เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการ นำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 56,800 บาท มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน ด้วยการสาธิตกิจกรรม รักการอ่านรักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้าน แก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น และรายวิชาการจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เทคนิคการผลิตละครเวทีสำหรับเยาวชน” ให้แก่นักศึกษาผู้เป็นคณะทำงานจำนวน 29 คน โดยบูรณาการองค์ความรู้กับรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น 2. กิจกรรม “รักการอ่านรักการเล่าและการแสดงละครพื้นบ้าน” จำนวน 3 ครั้ง คือ 1) ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จ.ยะลา 2) สำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาส จ.นราธิวาส 3) ที่ว่าการอำเภอเทพา จ.สงขลา การดำเนินโครงการ นำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้ ได้เผยแพร่องค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” ด้วยการสาธิตกิจกรรมรักการอ่าน รักการเล่า และการแสดงละครพื้นบ้านแก่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 4 แห่ง โดยมีนักเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 364 คน และนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 38 คน เป็นผู้ปฏิบัติงานในโครงการ การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60 และพบว่าเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม/โครงการอยู่ในระดับมากที่สุด นับว่าสถานศึกษาได้มีโอกาสเพิ่มพูนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้โดยเทคนิคการละครและหนังสือนิทาน ซึ่งสามารถนำไป บูรณาการการเรียนรู้ในสาระการเรียนรู้ด้าน วรรณคดี การใช้ภาษา และสังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้นักศึกษาผู้ร่วมปฏิบัติงานได้มีโอกาสพัฒนาตนเองในรายวิชาเรียนและได้เตรียมความพร้อมต่อการเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในวาระต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

 เชิงปริมาณ
- ได้จัดกิจกรรมรักการอ่านรักการเล่า  และกิจกรรมการแสดงละครพื้นบ้านจำนวน  1  ครั้ง                          4  เรื่อง  พื้นที่จังหวัดยะลา
- เยาวชนจำนวนประมาณ  80  คน  ได้เข้าร่วมกิจกรรม  รักการอ่านรักการเล่า  และกิจกรรมการแสดงละครพื้นบ้าน
- นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาภาษาไทย  จำนวน  31  คน  ได้พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมในที่สาธารณะ  
 เชิงคุณภาพ  
- เยาวชนในพื้นที่จังหวัดยะลามีความรู้เรื่องวรรณคดีพื้นบ้านชายแดนใต้และได้พัฒนาทักษะการอ่านการเล่าเรื่อง  และการแสดงละครนักอ่าน
- เยาวชนในพื้นที่จังหวัดยะลามีความรู้  ความเข้าใจ  และซาบซึ้งในอรรถรสของวรรณคดีพื้นบ้านที่สื่อสารผ่านการแสดงละคร
- สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง  มีองค์ความรู้เรื่อง  “แนวทางการอนุรักษ์  ฟื้นฟู  และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน
- นักเรียนที่เรียนรายวิชาวรรณคดีท้องถิ่น,  การอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ  และรายวิชาการจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก  ได้พัฒนาทักษะการจัดกิจกรรมในโรงเรียน

สถานที่ วันที่ 5 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา วันที่ 6 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา วันที่ 8 มีนาคม 2562 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส วันที่ 27 มีนาคม 2562 ณ ที่ว่าการอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 5 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา วันที่ 6 มีนาคม 2562 ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดยะลา วันที่ 8 มีนาคม 2562 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส วันที่ 27 มีนาคม 2562 ณ ที่ว่าการอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา