เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

นโครงการ พัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (การเพิ่มมูลค่าการผลิต และแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่จังหวัดยะลา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 30 กันยายน พ.ศ 2563 มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมการน าความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ใน การพัฒนาและยกระดับการเลี้ยงปศุสัตว์ (โค แพะ ไก่เบตง) ที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐาน ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปศุสัตว์ (โค แพะ ไก่เบตง) ด้วยนวัตกรรมทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ ที่มีความหลากหลาย ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร กลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านธุรกิจอาหาร ฮาลาลเพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์  (โค  แพะเนื้อ  แพะนม  ไก่เบตง)  ในจังหวัด  ยะลา
ประกอบด้วยในพื้นที่  8  อำเภอ  จำนวนเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ  250  ราย

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 30 กันยายน พ.ศ 2563

รายละเอียด

สาขาสัตวศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ตระหนักถึงความเดือดร้อนของประชาชนในกลุ่มผู้เลี้ยงแพะ ซึ่งเป็นอาชีพที่เป็นสัตว์เศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงจัดโครงการบริการวิชาการการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน เพื่อเป็นอีกช่องทางในการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับกลุ่มผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดยะลา ตลอดจนพัฒนาทางด้านอาชีพ และผลิตอาหารหยาบคุณภาพดีให้เพียงพอสำหรับเลี้ยงแพะในอนาคต อันเป็นการลดการใช้อาหารข้นราคาแพง รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดยะลา มีรายได้เพิ่มขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดี กินดีอยู่ดี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้เลี้ยงแพะในจังหวัดยะลา

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ พฤษภาคม-สิงหาคม

รายละเอียด

การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ทวีความรุนแรงและขยายขอบเขตไปในหลายประเทศทั่วโลกอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกในภาพรวม โดยประเทศไทยเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน สังคม และผู้ประกอบการธุรกิจอย่างรุนแรง ในขณะเดียวกันกระทรวงการคลังได้แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง ซึ่งในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้โดยเฉพาะจังหวัดยะลา มียอดผู้ติดเชื้อสูงติดอันดับต้นของประเทศ (กระทรงสาธารณสุข, 2564) ปัจจุบันอาชีพการเกษตรด้านปศุสัตว์เป็นอาชีพที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีการบริโภคและจำหน่ายในปริมาณมาก โดยส่วนมากเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทาง ด้านปศุสัตว์จะนิยมเลี้ยงผสมผสานกับอาชีพหลัก เช่น การประกอบอาชีพสวนยางพารา สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และการทำนา แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายางพารา หรือไม้ผลมีราคาตกต่ำ อาชีพปศุสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร คือ การเลี้ยงแพะนม ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ผู้นำเสนอโครงการมองเห็นว่าหากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาและต่อยอดให้แก่เกษตรกร เช่น การคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักการปรับปรุงพันธุ์ การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำนม อาหาร รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมขั้นสูงในการเก็บรักษาและแปรรูปผลผลิต ตลอดจนส่งเสริมกระบวนการเลี้ยงแพะนมที่ปลอดภัย ได้มาตรฐานตามหลักสากล เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และส่งเสริมอาชีพที่มันคงให้แก่เกษตรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะนมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้

กลุ่มเป้าหมาย

ยะลา
อำเภอเมืองยะลา   ระบุชื่อชุมชน..........3............ชุมชน
อำเภอธารโต ระบุชื่อชุมชน..........2.............ชุมชน
อำเภอบันนังสตา                      ระบุชื่อชุมชน..........2.............ชุมชน

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ มกราคม - กันยายน

รายละเอียด

ปัจจุบันอาชีพการเกษตรด้านปศุสัตว์เป็นอาชีพที่สำคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีการบริโภคและจำหน่ายในปริมาณมาก โดยส่วนมากเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทางด้านปศุสัตว์จะนิยมเลี้ยงผสมผสานกับอาชีพหลัก เช่น การประกอบอาชีพสวนยางพารา สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และการทำนา แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายางพารา หรือไม้ผลมีราคาตกต่ำ อาชีพปศุสัตว์ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร คือ การเลี้ยงแพะนม ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่ผู้นำเสนอโครงการมองเห็นว่าหากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาและต่อยอดให้แก่เกษตรกร เช่น การคัดเลือกสายพันธุ์ตามหลักการปรับปรุงพันธุ์ การใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำนม อาหาร รวมไปถึงการใช้นวัตกรรมขั้นสูงในการเก็บรักษาและแปรรูปผลผลิต เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และส่งเสริมอาชีพที่มันคงให้แก่เกษตรผู้ประกอบอาชีพการเลี้ยงแพะนมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จากการได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลจากลุ่มเกษตรกร พบว่า ของเสียที่ได้จากการเลี้ยงสัตว์ อาทิเช่น นมที่ผ่านกระบวนการพลาสเจอร์ไรส์ มูล ขน หนัง เป็นต้น มีปริมาณมาก ทางผู้นำเสนอโครงการจึงมีแนวทางที่จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ของเสียจากการเลี้ยงแพะ เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่เกษตรกร

กลุ่มเป้าหมาย

ยะลา
อำเภอเมืองยะลา   ระบุชื่อชุมชน..........3............ชุมชน
อำเภอธารโต ระบุชื่อชุมชน..........2.............ชุมชน
อำเภอบันนังสตา                      ระบุชื่อชุมชน..........2.............ชุมชน

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ มกราคม - กันยายน 2566