เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

อบรมปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับโลกมุสลิมเพื่อพัฒนาครูอิสลามศึกษาและบุคคลทั่วไป”ภายใต้โครงการบริการวิชาการ ซึ่งดำเนินการในวันที่ 16 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีการบูรณาการโครงการบริการวิชาการแก่สังคม กิจกรรม“อบรมปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอนอิสลามศึกษาในศตวรรษที่ 21 กับโลกมุสลิมเพื่อพัฒนาครูอิสลามศึกษาและบุคคลทั่วไป”ภายใต้โครงการบริการวิชาการ ซึ่งดำเนินการในวันที่ 16 ตุลาคม 2562 ณ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคาร 24 โดยการบูรณาการกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ดังนี้ 4.1 ด้านการเรียนการสอน มีการบูรณาการกับรายวิชาการสอนอัลกุรอาน 4.2 ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม 4.2.1 ทักษะการเขียนอักษรศิลป์อาหรับ 4.2.2 การอ่านอัลกุรอานตามหลักการตัจญวีด

กลุ่มเป้าหมาย

ครูอิสลามศึกษาและบุคคลทั่วไป  ใน  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ ณ ห้องประชุมเซอรา ชั้น 2 อาคาร 24 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 16 ตุลาคม 2562

รายละเอียด

กิจกรรม“อบรมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูอิสลามศึกษาที่สอนไม่ตรงสาระ” ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุมเวิ่งช่าย ชั้น 3 อาคาร 20 เป็นการจัดอบรมปฏิบัติการการพัฒนาครูสอนไม่ตรงสาย 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็นโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ เป็นความต้องการของคนในพื้นที่ เนื่องจากความเป็นจริงแล้วยังมีครูที่สอนไม่ตรงสาระอีกหลายคน จากการเปิดรับสมัครภายในหนึ่งสัปดาห์มีผู้เข้าสมัครเป็นจำนวนมาก กิจกรรมดังกล่าวเป็นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถตอบโจทย์ของประเทศไทยในการก้าวเข้าสู่สังคมขนาดใหญ่ทั้งในระดับภูมิภาคและสังคมโลกเพื่อหารือและกำหนดแนวทางในการจัดทำฐานข้อมูลสภาวการณ์ด้านการศึกษา รวมทั้งพัฒนาศักยภาพครูที่อยู่ในพื้นที่ให้สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์เรียนรู้ด้วยตนเองมีลักษณะที่พึงประสงค์และมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 ตามเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนพัฒนาครูสอนไม่ตรงสาย 9 กลุ่มสาระให้มีความมั่นใจและสามารถยกระดับคุณภาพการศึกษาที่ยกฐานะครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงอย่างแท้จริงและจัดระบบการศึกษาและฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพครูอย่างต่อเนื่อง ผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมการอบรมอยู่ในระดับ ดีมาก

กลุ่มเป้าหมาย

ครูอิสลามศึกษาที่สอนไม่ตรงสาระ

สถานที่ ณ ห้องประชุมเวิ่งช่าย ชั้น 3 อาคาร 20 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 14-15 ธันวาคม 2562

