เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

เป็นโครงการที่จัดโดยสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ระหว่างวันที่ 3-4 กันยายน 2556 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะทางด้าภาษามลายูให้แก่ผู้สอนตาดีกา จำนวน 90 คน

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้สอนภาษามลายูในโรงเรียนของรัฐ

สถานที่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3

วันที่ดำเนินการ 3-4 กันยายน 2556

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษามลายูกลางสำหรับเยาวชนในพื้นที่จังหวัดยะลา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการโครงการโดยไม่ใช้งบประมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมทักษะ การสื่อสารภาษามลายูให้แก่เยาวชน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปใช้ ในการติดต่อสื่อสารในการทำงานและชีวิตประจำวัน โดยจัดกิจกรรมการอบรมทักษะภาษามลายู ด้วยเอกสารประกอบการอบรมที่มีเนื้อหาจำนวน 4 บทเรียน มอบหมายให้วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติ ที่เน้นการสื่อสารภาษามลายูกลาง และมีกิจกรรมกลุ่มแสดงบทบาทสมมติ วิทยากรเป็นผู้ดูแลประจำกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนในพื้นที่จังหวัดยะลา จำนวน 20 คน ดำเนินการในระหว่างวันที่ 11 - 12 มีนาคม 2563 ศูนย์ตาดีกาบ้านลือเน็ง ตำบลปะแต อำเภอยะหา จังหวัดยะลา โดยได้รับความร่วมมือจากคณาจารย์ และตัวแทนนักศึกษาหลักสูตร ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษามลายู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา นอกจากนี้ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการได้ร้อยละ 88.96 ( = 4.45) และมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มเวลาในการอบรมให้มากกว่านี้

กลุ่มเป้าหมาย

ครูผู้สอนตาดีกา

สถานที่ ศูนย์ตาดีกาบ้านลือเน็ง ตำบลปะแต อ.เมือง จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ 11-12 มีนาคม 2563

รายละเอียด

โครงการอบรมภาษามลายูเพื่อการสื่อสารสำหรับบุคลากรของรัฐ เป็นโครงการที่รับผิดชอบโดยหลักสูตรภาษามลายู (คบ) โดยเปิดโอกาสให้ผู้สอนภาษามลายูทั้งในโรงเรียนของรัฐได้พัฒนาทักษะภาษามลายู ในการนี้ได้รับมอบหมายให้ประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าวและได้เป็นผู้ประสานงานในการติดต่อวิทยากรที่มีความสามารถในต่างประเทศเพื่อมาป็นวิทยากรร่วมกับอาจารย์ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2652

กลุ่มเป้าหมาย

ครูผู้สอนภาษามลายูที่ไม่วุฒิทางด้านศาสตร์ภาษามลายู

สถานที่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 21-22 ธันวาคม 2652

รายละเอียด

หัวหน้าโครงการบริการวิชาการพัฒนาทักษะการพูดภาษามลายูมาตรฐานต่อสาธารณชนแก่เยาวชนในจังหวัดปัตตานี ระหว่างวันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2563 ณ บินตัง รีสอร์ท อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ กลุ่มเยาวชนหรือนักเรียนที่เป็นผู้นำโรเรียนอาซิสสถานสามารถพูดภาษามลายูมาตรฐานต่อสาธารณชนได้ 80 %

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนหรือนักเรียนโรงเรียนอาซิสสถาน  จำนวน  40  คน

สถานที่ บินตัง รีสอร์ท อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 27-28 พฤศจิกายน 2563

รายละเอียด

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564 อาจารย์พารีดา หะยีเตะ อาจารย์สุฮัยลา บินสะมะแอ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรภาษามลายู ศศ.บ. และอาจารย์การ์ตีนี วาโด อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรภาษามลายู ค.บ. เดินทางไปราชการเพื่อเป็นคณะกรรมการตัดสินการประกวดการพูดภาษามลายูในที่สาธารณะ ณ ห้องประชุม อาคาร 5 โรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน อำเภอโคกโพธื์ จังหวัดปัตตานี หลักสูตรภาษามลายู ศศ.บ. และ หลักสูตรภาษามลายู ค.บ. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ขอขอบคุณผู้อำนวยการโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน คณาจารย์ และนักเรียนทุกคนที่ให้การต้อนรับเราเป็นอย่างดี อีกทั้งได้มอบความไว้วางใจในการตัดสินการประกวดการพูดภาษามลายูในที่สาธารณะ ของนักเรียนโรงเรียนมูลนิธิอาซิซสถาน ในครั้งนี้ และหวังเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือต่างๆ เพื่อพัฒนาทักษะภาษามลายูของเยาวชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เข้าร่วมแข่งขันการพูดสาธารณะจำนวน  14  คน

