีการประกันการเคารพในเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยการมีส่วนร่วมของทุกคนในสังคมภายใต้กรอบแห่งประชาธิปไตย และการมี สวนร่วมในการสร้างบรรยากาศแห่งความสร้างสรรค์และทำให้วัฒนธรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาสังคมนั้นๆ จากข้อนี้ได้ขยายผลให้ทุกชาติทั่วโลกได้คำนึงถึงปัจจัยด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นหลักในการพัฒนาประเทศ (ธรรมจักร พรหมพ้วย, โลกที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม, 2550) ความแต่งต่างหลากหลายทางภาษา ชาติพันธุ์และวัฒนธรรมเป็นพลังของความงดงามหยั่งลึกเป็นรากเหง้าของแผ่นดิน และเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าของประเทศชาติ

กลุ่มเป้าหมาย

-  เชิงปริมาณ
                               เยาวชนในพื้นที่  ตำบลท่าสาป  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  และ  ผู้สนใจทั่วไป  จำนวน  60  คน
-  เชิงคุณภาพ
                               ผู้เข้าร่วมโครงการมีการพัฒนาทักษะการใช้ภาษามลายูกลางในการสื่อสาร  (ฟัง  พูด  อ่าน  เขียน)  อีกทั้งเป็น
ต้นแบบสำหรับการศึกษาให้กับผู้สนใจในการเรียนรู้ภาษามลายูมาตรฐาน

สถานที่ ณ โรงเรียนบ้านท่าสาป ตำบลท่าสาป อ าเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 21 พฤษภาคม 2558

รายละเอียด

ภาษา เมื่อแปลตามรูปศัพท์หมายถึง ค าพูดหรือถ้อยค า ถือเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้ในการสื่อความหมายให้สามารถติดต่อสื่อสาร เข้าใจกันได้ โดยมีระบบของเสียงและเรื่องของค าเป็นเครื่องกำหนดโดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ให้ความหมายของค าว่าภาษา คือเสียงหรือกิริยาอาการที่ทำความเข้าใจกันได้ คำพูดถ้อยคำที่ใช้พูดจากัน ดังนั้นภาษาจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์มาก เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้และพัฒนาความคิดของมนุษย์และเป็นเครื่องมือถ่ายทอดวัฒนธรรมและการประกอบอาชีพ และที่สำคัญก็คือ ภาษาช่วยสร้างเสริมความสามัคคีของคนในชาติอีกด้วย เพราะภาษาเป็นถ้อยคำที่ใช้ในการสื่อสารสร้างความเข้าใจกันในสังคม

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการเยาวชนต้นแบบ  2  ภาษา  ตำบลท่าสาป  อ  าเภอเมือง  จังหวัดยะลา  ได้ตั้ง
กลุ่มเป้าหมายไว้จ  านวน  50  คน  มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  64  คน  เกินเป้าหมายที่ได้วางไว้

เชิงคุณภาพ
กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการเยาวชนต้นแบบ  2  ภาษา  ตำบลท่าสาป  อ  าเภอเมือง  จังหวัดยะลา  สามาถนำ
องค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนาทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร

สถานที่ ณ โรงเรียนบ้านท่าสาป ต าบลท่าสาป อ าเภอเมือง จังหวัด ยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 19 – 23 มีนาคม 2560

รายละเอียด

ภาษามลายู เป็นหนึ่งภาษาที่ถูกก าหนดในภาษาอาเซียน หลายประเทศในอาเซียนใช้ “ภาษามลายู” เป็นภาษาทางการและภาษาท างาน ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไนดารุสซาลาม สิงคโปร์ (จัดเป็น ภาษาทางการ 1 ใน 4 ภาษา) และติมอร์ตะวันออก รวมถึงห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ประเทศไทย คือ ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สงขลา และสตูลนั้น มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และที่สำคัญคือใช้ “ภาษามลายู” ในการสื่อสาร ทั้งนี้ระหว่างทักษะการสื่อสารภาษามลายูของบุคลากรของรัฐที่มีขีดจำกัดและการใช้ภาษามลายู ของประชาชนหรือผู้ใช้บริการหน่วยงานรัฐในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ใช้ภาษมลายูถิ่น (ไม่ใช่ภาษามลายูที่ได้มาตรฐาน) ในการสื่อสารในชีวิตประจ าวันเป็นส่วนใหญ่นั้น ส่งผลให้เกิดปัญหาความเข้าใจผิดต่อการสื่อสารในการติดต่อกับหน่วยงานราชการต่างๆ

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการอบรมภาษามลายูเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรของรัฐ  ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมาย
ไว้จ  านวน  30  คน  มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  54  คน  ซึ่งเกินเป้าหมายที่ได้วางไว้

เชิงคุณภาพ
กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการอบรมภาษามลายูเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรของรัฐ  สามารถนำองค์ความรู้
ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูในการท  างาน

สถานที่ ณ องค์การบริหารส่วนต าบลวัด อ าเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ วันที่ 22 – 23 มีนาคม 2561

