เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

รับงบประมาณจาก อววน.

กลุ่มเป้าหมาย

เกษตรกร  กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์จากกล้วยหิน

สถานที่ จังหวัดยะลาและปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2563

รายละเอียด

ได้รับงบประมาณจาก อววน. ผ่านหน่วยงานคลินิคเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้ประกอบการขนมรังผึ้งโบราณ

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2563

รายละเอียด

ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากงบภาคใต้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มชุมชนตำบลธารน้ำทิพย์  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2562

รายละเอียด

ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่ค้าในตลาดคลองทรายใน  ตำบลยุโป  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลยุโป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2561

รายละเอียด

ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มชาวบ้าน  หมู่บ้านปลักใหญ่  ตำบลปากล่อ  อำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี

สถานที่ ตำบลปากล่อ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2560

รายละเอียด

จังหวัดยะลามีภาพลักษณ์ในการเป็นเมืองที่มีผังเมืองที่มีความสวยงามและเป็นระเบียบมีความสะอาดที่สุดเมืองหนึ่งของประเทศไทย แต่จากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบันแนวโน้มของความรุนแรงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างลดลง แต่ยังส่งผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและภาพลักษณ์ของจังหวัดซึ่งถือเป็นจุดอ่อน และอุปสรรคสำคัญในการพัฒนาจังหวัด ดังนั้น จังหวัดยะลา จึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดยะลามุ่งเสริมสร้างการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชน มีอาชีพและรายได้ที่มั่นคงถือเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมมีความมั่นคงเสมอภาคและเป็นธรรม สามารถแข่งขันได้ในระบบเศรษฐกิจนำไปสู่ยะลาเมืองแห่งความสุข (จังหวัดยะลา, 2563) ซึ่งสอดรับกับแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติในประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดชีวิต จากผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2562 พบว่า ประเด็นค่าเป้าหมายของวัยเรียน/วัยรุ่น มีความรู้และทักษะในศตวรรษที่ 21 ครบถ้วน รู้จักคิด วิเคราะห์ รักการเรียนรู้ มีสำนึกพลเมือง มีความกล้าหาญทางจริยธรรมมีความสามารถในการแก้ปัญหา ปรับตัว สื่อสาร และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างประสิทธิผลตลอดชีวิตดีขึ้น ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายอยู่ในระดับเสี่ยง ซึ่งมีสถานการณ์อยู่ในช่วงร้อยละ 51-75 ของค่าเป้าหมาย (สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2563) ย่อมเป็นประเด็นที่ควรค่ายิ่งต่อการพัฒนาอย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการยกระดับชุมชนและเยาวชนสู่ผู้ประกอบการใหม่ให้มีความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศได้อย่างยั่งยืน สร้างสังคมให้ความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มคุณภาพชีวิตในชุมชนให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเยาวชนช่วงอายุ  15-25  ปี    จำนวน  150  คน

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2565

รายละเอียด

เด็กและเยาวชนเป็นเสาหลักของในการพัฒนาและยกระดับชุมชนให้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็น กลุ่มบุคคลที่จะต้องดูแลรับผิดชอบสังคม ทำหน้าที่เป็นผู้นำชุมชนและสังคมในอนาคตต่อจากผู้ใหญ่ แต่จาก สภาพปัญหาของสังคม กระแสของสังคมทุนนิยม ประกอบกับเด็กและวัยรุ่นไทยอยู่ภายใต้สังคมที่เคยชินกับการเป็นผู้ตามมากกว่าผู้นำการไม่ค่อยกล้าแสดงความคิดเห็นโดยเฉพาะในประเด็นที่แตกต่างจากคนอื่นเพราะ กลัวเป็นแกะดำ สภาพครอบครัวไทยจำนวนมากที่ประคบประหงมดูแลอย่างใกล้ชิดแม้จะโตจนเรียนระดับ มหาวิทยาลัย รวมถึงระบบการศึกษาไทยที่ครูจำนวนมากสอนโดยมีครูเป็นศูนย์กลาง เด็กต้องคิดตามกรอบที่ กำหนด หากคิดแตกต่างจะได้เกรดไม่ดีและไม่เป็นที่รักของครูรวมถึงการที่ระบบการศึกษาไทยที่ไม่ได้ให้ ความสำคัญในการพัฒนาผู้เรียนให้มีภาวะผู้นำเท่าที่ควรนอกจากนั้นยังมีสภาพการปกครองของคนในสังคมที่มี กลุ่มชนชั้นนำเพียงบางกลุ่ม ส่วนกลุ่มอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมไม่มากนัก หรือไม่เข้ามีส่วนร่วมหรือแสดงออกทาง การเมือง โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่แผ่วเบาไปกว่าช่วงสมัยก่อน ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพ สังคมปัจจุบันที่บั่นทอนเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ให้ขาดภาวะความเป็นผู้นำ จำเป็นอย่างยิ่งที่สังคมไทยต้อง ตระหนักและสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีภาวะผู้นำ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการนำและขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนสังคมและประเทศให้อยู่รอดท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองที่รุนแรงมากขึ้นทุก ขณะ หากแต่การพัฒนาภาวะผู้นำในกลุ่มเด็กและเยาวชนให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องอาศัยความร่วมมือของ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนผู้นำชุมชน คนในชุมชน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ในการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเป็นพลังในการขับเคลื่อนสังคม สร้างผู้นำรุ่นใหม่ อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เกิดกลุ่มผู้นำชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

