เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนภาตใต้ มีกรอบแนวคิดหลักในเรื่องของการสร้างและส่งเสริมให้เกิดความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ และกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค ด้วยการมุ่งเน้น ผลักดันให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลาง ขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชน อันเป็นการเพิ่มโอกาสในการ จ้างงาน และการสร้างอาชีพที่ยั่งยืนให้กับประชาชน โดยมีรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะของการบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพในด้านการบริหารคุณภาพ การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง และผู้นำชุมชน ด้วยการสร้างเครือข่าย และเกิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่จะช่วยพัฒนาระบบคุณภาพให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าวนั้น ได้แก่ คณะกรรมการอำนวยการโครงการฯ บริษัทที่เข้าร่วมโครงการฯ ผู้จัดการโครงการ และชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 2557-2558

รายละเอียด

โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์เพื่อการพัฒนาตลาดสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ กล้วยหินบันนังสตา (GI Geographical Indication) ตามแผนพัฒนาจังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ 2559 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิ์ภาพผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้า ให้เข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน รวมถึงเพิ่มช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ให้กับกล้วยหินบันนังสตา

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ผลิตและผู้ประกอบการค้ากล้วยหินบันนังสตา

สถานที่ โรงแรมปาร์ควิวยะลา

วันที่ดำเนินการ 24 ธันวาคม 2559

รายละเอียด

โครงการยกระดับ OTOP ใน 10 จังหวัดที่ยากจนที่สุดในประเทศพื้นที่จังหวัดนราธิวาส มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1.การพัฒนาภูมิปัญญาทางการเกษตรให้เกิดเป็นนวัตกรรม โดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสร้างความยั่งยืนในอาชีพเกษตรกรรม และ 2.พัฒนาผู้ประกอบการโอทอป ให้นำ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปยกระดับสินค้า สร้างมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน

กลุ่มเป้าหมาย

OTOP  จังหวัดนราธิวาส

สถานที่ นราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 2561

รายละเอียด

โครงการเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SME 4.0 ประจำปีงบประมาณ 2562 หลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือ สาขา การเพิ่มผลิตภาพแรงในกระบวนการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ โดยสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 23 ปัตตานี โดยได้เป็นทีมวิทยากรในการให้คำปรึกษาด้านการจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโอรังปันตัย

สถานที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโอรังปันตัย ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 18-19 กรกฏาคม 2562

รายละเอียด

เป็นทีมวิทยากรเพื่อ coaching ในโครงการการพัฒนาผลิตภาพการผลิตสำหรับ SMEs ในโครงการ "สินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต (PIL)" โดยธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ และศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ตามโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต (Productivity Improvement Loan – PIL) โดยธนาคาร ได้ว่าจ้าง 5 สถาบันการศึกษา เพื่อให้ความช่วยเหลือส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs ทั้งก่อนและหลังการได้รับอนุมัติสินเชื่อในโครงการ PIL ประกอบด้วย 1. มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 3. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 4. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ซึ่งได้ลงนามในวันนี้ ส่วนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้มีการลงนามไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยการลงนามดังกล่าว เพื่อจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญประเมินปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร และจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญให้อบรมปรึกษาแนะนำผลิตภาพการผลิต สำหรับลูกค้าโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต ( PIL) ของธนาคาร โดยได้รับงบสนับสนุนจากภาครัฐในการดำเนินการ จำนวน 92.50 ล้านบาท ทั้งนี้ รูปแบบดำเนินการ จะมีการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้ด้านการเพิ่มผลิตภาพการผลิตและวิเคราะห์ศักยภาพพื้นฐานของแต่ละกิจการ และให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้น เพื่อปรับปรุงผลิตภาพ ทำCoaching ณ สถานประกอบการ โดยจะมีการติดตามผลการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีกลุ่มเป้าหมายลูกค้าสินเชื่อโครงการ PIL ของธนาคาร จำนวน 3,500 ราย ที่ต้องเข้ารับการอบรมในปี 2558 ซึ่งการอบรมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ช่วยลูกค้าในด้านการพัฒนาช่วยลดต้นทุนและลดการสูญเสียการผลิต และก่อให้เกิดการลงทุนเพิ่มที่มีศักยภาพต่อการผลิตสร้างรายได้และการจ้างงานที่ก่อเกิดประสิทธิภาพต่อกิจการ โดย ณ 30 มิ.ย. 2558 เอสเอ็มอีแบงก์ มีลูกค้าขอกู้สินเชื่อ PIL 6,916 ราย เป็นจำนวนเงิน 18,940 ล้านบาท 2. งานตลาดคลองผดุงกรุงเกษม ข้างทำเนียบรัฐบาล เอสเอ็มอีแบงก์ ได้เข้าร่วมงานตั้งแต่เดือน พ.ค. 2558 จนถึงปัจจุบัน และจะร่วมงานต่อไปจนถึงสิ้นปี 2558 โดยได้เปิดบูธให้คำปรึกษาแนะนำทางด้านสินเชื่อ การจัดการด้านการเงิน และการทำแผนธุรกิจ รวมถึง ได้นำลูกค้า SMEs ไปออกร้านจำหน่ายสินค้าด้วย ขณะนี้งานผ่านไปแล้ว 2งาน คือ งานเทศกาลผักผลไม้ไทยคุณภาพ เมื่อเดือน พ.ค. และเทศกาลไม้ดอก ไม้ประดับ และปลาสวยงาม ในเดือน มิ.ย. ผู้สนใจขอกู้จำนวน 47 ราย วงเงินรวม 106 ล้านบาท และได้สอนผู้ประกอบการให้ทำแผนธุรกิจเพื่อใช้ในการขยายกิจการ สามารถนำไปใช้ประกอบการขอกู้ยืมเงินจากธนาคารต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ในระยะต่อไป เอสเอ็มอีแบงก์ จะเตรียมไปร่วมงานตลาดนัดชุมชน 4 มุมเมือง เพื่อสนับสนุนนโยบายภาครัฐ ที่ต้องการช่วยผู้ประกอบการรายย่อยต่อยอด ขยายช่องทางการตลาด ซึ่งมีสถานที่จำหน่ายสินค้า ประกอบด้วย 1. ตลาดคลองหลวง จ.ปทุมธานี 2. ตลาดปากเกร็ด จ.นนทบุรี 3. ตลาด อตก. สุวรรณภูมิ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร และ 4. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บางขุนนนท์ 3. งานมหกรรมแบงก์รัฐเพื่อประชาชน ของกระทรวงการคลัง ที่มีการจัดงานพร้อมกันทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 27-28 มิย. 2558 เอสเอ็มอีแบงก์ ร่วมกับ บสย. เป็นเจ้าภาพที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ร่วมออกบูธให้สินเชื่อในกรุงเทพมหานคร อุดรธานี ระยอง และหาดใหญ่ โดยได้นำสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Policy Loan) 4 % ออกให้กู้ครั้งแรกในงานนี้ มีผู้สนใจขอกู้ 734 ราย วงเงินรวม 3,023.15 ล้านบาท นอกจากนั้น ยังได้นำลูกค้าและผู้ประกอบการ OTOP กว่า 60 ราย มาออกบูธจำหน่ายสินค้า เพื่อสนับสนุนช่องการจำหน่าย ส่งเสริมการตลาด ตามนโยบายด้านการพัฒนาผู้ประกอบการของธนาคารด้วย (ที่มา: https://www.ryt9.com/s/prg/2196281)

