เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

การจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สมรรถนะ PISA

กลุ่มเป้าหมาย

ครูสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่        3

สถานที่ ออนไลน์

วันที่ดำเนินการ 4 - 5, 8 - 9, 10 - 11 พฤษภาคม 2563

รายละเอียด

เพื่อพัฒนาศักยภาพครูเพื่อยกระดับ ONET สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

กลุ่มเป้าหมาย

ครูสอนคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่  5  -  6    ครูวิชาการและครูพี่เลี้ยงของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

สถานที่ องประชุมหลูหุ้ย ชั้น 6 ศูนย์บรรณสารสนเทศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2563

รายละเอียด

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็น "คลังปัญญาแห่งชายแดนใต้" ตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ จัดให้มีโครงการความร่วมมือ ทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า สำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา และโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ ่มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นส่งเสริมพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและเสริมสร้างเจตคติที่ดีและถูกต้องต่อดำเนินงานภาครัฐ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดยะลา เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และที่สำคัญคือเป็นกลไกในการใช้กระบวนการพัฒนาทางด้านการศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพคน เพิ่มโอกาสทางการศึกษา เพื่อความรู้ความเข้าใจให้แก่เยาวชนในนโยบาย เจตนา และเป้าหมายในการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นไปตามนโยบายขอรัฐบาลต่อไป มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงบูรณาการร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชนที่เกี่ยว จัดให้มีโครงการและกิจกรรมเพื่อสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ในโครงการจัดตั้งห้องเรียนพิเศษ Science Mathematics Program (SMP) ในโรงเรียนเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่จังหวัดยะลา คือโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ ในพื้นที่จังหวัดยะลา ซึ่งรวมทั้งหมดในปัจจุบันจำนวน 12 โรงเรียน โดยร่วมกันพัฒนานักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ระดับชั้นละ 1 ห้อง ห้องเรียนละประมาณ 30-40 คน โดยร่วมกันพัฒนาในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ หลักสูตร ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน คณะกรรมการดำเนินงานโครงการ นักเรียนและผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์ วัสดุ และการสร้างความรู้ความเข้าใจ การสร้างการยอมรับในพื้นที่และชุมชน โดยจัดให้มีกิจกรรมการพัฒนาให้ดำเนินการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยมีบุคลากรจากคณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรเป็นกำลังสำคัญ ร่วมกับบุคลากรจากทุกส่วนราชการภายใน ดำเนินงานในรูปแบบ "คณะกรรมการดำเนินงาน" เน้นกระบวนการพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ใช้แนวทาง "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" และมีกระบวนวิจัยประเมินโครงการ กระบวนการติดตามนิเทศเยี่ยมชมผลการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย

กลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ
                             1    .    พัฒนาห้องเรียนพิเศษด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    (Science    and    Mathematics    Program:    SMP)    ที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนเอกชนสอนศาสนากลุ่มเป้าหมายในจังหวัดยะลา    จำนวน    12    โรงเรียน    โรงเรียนละ    1    ห้อง
                             2.        พัฒนาห้องปฏิบัติการมาตรฐานต้นแบบ    สำหรับใช้ร่วมกันในการจัดการเรียนการสอน    และพัฒนาครูผู้สอนวิทยาศาสตร์    คณิตศาสตร์    ระดับมัธยมศึกษา    จำนวน    1    ห้องเรียน    ณ    ศูนย์วิทยาศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
                             3.    จำนวนนักเรียนห้องเรียน    SMP    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่    4    จำนวนไม่น้อยกว่า    1,400    คน    จาก    12    โรงเรียนเป้าหมาย    (ร้อยละ    80    จากกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด    1,120    คน)
                             4.    จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร    เพื่อพัฒนานักเรียนในโครงการด้านเจตคติ    ความรู้และประสบการณ์    ผ่านกิจกรรมไม่น้อยกว่า    15    กิจกรรมต่อปีการศึกษา
                         5.    พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในโครงการ    SMP    ในแต่ละโรงเรียนได้รับการพัฒนาตนเองด้านทักษะการสอนและทักษะที่เกี่ยวข้อง    ไม่น้อยกว่า    2    ครั้ง    ต่อปีการศึกษา    จำนวนไม่น้อยกว่า    60    คน

         เชิงคุณภาพ

                 1.        ร้อยละ    80    ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ    ได้แก่    ผู้บริหารโรงเรียน    ครูผู้สอน    ครูสอนศาสนา    นักเรียน    ผู้ปกครอง    ผู้นำท้องถิ่น    ผู้นำศาสนา    และเครือข่ายบูรณาการ    มีความรู้ความเข้าใจ    มีเจตคติที่ดีต่อโครงการและนโยบายการพัฒนาของรัฐในพื้นที่    จชต.    และร่วมเป็นเครือข่ายสนับสนุนการแก้ไขปัญหาในพื้นที่    จชต.    อย่างยั่งยืน
                 2.    ห้องเรียนและห้องปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้น    สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้บริหาร    ครู    บุคลากรทางการศึกษา    ผู้ปกครอง    และนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการห้องเรียน    SMP    อยู่ในระดับดีขึ้นไป
                 3.    นักเรียนที่เรียนในโครงการห้องเรียน    SMP    มีคะแนนเฉลี่ยในวิชาด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดีหรือพอใช้    (2.50)    และมีคะแนนเฉลี่ยในทุกวิชาในหลักสูตรอยู่ในระดับดีหรือพอใช้
                 4.    นักเรียนที่เรียนในโครงการห้องเรียน    SMP    มีคุณลักษณะและพฤติกรรมขยันหมั่นเพียร    กระตือรือร้น    มีความรับผิดชอบ    มีวินัย    และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนในโปรแกรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    และคิดเชิงบวก    อยู่ในระดับดี
                 5.    จำนวนผลงานโครงงานของนักเรียนในโครงงาน    SMP    เพิ่มขึ้นปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ    20    เมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา
                 6.    ครูผู้สอนและบุคลากรในโครงการห้องเรียน    SMP    มีความรู้และทักษะพิเศษในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อยู่ในระดับดี

สถานที่ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาควบคู่สามัญ จำนวน 12 โรงเรียน

วันที่ดำเนินการ ตุลาคม 2559