รายละเอียด

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตระหนักถึงความสําคัญของการพัฒนา ทักษะภาษามลายูแก่เยาวชนในจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูกลางและสามารถ นํามาปรับใช้ในชีวิตประจําวัน สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ที่เป็นมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาท้องถิ่นซึ่งมียุทธศาสตร์ในการบริการวิชาการตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา พ.ศ. 2547 มาตรา 8 การบริการวิชาการคือ การฝึกอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางภาษาแก่เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงทําให้หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายูคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ตระหนักและเล็งเห็นความสําคัญของการดําเนินโครงการบริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย จึงได้ดําเนินการจัดโครงการบริการวิชาการ “พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูกลางสําหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดยะลา” เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การบริการวิชาการ ของมหาวิทยาลัยราบภัฏยะลา และเผยแพร่องค์ความรู้ทางภาษาให้แก่เยาวชนในจังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
จํานวนผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ  พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูกลางสําหรับเยาวชน
ในพื้นที่จังหวัดยะลา  ได้ตั้งกลุ่มเป้าหมายไว้จํานวน  20  คน  มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น  22  คน
ซึ่งเกินเป้าหมายที่ได้วางไว้

เชิงคุณภาพ
กลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ  พัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูกลางสําหรับเยาวชน
ในพื้นที่จังหวัดยะลา  สามารถนําองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมไปพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูในการทํางานและชีวิตประจําวัน  ส่วนกลุ่มนักศึกษาที่มีหน้าที่เป็นวิทยากรกลุ่มสามารถแสดงศักยภาพของตนเองในการดําเนินกิจกรรมและเป็นที่ปรึกษากลุ่มได้เป็นอย่างดีสามารถเพิ่มขีดความสามารถ
ของการเรียนภาษามลายูนอกห้องเรียนได้อย่างดีเยี่ยม

สถานที่ ณ ศูนย์ตาดีกาบ้านลือเน็ง ตําบลปะแต อําเภอยะหา จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 11 – 12 มีนาคม 2563

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ “พัฒนาทักษะการพูดภาษามลายูมาตรฐานต่อสาธารณชน แก่เยาวชน ในจังหวัดปัตตานี” ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยไม่ใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และการพูดภาษามลายูมาตรฐานของเยาวชน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มีลักษณะเป็นกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ เยาวชนในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี จำนวน 80 คน ดำเนินการระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤศจิกายน 2563 ณ บินตังรีสอร์ท อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้อำนวยการโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เกิดความร่วมมือทางวิชาการจำนวน 1 เครือข่าย และเกิดองค์ความรู้ ในการส่งเสริมทักษะการพูดภาษามลายูมาตรฐานให้แก่เยาวชนเพื่อใช้ในการสื่อสารในชีวิตประจำวัน และการแข่งขันทักษะการพูดภาษามลายูเชิงวิชาการต่อสาธารณชน นอกจากนี้ ได้มีการประเมิน ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการได้ร้อยละ 85 และมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงสถานที่จัดกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนในพื้นที่
จังหวัดปัตตานี  จำนวน  80  คน

สถานที่ ณ บินตังรีสอร์ท อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 27 – 28 พฤศจิกายน 2563

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ “พัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษา มลายูให้กับครูสอนภาษามลายูในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส” ได้รับการอนุมัติให้ด าเนินโครงการ โดยใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ และทักษะการอ่านภาษามลายูมาตรฐานให้กับครูสอนภาษามลายูในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส และเพื่อ การจัดการวางแผนในการด าเนินการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถน าความรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการท างาน และใช้ใน ชีวิตประจ าวัน มีลักษณะเป็นกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูสอนภาษามลายู ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส จ านวน 50 คน ด าเนินการระหว่างวันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์2565 ณ ส านักงานการศึกษาเอกชน อ าเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากผู้อ านวยการส านักงานการศึกษาเอกชนอ าเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เกิดความร่วมมือ ทางวิชาการ จ านวน 1 เครือข่าย และเกิดองค์ความรู้ในการส่งเสริมทักษะการอ่านภาษามลายู มาตรฐานให้กับครูสอนภาษามลายู นอกจากนี้ ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ ได้ร้อยละ 85.79 และมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง

กลุ่มเป้าหมาย

ครูสอนภาษามลายู  
ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส  จ  านวน  50  คน

สถานที่ ณ ส านักงานการศึกษาเอกชน อ าเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์2565

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง การจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนทักษะภาษามลายูด้วยเทคนิคโฟนิคสำหรับนักเรียนระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย ปีที่ 3 ก่อนฝึกสอนโรงเรียนตาดีกา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดวิธีการจัดการเรียนรู้ ติดตามและประเมินผลกิจกรรมวิธีการจัดการเรียนรู้โดยใช้นวัตกรรมการสอนทักษะภาษามลายูด้วยเทคนิคโฟนิคให้แก่นักเรียนระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย ปีที่ 3 ก่อนฝึกสอนในโรงเรียนตาดีกาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีลักษณะเป็นกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับอิสลามศึกษาตอนปลาย  ปีที่  3  ก่อนฝึกสอนในโรงเรียนตาดีกา  ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  จำนวน  80  คน

สถานที่ โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 25 - 26 กุมภาพันธ์ 2566