เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (มัคคุเทศก์น้อย) ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 46,500 บาท มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างจิตสำนักรักบ้านเกิด การเป็นเยาวชนเจ้าบ้านที่ดี และเป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 ในพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 50 คน ดำเนินการในวัน 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2559 ณ โรงเรียนวัดหน้าถ้ำ (พุทธไสยานุสรณ์) โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้บริหารและคุณครูจากโรงเรียนวัดหน้าถ้ำ (พุทธไสยานุสรณ์) และ โรงเรียนบ้านถ้ำศิลป์ (บ้านบังนังลูวา) ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนหลักสูตรในการอบรมครั้งนี้จากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดยะลา กิจกรรมในการจัดโครงการ แบ่งเป็นฐานมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรประจำแต่ละฐาน โดยแบ่งเป็นทีม ทีมละ 10 คน จำนวน 5 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่ม การทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ทักษะการคิดสร้างสรรค์ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเป็นเจ้าบ้านที่ดี ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์น้อย การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ และฝึกปฏิบัตินำชมสถานที่ท่องเที่ยว ทัศนศึกษาเรียนรู้จากสถานที่ท่องเที่ยวจริง ด้านความพึงพอใจผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมโครงการภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (มัคคุเทศก์น้อย) ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.32 คิดเป็นร้อยละ 86.40 เมื่อเทียบเป็นรายด้านพบว่าความความพอใจในด้านสิ่งอำนวยประโยชน์ มีความพึงพอใจสูงสุด ค่าเฉลี่ย 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.40 ความพึงพอใจในด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.40 ด้านผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ ค่าเฉลี่ย 4.33 คิดเป็นร้อยละ 86.60 และด้านวิทยากร ค่าเฉลี่ย 4.11 คิดเป็นร้อยละ 82.20 ตามลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  4  -  6  ในพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำ  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  จำนวน  50  คน

สถานที่ โรงเรียนวัดหน้าถ้ำ (พุทธไสยานุสรณ์)

วันที่ดำเนินการ 22 - 23 กุมภาพันธ์ 2559

รายละเอียด

โครงการภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (มัคคุเทศก์น้อย) รุ่น2 ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการ งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 43,250 บาท มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษในการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สร้างจิตสำนักรักบ้านเกิด การเป็นเยาวชนเจ้าบ้านที่ดี และเป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน มีกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4 - 6 ในพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา จำนวน 51 คน ดำเนินการในวัน 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงเรียน บ้านถ้ำศิลป์ (บ้านบังนังลูวา) โดยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้บริหารและคุณครูเป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้รับการสนับสนุนหลักสูตรในการอบรมครั้งนี้จากสำนักงานท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดยะลา กิจกรรมในการจัดโครงการ แบ่งเป็นฐานมีวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากรประจำแต่ละฐาน โดยแบ่งเป็นทีม ทีมละ 10 คน จำนวน 5 กลุ่ม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมฝึกการเป็นผู้นำผู้ตามในกลุ่ม การทำงานอย่างเป็นระบบ ฝึกความสามัคคี ทักษะการคิดสร้างสรรค์ อบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การเป็นเจ้าบ้านที่ดี ภาษาอังกฤษสำหรับมัคคุเทศก์น้อย การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวเป็นภาษาอังกฤษ และฝึกปฏิบัตินำชมสถานที่ท่องเที่ยว ทัศนศึกษาเรียนรู้จากสถานที่ท่องเที่ยวจริง ด้านความพึงพอใจผู้ตอบแบบสอบถามของผู้เข้าร่วมโครงการภาษาอังกฤษเบื้องต้นเพื่อการต้อนรับนักท่องเที่ยวในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี (มัคคุเทศก์น้อย) รุ่น2 ในภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก (xˉ =4.39, SD.=0.77) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความพึงพอใจในด้านสิ่งอำนวยประโยชน์ (xˉ =4.44, SD.=0.78) ความพึงพอใจในด้านกระบวนการ (xˉ =4.44, SD.=0.72) ความพึงพอใจในด้านผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ (xˉ =4.42, SD.=0.79) ความพึงพอใจในด้านวิทยากร (xˉ =4.28, SD.=0.79) ตามลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  4  -  6  ในพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำ  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา  จำนวน  51  คน

สถานที่ โรงเรียน บ้านถ้ำศิลป์ (บ้านบังนังลูวา)

วันที่ดำเนินการ 21 – 22 กุมภาพันธ์ 2561

รายละเอียด

โครงการหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมรอยต่อที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบูรณาการการทำงานระหว่างผู้นำกลุ่ม องค์กร หน่วยงานภาครัฐ และสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาให้เป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมรอยต่อที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้และเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่งเป็นพื้นฐานในการบริหารจัดการและการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืนต่อไป ในการดำเนินการจัดกิจกรรมที่ 6 อบรมผู้นำเที่ยวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยชุมชน เป้าหมายในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักสื่อความหมายถ่ายทอด นำเสนอเรื่องราวของสังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เสริมสร้างจิตสำนักรักบ้านเกิด การเป็นเจ้าบ้านที่ดี และเป็นการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนของหลักสูตรสาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว หลักสูตรคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และหลักสูตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ในการดำเนินกิจกรรม คือ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 ในการดำเนินการโครงการหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเชื่อมรอยต่อที่สามเหลี่ยม กิจกรรมที่6 อบรมผู้นำเที่ยวชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับ พึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.05 และ เมื่อเทียบเป็นรายด้านพบว่าความความพอใจในด้านกระบวยนการ มีความพึงพอใจ สูงสุด โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.36 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความพึงพอใจในด้านวิทยากร โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.32 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.05 อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจความพึงพอใจความพึงพอใจด้านการนำความรู้ไปใช้ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.23 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.62 ความพึงพอใจด้านการให้บริการเจ้าหน้าที่ โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.21 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.30 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.09 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.67 ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนระดับความพึงพอใจเป็นลำดับสุดท้าย ความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.01อยู่ในระดับพึงพอใจมาก ตามลำดับ

