เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

ทรรศการ มรย.วิชากร 66 - นิทรรศการหอประวัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา - นิทรรศการในหลวงรัชกาลที่ 9 และโครงการตามพระราโชบายในหลวง ร.10 - งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาคประจำปี 2566 - การแข่งขันด้านวิชาการ - กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรม - เวทีเสวนาประเด็นที่น่าสนใจ - กิจกรรม YRU GOT TALENT - กิจกรรมประกวดโฟล์คซอง (Folk song) - อาหารจานเด็ด ร้านค้า และสินค้า OTOP จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 - 20 สิงหาคม 2566ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 17 - 20 สิงหาคม 2566

รายละเอียด

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จัดกิจกรรมการประกวด The Best Innovation Award “ประกวดนวัตกรรมจากการเรียนการสอน”งานมรย.วิชาการ 66

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

สถานที่ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 17 สิงหาคม 2566

รายละเอียด

การรับสมัครนักศึกษาใหม่ ประเภทคัดเลือกทั่วไป ประจำปีการศึกษา 2566 (เพิ่มเติม) ณ ใต้หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาใหม่

สถานที่ ณ ใต้หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 9 พฤษภาคม 2566

รายละเอียด

วจก.มรย.ร่วมสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ตลาดเก่า และออกแบบกิจกรรมค้นคนเก๋า วันที่ 24 ตุลาคม 2566 ผศ.ดร.ดุษฏี นาคเรือง และอาจารย์จารุชา สินทวี คณะวิทยาการจัดการ ได้จัดกิจกรรมร่วมสนทนากลุ่มเกี่ยวกับการออกแบบพื้นที่การเรียนรู้ตลาดเก่า และออกแบบกิจกรรมค้นคนเก๋า ร่วมกับประธานชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครยะลา ตัวแทนผู้ประกอบการ (ร้านอัสมาบาติก) ครูโรงเรียนเทศบาล 5 คุณดุลฟีรตรี เจ๊ะมะ เจ้าของกิจการ Adel kraft และทีมงาน Soul south ณ ห้องประชุมปิน หลาง ชิง ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชน  ผู้ประกอบการ

สถานที่ ห้องประชุมปิน หลาง ชิง ชั้น 5 คณะวิทยาการจัดการ

วันที่ดำเนินการ 24 ตุลาคม 2566

รายละเอียด

วันนี้ (25 พ.ย. 66) เวลา 09.00 น. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา จัดกิจกรรม “ค้นคนเก๋า” เพื่อขับเคลื่อนโครงการวิจัยการยกระดับและขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ (Learning City) โครงการพัฒนาเมืองแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยมี อาจารย์ ดร.กัลยรัตน์ พินิจจันทร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วยนักวิชาการสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาชายแดนภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประธานชุมชนตลาดเก่า ครูโรงเรียนเทศบาล 5 คณะกรรมการดำเนินงาน คณาจารย์ และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ณ สถานีรถไฟยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี นาคเรือง หัวหน้าโครงการ กล่าวว่า การวิจัยครั้งนี้ ได้ศึกษาการบริหารจัดการพื้นที่การเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของยะลาเมืองเก่าแห่งการเรียนรู้ โดยศึกษาจากพื้นที่การเรียนรู้ตลาดเก่า ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของอาหาร อาภรณ์ และอาคาร และได้รับความร่วมมือจากชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่ สนับสนุนการจัดเป็นเส้นทางการเรียนรู้ โดยเริ่มจาก สถานีรถไฟยะลา ตรอกซุบ ตลาดมะพร้าว ขนมบ้านครูอำพัน อัสมาบาติก โรงเรียนเทศบาล และสะพานดำ โดยมีกิจกรรมค้นคนเก๋าเป็นการค้นหาเยาวชนที่สามารถเป็นนักจัดการการเรียนรู้ของพื้นที่ ตลอดจนสามารถถ่ายทอดภาพลักษณ์ อาคาร อาหาร อาภรณ์ ด้วยการเข้าใจเมืองแห่งการเรียนรู้ร่วมกันย่อมเป็นกลไกการขับเคลื่อนเมืองยะลาเมืองแห่งการเรียนรู้ต่อไปด้วย ทั้งนี้เพื่อยกระดับเศรษฐกิจด้วยสถาปัตยวัฒนธรรมผ่านพื้นที่การเรียนรู้เมืองเก่ายะลา ภายใต้ ทุนอุดหนุนการวิจัยจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ประจำปีงบประมาณ 2566 โครงการวิจัยเรื่องยะลาเมืองเก่า พื้นที่การเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม (Yala Co-Learning Space) ภายในงานมีการเสวนาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์ความเป็นมาเมืองยะลา และประวัติศาสตร์ตลาดเก่า โดย ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเป็นมาของเมืองยะลา การเล่าเรื่องอาภรณ์เก่าก่อน การเล่าเรื่องความเป็นมาของสถานีรถไฟและการค้าขายในอดีต การเล่าเรื่องผ่าน Content ด้านอาหาร อาคาร อาภรณ์ยะลา รวมถึงการนำเสนออย่างไร กระตุ้นให้คนรับรู้ผ่าน Tik Tok นอกจากนี้ ยังมีการประกวดผลงาน Tik Tok ด้านอาหาร อาคาร อาภรณ์ยะลา อีกด้วย สำหรับการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 - 26 พ.ย 66 ที่บริเวณสถานีรถไฟยะลา และศูนย์ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตชุมชน สามวัฒนธรรม ถนนสิโรรส 2 ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชน  ผู้ประกอบการ

สถานที่ บริเวณสถานีรถไฟยะลา และศูนย์ประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตชุมชน สามวัฒนธรรม ถนนสิโรรส 2 ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 25 - 26 พ.ย 66

รายละเอียด

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ลงพื้นที่ประเมินการเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่สงบ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง พัฒนากลวิธีหรือมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินจากเหตุการณ์ความไม่สงบสู่สังคมสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้กับกลุ่มชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน หรือ ชรบ. โดยมี ผศ.ดร.สุกฤษตา รักสุจริต หัวหน้าโครงการ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.สุธิดา เลขาวิจิตร์ อาจารย์ภานุวัฒน์ ศรีมาฆะ และอาจารย์จารุชา สินทวี พร้อมได้รับเกียรติจากร้อยตำรวจเอกหญิง นัศริน ซาและ รองสารวัตรธุรการสถานีตำรวจภูธรเมืองปัตตานี เป็นคณะกรรมการประเมินการเฟ้นหาสุดยอดหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันเหตุการณ์ความไม่สงบ ณ หมู่ที่ 5 บ้านตาแปด ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา หมู่ที่ 10 บ้านวังหาร ตำบลท่าหมอไทร อำเภอเมืองจะนะ จังหวัดสงขลา หมู่ที่ 5 บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน  หรือ  ชรบ.

สถานที่ ณ หมู่ที่ 5 บ้านตาแปด ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา หมู่ที่ 10 บ้านวังหาร ตำบลท่าหมอไทร อำเภอเมืองจะนะ จังหวัดสงขลา หมู่ที่ 5 บ้านสำนักเอาะ ตำบลเขาแดง อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

วันที่ดำเนินการ 28 ตุลาคม 2566

รายละเอียด

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยโครงการวิจัยเรื่องการจัดการการท่องเที่ยวต้นแบบเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา (Betong Net Zero) จัดงาน “Betong Carbon Neutral Tourism: ท่องเที่ยวเบตงบนฐานคิดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกิจกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวมุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พัฒนาการจัดการโซ่อุปทานการท่องเที่ยวเมืองเบตงเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มุ่งสู่คาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง ส่งเสริมการตลาดและการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิ์เป็นศูนย์ และนำเสนอกลไกการจัดการท่องเที่ยวต้นแบบเพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย นามบุรี รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยรองศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการแผนงานท่องเที่ยวบนมาตรฐานมรดกทาง ธรรมชาติ การท่องเที่ยว ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์(บพข.) คุณสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเบตง คณาจารย์ นักวิจัย และแขกผู้มีเกียรติ เข้าร่วมกิจกรรม ณ บ้านพักนายอำเภอ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการท่องเที่ยวเบตง  คณาจารย์  นักวิจัย  และแขกผู้มีเกียรติ  เข้าร่วมกิจกรรม  ณ  บ้านพักนายอำเภอ  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ณ บ้านพักนายอำเภอ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 27 กุมภาพันธ์ 2567