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ เป็นความต้องการของคนในพื้นที่หลังจากที่ทางคณะครุศาสตร์ ได้ดำเนินกิจกรรมสานสัมพันธ์ชุมชนท้องถิ่น เมื่อวันพุธ ที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๖๑ ในพื้นที่ชุมชนบ้านบุดี ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๒๖ กรกฎาคม ๒๖๖๑ โดยมีการเสวนาเพื่อสำรวจความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้องค์ความรู้และบริบทของท้องถิ่นเป็นฐาน จากการสัมมนาพบว่ามัสยิดของชุมชนได้พัฒนาหลักสูตรครอบครัวสุขสันต์ ซึ่งเป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้แก่ชุมชนในการใช้ชีวิตในครอบครัว อันได้แก่ การเลือกคู่ครอง การแต่งงาน และการใช้ชีวิตของครอบครัว อันเป็นความรู้ที่จะประยุกต์ใช้ให้เกิดความผาสุกและความมั่นคงในชีวิตครอบครัวและนำมาความสงบสุขในสังคม ประเด็นปัญหาคือวิทยากรประจำชุมชนยังขาดความรู้ความเข้าใจการใช้เทคนิคในการถ่ายทอดองค์ความรู้จากหลักสูตรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร ชุมชนจึงต้องการให้ทางคณะครุศาสตร์จัดอบรมเสริมสร้างทักษะด้านเทคนิคให้แก่วิทยากรของชุมชน ด้วยเหตุดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการบริการวิชาการ “อบรมปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาแก่ครูผู้สอนอิสลามศึกษา” ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2562 ณ มัสยิดนูรุลฮีลาล(บ้านบุดีฮูลู) ตำบลบุดี อ.เมือง จ.ยะลา มีการประเมินผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการแก่สังคม กิจกรรม“อบรมปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาแก่ครูผู้สอนอิสลามศึกษา” ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2562 ณ มัสยิดนูรุลฮีลาล(บ้านบุดีฮูลู) ตำบลบุดี อ.เมือง จ.ยะลา โดยมีการประเมินผลดำเนินงานโครงการตามเป้าหมายและตัวชี้วัด 1) ผู้รับบริการวิชาการให้ความสำคัญในการพัฒนาองค์ความรู้อิสลามศึกษา จำนวนของผู้รับบริการวิชาการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผลจำนวนของผู้รับบริการวิชาการ 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) ผู้รับบริการวิชาการให้ยอมรับสถาบันและบุคลากรคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้รับบริการวิชาการมีความพึงพอใจในภาพรวมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผลคะแนนเฉลี่ย 4.62 คิดเป็นร้อยละ 92.4 3) ผู้รับบริการวิชาการมีความรู้ แนวคิด ทักษะการสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาได้เป็นอย่างดี 3.1) ผลการประเมินคุณภาพการให้บริการ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ผลคะแนนเฉลี่ย 4.71คิดเป็นร้อยละ 94.2 3.2) การสังเกตจากกิจกรรมฝึกปฏิบัติ ผลจากการสังเกตกิจกรรมกลุ่ม ฝึกปฏิบัติและการนำเสนอ ผู้เข้ารับบริการวิชาการสามารถวิเคราะห์แนวคิดนวัตกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษาได้ และสามารถนำองค์ความรู้มาพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อิสลามศึกษา เพื่อใช้ในการให้ความรู้แก่ผู้อื่นได้ มีการบูรณาการกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ดังนี้ 4.1 ด้านการเรียนการสอน มีการบูรณาการกับรายวิชาดังนี้ 4.1.1 รายวิชา 1102327 สื่อนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม 4.1.2 รายวิชา 1102345 การออกแบบการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา 4.1.3 รายวิชา 1102334 ทักษะและเทคนิคการจัดการเรียนรู้อิสลามศึกษา 4.1.4 รายวิชา 1102324 เตาฮีด 2 4.2 ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมให้แก่ชุมชน ท้องถิ่น และสังคม 4.2.1 การเลือกคู่ครอง 4.2.2 การหมั้น 4.2.3 การแต่งงานในแบบมลายูมุสลิม 4.2.4 วิถีชีวิตครอบครัว มีการติดตามและประเมินผลการนำไปใช้ประโยชน์ หลังจากการดำเนินกิจกรรมบริการวิชาการได้เสร็จสิ้นแล้วนั้น ทางหลักสูตรได้ดำเนินการตดิตาม ดังนี้ 5.1 การดำเนินการติดตามกับชุมชนในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง 5.1.1 ติดตามข้อมูลจากครูในโรงเรียนบ้านบุดี นายฮาดี สะมะเอะ ครูโรงเรียนบ้านบุดี ซึ่งเป็นคณะกรรมการมัสยิดในพื้นที่ตำบลบุดี 5.2 การประเมินผลการนำไปใช้ 5.2.1 ในส่วนของการประเมินผลการนำไปใช้นวัตกรรมนั้น เป็นช่วงของการประเมิน ยังไม่มีผลของการประเมิน

กลุ่มเป้าหมาย

1.ครูอิสลามศึกษา
2.ผู้นำชุมชนบ้านบุดี  ต.บุดี  อ.เมือง  จ.ยะลา
3.บุคคลทั่วไป

สถานที่ ณ มัสยิดนูรุลฮีลาล(บ้านบุดีฮูลู) ตำบลบุดี อ.เมือง จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 3-4 สิงหาคม 2562

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการแก่สังคมตรงกับความต้องการของผู้รับบริการ เป็นความต้องการของคนในพื้นที่หลังจากที่นักศึกษาได้สำรวจโดยการลงพื้นที่ พบว่าชุมชนต้องการให้ทางหลักสูตรจัดกิจกรรมในลักษณะให้ความรู้และสร้างความตระหนักให้แก่เยาวชน จึงเกิดกิจกรรมอบรมปฏิบัติการอบรมคุณธรรมจริยธรรม(Terbaik Anak Kampong) แก่นักเรียนตาดีกาบ้าน สปันญัง ต.ตอหลัง อ.ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2562 ผลการประเมินความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึง พอใจต่อโครงการอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.46 (คิดเป็นร้อยละ 90.12) - ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ ค่าเฉลี่ย 4.48 - ด้านมูร็อบบีย์/พี่เลี้ยง ค่าเฉลี่ย 4.48 - ด้านวิทยากร ค่าเฉลี่ย 4.34 - ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ค่าเฉลี่ย 4.43 - ด้านความรู้ ความเข้าใจ ค่าเฉลี่ย 4.46 มีการบูรณาการกับการเรียนการสอน ในรายวิชาจริยธรรมและบุคลิกภาพมุสลิม รหัส 1102212 อาจารย์ผู้สอนได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมในตัวผู้เรียนตามบทบัญญัติ อิสลาม ผ่านกระบวนการกลุ่มและการนำเสนอผลงาน มีการติดตามและประเมินผลการนำไปใช้ประโยชน์ มีการติดตามผลในชั้นเรียนของนักศึกษาในรายวิชา โดยให้นักศึกษารายงานตนเองและนำเสนอสรุปการจัดกิจกรรมหน้าชั้น

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนตาดีกาบ้าน  สปันญัง  ต.ตอหลัง  อ.ยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี

สถานที่ ตาดีกาบ้าน สปันญัง ต.ตอหลัง อ.ยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 8-10 มีนาคม 2562

รายละเอียด

การดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคม ที่สะท้อนถึงการให้บริการวิชาการตามพันธกิจอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาหรือแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอน การวิจัย หรือการทานุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้สอนอิสลามศึกษาประจำศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิดตำบล    อ.บาเจาะ  จ.นราธิวาส

สถานที่ อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 11-12 สิงหาคม 2561