กลุ่มเป้าหมาย

SMEs  ที่เป็นลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศ

สถานที่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา สตูล ตรัง

วันที่ดำเนินการ 2558

รายละเอียด

เป็นวิทยากรในเวทีถอดบทเรียนการขับเคลื่อนเครือข่ายบ้านมั่นคง อำเภอโกตาบารู http://gg.gg/oy37b

กลุ่มเป้าหมาย

เครือข่ายบ้านมั่นคง  อำเภอโกตาบารู

สถานที่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 09 ธันวาคม 2563

รายละเอียด

เป็นวิทยากรในเวทีถอดบทเรียนการขับเคลื่อนเครือข่ายบ้านมั่นคง อำเภอเมืองสะเตงนอก

กลุ่มเป้าหมาย

เคลื่อนเครือข่ายบ้านมั่นคง  อำเภอเมืองสะเตงนอก

สถานที่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 11 ธันวาคม 2563

รายละเอียด

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดยะลา

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ

รายละเอียด

โครงการ DEC: Digital Entrepreneurship Training Course เพื่อยกระดับทักษะบุคลากร สู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับ การอนุมัติให้ด าเนินโครงการ โดยใช้งบประมาณ จ านวน 187,550 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อ เสริมสร้างและยกระดับทักษะบุคลากรสู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีลักษณะเป็นการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ตามหลักสูตรระยะสั้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจสู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5 กลุ่ม จ านวน 75 คน ด าเนินการระหว่าง เดือนพฤศจิกายน 2564 - เดือนสิงหาคม 2565 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลบ้าน ก าปงบูดี ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ Buna Dara ต.ตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กลุ่มวิสาหกิจเกษตรอินทรีย์และสมุนไพรบ้านประชานิมิต (ชาดาวอินคา) บ้านประชานิมิต ต.กาหลง อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าคลุมผมสตรี บ้านลาเวง ต.เชิงคีรี อ.ศรีสาคร จ.นราธิวาส และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรคนรุ่นใหม่ ต.เบตง อ.เบตง จังหวัดยะลา โดยเกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการจ านวน 3 เครือข่าย และเกิดองค์ ความรู้เพื่อใช้ยกระดับทักษะบุคลากรสู่การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ส าหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สามารถพัฒนาสินค้าและบริการจากฐานศิลปวัฒนธรรม ประเพณีของชุมชนไปสู่การท าธุรกิจยุคใหม่ ส่งผลให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ และมีรายได้เพิ่มขึ้น สร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ น าไปสู่สังคมที่มี การพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการได้ร้อยละ 85 และมีข้อเสนอแนะให้มีการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการในสามจังหวัดชายแดนใต้

สถานที่ สามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2564 - 26 สิงหาคม 2565

รายละเอียด

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2565