เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) ณ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการในพื้นที่ตำบลวังพญา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนตำบลวังพญา เพื่อสร้างตราสัญลักษณ์และพัฒนาสินค้ากลุ่มใหม่ของตำบลวังพญาด้วยยุทธศาตร์ BCG และเพื่อส่งเสริมการตลาดและช่องทางการขายสินค้ากลุ่มใหม่ BCG ตำบลวังพญาด้วยองค์ความรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรม มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรสันติภาพวังพญา จำนวน 10 คน มีการดำเนินการกิจกรรมดังนี้ 1) สำรวจอัตลักษณ์ของชุมชน และผลิตภัณฑ์ในชุมชนเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนา 2) สนทนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการ นักออกแบบ บัณฑิต และประชาชนในพื้นที่เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาสินค้ากลุ่มใหม่ BCG วังพญา 3) พัฒนาตราสัญลักษณ์ ต้นแบบสินค้ากลุ่มใหม่ BCG วังพญา 4) สนทนากลุ่มวิสาหกิจชุมชน นักวิชาการ นักออกแบบ บัณฑิต และประชาชนในพื้นที่เพื่อปรับตราสัญลักษณ์ ต้นแบบสินค้ากลุ่มใหม่ BCG วังพญาก่อนการผลิต 5) ผลิตสินค้ากลุ่มใหม่ BCG วังพญาตามผลสรุปจากกิจกรรมสนทนากลุ่ม และ6) เชื่อมโยงสินค้ากลุ่มใหม่ BCG วังพญา ไปยังช่องทางการตลาดที่ตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจำนวน 1เครือข่าย และเกิดองค์ความรู้ในการพัฒนาตราสัญลักษณ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามแนวคิด BCG Model และการกำหนดราคาขายจากต้นทุนการผลิตผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย

1.  ผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร  ร้านคาเฟ่
2.  ผู้ที่ชอบการตกแต่งบ้าน  ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรม  รีสอร์ท

สถานที่ ตำบลวังพญา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี 2565

รายละเอียด

โครงการพัฒนาผู้ประกอบการหญิง เพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้าด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์ SUREEYA จัดโดย SEA (ประเทศไทย) ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (CEA) ซึ่งกิจกรรมโครงการต้องผ่านการอบรมทั้งในด้านการทำธุรกิจออนไลน์ การตลาดและแบรนดิ้ง การออกแบบและต่อยอดผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่ม จนสุดท้ายได้ผลลัพธ์เป็นผลิตภัณฑ์คอลเลกชันพิเศษที่วางขายแล้วบนช้อปปี้

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการหญิงจากทั่วประเทศ

สถานที่ กรุงเทพมหานคร

วันที่ดำเนินการ ธ.ค.65-ก.พ. 66

รายละเอียด

โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา การพัฒนาระบบและกลไกจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ด้วยกระบวนการชุมชนนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสังคมจังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนทั่วไป

สถานที่ ยะลา

วันที่ดำเนินการ มิ.ย. 2566

รายละเอียด

กลุ่มสตรีพัฒนาบ้านแยะ เป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เริ่มผลิตผลิตภัณฑ์กระเป๋าสตรีจากการนำผ้าปาเต๊ะซึ่งเป็นหนึ่งในผ้าพื้นถิ่นของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ มาตัดเย็บเป็นกระเป๋ารูปทรงต่าง ๆ โดยดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มพัฒนาสตรีบ้านแยะได้มีโอกาสรับเลือกเป็น 1 ใน 10 ผู้ประกอบการหญิงในการเข้าร่วมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการหญิง เพิ่มมูลค่าและคุณค่าของสินค้าด้วยความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี (Woman Made) จัดโดย Sea (ประเทศไทย) ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ Creative Economy Agency (CEA) ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่นพิเศษเป็น ชุดกระเป๋าผ้าบาติกลายดอกดาหลา ทั้งนี้กระบวนการในการผลิตผ้าบาติกนั้น เป็นความร่วมมือกันกับเครือข่ายผู้ประกอบการผ้า คือ มุสบาปาเต๊ะ ผู้ประกอบการผลิตผ้าบาติกพื้นที่อำเภอสุไหงโกลก จังหวัดนราธิวาส ในการร่วมกันรังสรรค์ผ้าบาติกลวดลายใหม่ คือ ลายดอกดาหลา จนปัจจุบันลวดลายดังกล่าวได้รับการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ประเภทศิลปกรรม ลักษณะ จิตรกรรมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ด้วยเหตุนี้ทางคณะอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ประกอบการกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านแยะ รวมทั้งเครือข่ายนักออกแบบ ได้เล็งเห็นว่าทิศทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มควรสร้างความแตกต่างและโดดเด่น ด้วยการนำเอาเอกลักษณ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่สามารถสะท้อนวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการดำรงอยู่ของสังคมมาพัฒนาเป็นลวดลายผ้าใหม่ด้วยความร่วมมือของผู้ประกอบการเครือข่าย คือ มุสบาปาเต๊ะจากจังหวัดนราธิวาส และบาราโหมบาซาจากจังหวัดปัตตานีในการผลิต ผืนผ้าปาเต๊ะด้วยลวดลายที่เป็นลิขสิทธิ์ของกลุ่มสตรีพัฒนาบ้านแยะ แล้วทางกลุ่มจึงนำผืนผ้ามาผลิตเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ อาทิ กระเป๋า เสื้อผ้า เครื่องประดับ ของใช้ในครัวเรือน ที่ตรงกับความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยมีความร่วมสมัยและยังคงไว้ซึ่งความเป็นอัตลักษณ์ของพื้นที่เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาสามารถเป็นตัวแทนในการสื่อสารไปยังผู้คนให้เห็นถึงวัฒนธรรม และความสวยงามของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ อันจะเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชน ส่งผลให้เกิดรายได้กับผู้ประกอบการและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มสตรีพัฒนาบ้านแยะ

สถานที่ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ พ.ค.-ส.ค. 2566