รายละเอียด

กระบวนการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน มีความสำคัญและจำเป็นต่อการคงอยู่ของสังคมเป็นอย่างมาก ซึ่งมีหลายองค์ประกอบ ขั้นตอน ที่มีผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ในด้านความหมายของการพัฒนา การพัฒนา (Development) คือ การเปลี่ยนแปลงที่เจริญขึ้น มีระบบ กลไกที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มีความเหมาะสมกับสภาพที่เป็นทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นสุข กินดีอยู่ดี อนุรักษ์รักษาประเพณีวัฒนธรรม และมีจิตใจอย่างสงบสันติ (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2547: 779) เมื่อคนมาอยู่ร่วมกัน จึงก่อเกิดเป็นสังคม หรือ ชุมชม ขึ้น สังคม จึงประกอบไปด้วย 1. การมีปฏิสัมพันธ์ (social interaction) 2. การพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependency) 3. การแลกเปลี่ยน (Interexchange) 4. วัตถุประสงค์ร่วมกัน (Objectives) (August Comte: 1798 - 1875) จนก่อเกิดเป็น กระสวนรวมแห่งพฤติกรรม (Pattern of Behavior) ร่วมกันในสังคม ผนึกรวมด้วยสิ่งที่เชื่อมโยงส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน คือ สำนึกร่วม (Collective consciousness) (Emile Durkheim: 1858 – 1917) ที่เน้นสำนึกร่วมกับ Social fact, structures and forces โดยร่วมแรงร่วมใจในการกระทำในสิ่งต่างๆ ร่วมกัน Social action (Max Weber: 1864 : 1920) ให้บรรลุสู่ผลสำเร็จในสิ่งที่ตั้งไว้ การพัฒนาสังคม เป็นการดำเนินงานที่ต้องใช้เวลา ไม่สามารถพัฒนาได้ภายในระยะเวลาอันสั้น และก็มากไปด้วยอุปสรรคที่ขว้างกั้นต่อการพัฒนา เช่น ชนชั้นของผู้คนซึ่งส่งผลในเรื่อง อำนาจ บารมี โครงสร้างของสังคม ที่เกี่ยวเนื่องกับ สิทธิในการใช้อำนาจ หรือแม้แต่ผลประโยชน์ที่สังคมต้องเข้ามามีส่วนในการจัดการ เป็นต้น ผลลัพธ์ก่อเกิดขึ้นในหลายด้าน ทั้งสังคมที่มีความสุขเจริญ ก้าวหน้า และในทางตรงกันข้าม สังคมได้เกิดความขัดแย้ง (Conflict) แก่งแย่ง แข่งขัน เกิดชนชั้นนายทุน เน้นวัตถุนิยม (Dialectical materialism) ระบบเศรษฐกิจที่เอารัดเอาเปรียบประชาชน (Karl Marx: 1818 – 1883) แนวทางหนึ่งที่ต้องใช้เวลาในการสร้างเสริมความแข็งแรงให้กับสังคม นั้นก็คือ การสร้างกระบวนการขัดเกลาทางสังคม (Socialization) ให้มีความต่อเนื่อง ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกันในการอบรมขัดเกลาให้ประชาชนตระหนักให้มากที่สุดในเรื่องนี้ จึงก่อเกิดความต้องการสังคมที่ดี มีเหตุมีผล มีความสุข ในอุดมคติ (Ideal State) ของผู้คนขึ้น ในสภาพการณ์สังคมปัจจุบันผู้คนให้ความสนใจคำว่า “ยั่งยืน” กันอย่างแพร่หลาย และเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเป็นอย่างมาก คำว่า “ยั่งยืน” (Sustainable) หมายถึง การยืนยงอยู่คงนาน (พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2547: 897) เมื่อ นำคำว่า “การพัฒนาสังคม “ ที่ได้กล่าวไปแล้ว มารวมกับคำว่า “ยั่งยืน” จึงเป็นคำว่า “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” (Sustainable development is development that meets the needs of the present without compromising the ability of future generations to meet their own needs. UNCED’s Definition) ที่มุ้งเน้นในมิติทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก และเมื่อเพิ่มคำว่า “ท้องถิ่น” จึงทำให้เกิดคำว่า “การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน” เพื่อให้มีบริบทในการพัฒนาที่ชัดขึ้นในแต่ละพื้นที่ การพัฒนาท้องถิ่นด้านสังคมนั้นนอกจากจะหมายถึงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและประวัติศาสตร์แล้ว ยังต้องไม่ลืมการส่งเสริมความรักสามัคคี มีระเบียบวินัย เข้าใจสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่นภายใต้ พื้นฐานของสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คณะทำงานเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงได้กำหนดลงพื้นที่ชุมชนบ้านบุดี ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา ซึ่งเป็นชุมชนที่มีองค์ความรู้และบริบทของชุมชนที่ควรแก่การศึกษาและอนุรักษ์สืบไป คณะทำงานจึงได้จัดทำและโครงการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้องค์ความรู้และบริบทของท้องถิ่นเป็นฐาน เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาท้องถิ่น โดยใช้องค์ความรู้และบริบทของท้องถิ่นเป็นฐานให้แก่ชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
1.อาจารย์  และนักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.  จำนวน  15  คน
2.ผู้นำชุมชน/ผู้นำท้องถิ่น  จำนวน  10  คน
3.ชุมชนบ้านบุดี  ต.บุดี  อ.เมือง  จ.ยะลา  จำนวน  75  คน
เชิงคุณภาพ
1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรม  ทัศนคติที่ดี  และเกิดความผูกพันที่ดีต่อกันภายในชุมชน

สถานที่ ณ โรงเรียนบ้านบุดี ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 26 กรกฎาคม 2561