กลุ่มเป้าหมาย

ด็กและเยาวชน  อายุระหว่างวันที่  12-25  ปี  ของ  8  อำเภอในจังหวัดยะลา  เข้าร่วมจำนวน  300  คน

สถานที่ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2565

รายละเอียด

แนวทางในการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งกลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืน เป้าประสงค์ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่ มีตัวชี้วัด ห้องปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) จำนวน 4 แหล่งต่อปี สอดรับกับกลยุทธ์เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการทางสังคม และมีแนวทางการดำเนินงานโดยการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อสร้างห้องปฏิบัติการทางสังคมที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้ได้ ดังนั้นภายใต้พันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในการมุ่งผลิตบัณฑิต มีสมรรถนะสำหรับการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 เป็นคลังปัญญาของชุมชนและท้องถิ่น ซึ่งในการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (Creativity-Based Learning: CBL) เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความรู้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยเน้นกระบวนการลงมือทำ ด้วยความกระตือรือร้นในการค้นคว้า พบจากงานวิจัยดังนี้ อรวรรณ อุดมสุข (2564) ผลการศึกษาความพึงพอใจในการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสร้าง สรรค์เป็นฐาน (CBL) ช่วยให้ผู้เรียนรู้จักการทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มร่วมกับเพื่อนักเรียนได้รู้จักสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติม สอดคล้องกับงานวิจัยของ ชลธิชา นำนา (2560) พบว่า ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน (CBL) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก แสดงให้เห็นว่า ในการพัฒนากลไกการบริหารจัดการฟาร์มสเตย์สู่แหล่งเรียนรู้ให้กับกลุ่มเยาวชน รวมถึงคนทุกช่วงวัย ซึ่งจะสอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันของกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เป็นกลุ่มมีความเชี่ยวชาญที่พัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น และสอดรับกับแนวนโยบายการพลิกโฉมด้านการจัดการเรียนการสอนโดยฝึกให้นักศึกษาปฏิบัติได้ เป็นคนเก่ง ที่จบการศึกษาแล้ว ต้องออกไปพัฒนาเชิงพื้นที่ให้มีความเข้มแข็ง มีอาชีพ มีรายได้ พึ่งตนเอง สร้างความมีเสถียรภาพด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ ลดอัตราการย้ายถิ่นฐาน ออกหางานทำนอกพื้นที่ได้ ซึ่งถือว่าวิธีการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดต่อนักศึกษา มุ่งพัฒนาคนให้ปฏบัติและทำงานเป็น จึงทำให้คณะวิทยาการจัดการมุ่งให้ความสำคัญและเตรียมความพร้อมสำหรับสิ่งสนับสนุนโดยใช้ชุมชนเป็นฐานเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักศึกษาเพื่อประโยชน์ดังกล่าวนี้

กลุ่มเป้าหมาย

นักศึกษาและชุมชน

สถานที่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปีงบประมาณ 2565

รายละเอียด

ร่วมรายงานผลการดำเนินการ และรายรับรายจ่ายของโฮมสเตย์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเศรษฐกิจฐานรากและอุตสาหกรรมบริการ ให้แก่ผู้นำชุมชน ณ ชุมชนปิยะมิตร 1 อ.เบตง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้นำชุมชนและเยาวชนในพื้นที่

สถานที่ ณ ชุมชนปิยะมิตร 1 อ.เบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 15 ธันวาคม 2565

รายละเอียด

คณะผู้ร่วมวิจัย ลงพื้นที่ขับเคลื่อนพัฒนาต้นแบบฟาร์มสเตย์ ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาต้นแบบนิเวศการเรียนรู้ด้านธุรกิจฟาร์มสเตย์เกษตรอินทรีย์สำหรับเยาวชนเพื่อสร้างทักษะอนาคตสู่พื้นฐานอาชีพ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทุน Fundamental Fund (FF) ปี 2566 ณ ตำบลตาเนาะแมเนาะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนในพื้นที่

สถานที่ ณ ตำบลตาเนาะแมเนาะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 16 พฤศจิกายน 2565