สถานที่ โรงเรียนอาซิสสถาน

วันที่ดำเนินการ 25 กุมภาพันธ์ 2564

รายละเอียด

โครงการนวัตกรรมการบริหารจัดการภาคีเครือข่ายเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษามลายู ให้กับพี่เลี้ยงตาดีกาที่สอนภาษามลายูในเขตพื้นที่ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ระหว่างวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2565 ณ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ คือ 1. เพื่อสร้างเครือข่ายและสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษามลายูให้กับครูในเครือข่าย ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 3. เพื่อประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษามลายูให้กับครู ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส รวมเครือข่ายได้ให้ความร่วมมือทั้งสิ้น 1. ผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอรือเสาะ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดนราธิวาส ตัวแทนครือข่าย นางวรรรัตธิญา บินมะ เบอร์โทรศัพท์ 080-8758001 2. ประธานชมรมตาดีกาตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ตัวแทนครือข่าย นางเจ๊ะอัสนะห์ สาเมาะ เบอร์โทรศัพท์ 084-9973097 3. ผู้ชำนาญการอิสลามศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ตัวแทนครือข่าย นายอาหะมะ กือโด เบอร์โทรศัพท์ 084-1982671 4. ผู้ชำนาญการอิสลามศึกษา สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส ตัวแทนครือข่าย นายอับดุลลาเต๊ะ มามะ 5. ศึกษานิเทศน์ สพป นราธิวาสเขต 1 ตัวแทนครือข่าย นายนิอับดุลรอมาน มูหะ เบอร์โทรศัพท์ 087-2903288

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนที่เป็นพี่เลี้ยงศูนย์การเรียนรู้อิสลามศึกษาประจำมัสยิด  (ตาดีกา)  ตำบลบางนาค  จังหวัดนราธิวาส

สถานที่ สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 22-24 กุมภาพันธฺ 2565

รายละเอียด

วันที่ 15.2.22 ทางอาจารย์ภาษามลายูหลักสูตรภาษามลายูและการสอนภาษามลายูได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการในการแข่งขันมหกรรมภาษามลายู โรงเรียนอาซิสสถาน ผ่านระบบออนไลน์ กิจกรรมการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมมลายูของผู้เรียนให้กับชุมชน กิจกรรมดังกล่าวประกอบด้วยการแข่งขันบรรยายจากภาพ การพูดในที่สาธารณะ การบรรยาย สุนทรพจน์ เป็นต้น

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้เรียน  ผู้สอน  และผู้สนใจทั่วไป

สถานที่ โรงเรียนอาซิสสถาน

วันที่ดำเนินการ 15 กุมภาพันธ์ 2565

รายละเอียด

หลักสูตรภาษามลายูเพื่อธุรกิจ จัดกิจกรรมการเขียนข่าวด้วยภาษามลายู เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL) วันนี้ 9/9/2065 ห้องประชุมบราแง คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หลักสูตรภาษามลายูเพื่อธุรกิจได้จัดกิจกรรมการเขียนข่าวด้วยภาษามลายู โดยมีผู้เชื่ยวชาญด้านการเขียนข่าว Professor Dr. Roosfa Hashim ผู้อำนวยการ จาก Internatinal Islamic University Malaysia PRESS เป็นผู้ให้ความรู้ พร้อมด้วยนักข่าวในพื้นที่ นายตูแวดานีแย มือรีวิง และคณะ เป็นผู้ช่วยวิทยากรในการกำกับดูแลนักศึกษา จำนวน 71 คน ซึ่งประกอบไปด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะไปปฏิบัติสหกิจศึกษาจำนวน 42 คน และ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 29 คน สำหรับกิจกรรมการเขียนข่าวด้วยภาษามลายู จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนปฏิบัติสหกิจศึกษาและเพื่อเพิ่มทักษะการเขียนข่าวด้วยภาษามลายูให้มีคุณภาพและถูกต้องให้กับนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 2 ในรายวิชาการเขียนระดับสูง ซึ่งเป็นกิจกรรมที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสถานประกอบการจริง โดยการเชิญผู้ที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้กับนักศึกษา นายซูไฮมิง มะเซ็ง ตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้กล่าวว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์สำหรับการพัฒนาทักษะการเขียนข่าวด้วยภาษามลายูให้ถูกต้อง เนื่องจากได้เรียนรู้จากผู้รู้จากประเทศมาเลเซียและจากนักข่าวในพื้นที่ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ไปต่อยอดในการปฏิบัติสหกิจศึกษาในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาและนักข่าวท้องถิ่น

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 9 กันยายน 2565

รายละเอียด

วันที่ 25-26 มีนาคม 2566 โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม อำเภอปะนะเระ จังหวัดปัตตานี ได้เชิญเป็นวิทยากรในการถ่ายทอดรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษามลายูด้วยเทคนิคโฟนิคให้กับครูสอนภาษามลายู ให้กับนักเรียนชั้นสามซานาวีย์จำนวน 50 คน

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนสตรีโรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม

สถานที่ โรงเรียนวัฒนธรรมอิสลาม

วันที่ดำเนินการ 25-26 สิงหาคม 2565

รายละเอียด

วันที่ 4-6 กรกฎาคม 2565 โรงเรียนศรีพัฒนศาสตร์ และโรงเรียนศรีกาบัง ได้เชิญอาจารย์จำนวน 5 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ ดร.พารีดา หะยีเตะ อาจารย์การ์ตีนี วาโด อาจารย์ สูฮัยลา บินสะมะแอ อาจารย์มะนาวาวี มามะ และอาจารย์ฮัสบุลเลาะ นะดารานิง เป็นวิทยากรในการถ่ายทอดรูปแบบการพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนการสอนด้านทักษะการอ่านภาษามลายูด้วยเทคนิคโฟนิคให้กับครูสอนภาษามลายู ให้กับครูโรงเรียนดังกล่าว

กลุ่มเป้าหมาย

ครู

สถานที่ โรงเรียนศรีพัฒนศาสตร์ และโรงเรียนศรีกาบัง

วันที่ดำเนินการ 4-6 กรกฎาคม 2565