รายละเอียด

ลการด าเนินการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายการสอน อิสลามศึกษา เทศบาลต าบลท่าสาป เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิชาการหนึ่งคณะหนึ่งพื้นที่ ประจ าปี งบประมาณ 2560 ของคณะครุศาสตร์ เป็นการด าเนินการแบบมีส่วนร่วมระหว่างสาขาการสอน อิสลามศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กับกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายในพื้นที่ต าบล ท่าสาปและต าบลยุโป อ าเภอเมือง จังหวัดยะลา การด าเนินการโครงการในครั้งนี้สามารถด าเนินการจนบรรลุวัตถุประสงค์ เพราะความ ร่วมมือที่เกิดจากการท างานร่วมกันของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผู้บริหารโรงเรียนและศูนย์ การศึกษาอิสลามประจ ามัสยิด (ตาดีกา) ในเขตต าบลท่าสาปและต าบลยุโป คณะครู นักเรียน และ นักศึกษาช่วยงาน โดยเฉพาะผู้น าท้องถิ่นและผู้บริหารมัสยิดนูรูลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูกที่ได้ให้การ สนับสนุนเอื้อเฟื้อสถานที่การจัดอบรมและส่งเสริมการท ากิจกรรมด้วยดีในทุกๆ กิจกรรม ที่ส่งผลให้ การด าเนินการโครงการบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ ผลจากการดำเนินโครงการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายการสอนอิสลามศึกษา หลักสูตรการสอนอิสลามศึกษาได้สรุปผลการนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ 1. สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา 1.1 หลักสูตรการสอนอิสลามศึกษาได้คู่มือการอบรมค่ายคุณธรรมจริยธรรมที่สามารถ ส่งเสริมให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักการอิสลาม ปฏิบัติตนตามแนวทางของท่านศาสดามูฮัมหมัด ศ็อลฯ สอดคล้องกับหลักสูตรและรายวิชาที่จัดการเรียนการสอนในหลักสูตร 1.2 หลักสูตรการสอนอิสลามศึกษาได้รูปแบบการดำเนินการค่ายอบรมคุณธรรม จริยธรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สามารถพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และทักษะทางสังคมให้กับ ผู้เรียนได้ 2. โรงเรียนในเครือข่ายการสอนอิสลามศึกษา 2.1 โรงเรียนในเครือข่ายการสอนอิสลามศึกษาของรัฐและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) สามารถนำคู่มือการอบรมประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาอิสลามศึกษา และบูรณาการการเรียนรู้ในกลุ่มสาระสังคม ศาสนา และวัฒนธรรม 2.2 โรงเรียนในเครือข่ายการสอนอิสลามศึกษาของรัฐและศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) สามารถกำหนดกิจกรรมการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเป็นแผนการดำเนินการ ประจำปีของแต่ละสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตาม หลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ  
-  นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเทศบาลต  าบลท่าสาป  เทศบาลต  าบลยุโป  และโรงเรียนใน  พื้นที่ใกล้เคียง  จ  านวน  70  คน  3.2    
เชิงคุณภาพ  
 -  นักเรียนในกลุ่มโรงเรียนเทศบาลต  าบลท่าสาป  เทศบาลต  าบลยุโป  และโรงเรียนใน  พื้นที่ใกล้เคียงมีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักค  าสอนของศาสนาอิสลาม

สถานที่ ณ ห้องเวิ่งช่าย ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 20 – 21. 27-28 มกราคม และ 10-11 กุมพาพันธ์ 2561

รายละเอียด

การดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคมกิจกรรมบริการวิชากิจกรรมปันยิ้ม สร้างสุข ด้วยหลักศรัทธา โดยบูรณาการกับกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา เตาฮีด1 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงเรียนบ้านบุดี ต.บุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เพื่อพัฒนาความรู้อิสลามศึกษาให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3,4 และ 5 โดยบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ตามแผนการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน ดำเนินการตามแผน ติดตามและประเมินผล บรรลุตามเป้าหมายของแต่กิจกรรม และสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมทุกครั้งหลังการดำเนินงานเสร็จสิ้นทุกประการ

กลุ่มเป้าหมาย

1.นักเรียนโรงเรียนบ้านบุดี  ต.บุดี  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  จำนวน  50  คน
2.นักศึกษาสาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา  คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา  จำนวน  34  คน

สถานที่ ณ โรงเรียนบ้านบุดี ต.บุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2561

รายละเอียด

ดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่สังคมกิจกรรมบริการวิชาโครงการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายการสอนอิสลามศึกษา เทศบาลตำบลท่าสาป ระหว่างวันที่ 15 – 17 เมษายน 2559 ณ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)นูรูลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด ตามแผนการปฏิบัติงานเป็นขั้นตอนอย่างชัดเจน ดำเนินการตามแผน ติดตามและประเมินผล บรรลุตามเป้าหมายของแต่กิจกรรม และสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมทุกครั้งหลังการดำเนินงานเสร็จสิ้นทุกประการ สรุปผลการดำเนินโครงการค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนเครือข่ายการสอน อิสลามศึกษา เทศบาลตำบลท่าสาป ณ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นูรูลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูกตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา พบว่ามีนักเรียนเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 81 คน เกิน เป้าหมายที่วางไว้ที่ 70 คน ส่วนด้านความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการอบรม พบว่าผู้เข้าร่วมการอบรมมี ความพึงพอใจต่อโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนตาดีกาจำนวน  81  คน

สถานที่ ณ ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด(ตาดีกา)นูรูลฮูดา บ้านบ่อเจ็ดลูก ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 15 – 17 เมษายน 2559