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนตำบลธารน้ำทิพย์  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562

รายละเอียด

ด้วยหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการบูรณาการกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กิจกรรม เผยแพร่ความรู้และบริการประชาชน เรื่อง มัคคุเทศก์น้อย รักบ้านเกิด ในพื้นที่ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ในวันที่ 29 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 98.30 ถึง 20.00 น. และวันที่ 30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563 เวลา 08.30 ถึง 16.00 น. โดยบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชา 3157327 ศิลปะการพูดและการนำเสนอสำหรับการท่องเที่ยว 3157331 การจัดการโรงแรมและที่พัก 3157315 การวางแผนและพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และ 3157316 การวิจัยสำหรับการท่องเที่ยว และบูรณาการกับพันธกิจการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา  ในพื้นที่อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ ห้องประชุมบ่อน้ำร้อนรีสอร์ทแอนด์สปา ตำบลตาเนาะแมเราะ อำเภอเบตง

วันที่ดำเนินการ วันที่ 29-30 เดือน มกราคม พ.ศ. 2563

รายละเอียด

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น Plus ปี 2563 – 2564 เพื่อพัฒนาโฮมสเตย์ สร้างการท่องเที่ยวครบวงจรของชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา บูรณาการการงานบริการวิชาการแก่สังคมกับการเรียนการสอน ปีการศึกษาที่ 2/2563 ดังนี้ o3127318 ศิลปะการพูดและการนำเสนอสำหรับการท่องเที่ยว : ให้นักศึกษาเรียนรู้ทักษะการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวให้มีความน่าสนใจ โดยการจัดทำเป็นคลิปวีดีโอนำเสนอกิจกรรมกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นำเสนอผ่านช่องทางของเพจ โฮมสเตย์ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ o3127136 การพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว : ให้นักศึกษาลงพื้นที่ชุมชนตำบลหน้าถ้ำ พูดคุยกับชุมชนและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมในพื้นที่ตำบลหน้าถ้ำ จากนั้นวิเคราะห์แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ พบว่า ในการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวยังไม่มีความน่าสนใจและหลากหลาย นักศึกษาจึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ พ.ศ. 2563- 2564

รายละเอียด

ต่อยอดจากงานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ชุมชนหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา วัตถุประสงค์จากการบริการวิชาการ เพื่อ ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการท่องเที่ยวชุมชนหน้าถ้ำ ตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยจัดทำขึ้นเพื่อให้การบูรณาการศาสตร์ด้านการเรียนการสอนกับการพัฒนาท้องถิ่นเชื่อมโยง และเอื้อประโยชน์ต่อกัน และเพื่อให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งฝึกปฏิบัติจริง และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์จริง จึงเกิดผลผลิตจากการบริการวิชาการ คือ Vlog ถ้ำมืด และ Vlog ไข่เค็มดินมายา

กลุ่มเป้าหมาย

ตำบลหน้าถ้ำ  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ พ.ศ. 2564 - 2565

รายละเอียด

นวัตกรรมการท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวให้แก่ชุมชน สู่การทดลองกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ "การทำไข่เค็มดินมายา" โดยมี นางเนาวรัตน์ น้อยพงษ์ ประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์ดินมายา นายชัชพงศ์ เพชรกล้า ประธานชุมชนท่องเที่ยวตำบลหน้าถ้ำ และ นายประดับ ศรีตะนนท์ เกษตรกรดีเด่น มาร่วมให้ความรู้และร่วมกิจกรรม ในการทำไข่เค็มดินมายานั้นเน้นวัตถุดิบจากท้องถิ่น โดยนำไข่เป็ด จากฟาร์มลุงดับที่เลี้ยงเป็ดด้วยวิถีธรรมชาติ และนำดินมายา ซึ่งเป็นดินประจำท้องถิ่น มีสารไอโอดีน มีที่เดียวในประเทศไทย นำมาพอกไข่เป็ดคลุกขี้เถ้าและแกลบ เกิดเป็นกิจกรรมการทำไข่เค็มดินมายา ให้นักท่องเที่ยวได้ร่วมลงมือทำ สร้างประสบการณ์พิเศษ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนักท่องเที่ยวกับชุมชน นักท่องเที่ยวได้นำผลผลิตของตนเองกลับไปฝากครอบครัวคนที่รัก ถือเป็นการสร้างชื่อเสียงให้ชุมชนเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดการสร้างงาน ส่งเสริมรายได้เพิ่มขึ้นต่อชุมชน ซึ่งผลจากการทดลองกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ กิจกรรมเรียนรู้การทำไข่เค็มดินมายา ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ชุมชนนำไปต่อยอดเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆ ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนตำบลหน้าถ้ำ  จังหวัดยะลา

สถานที่ ตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ พ.ศ. 2565

รายละเอียด

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ร่วมกับ สาขาวิชาการจัดการ จัดกิจกรรมบริการวิชาการแก่ชุมชนท่าเรือ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม พร้อมศึกษาเรียนรู้จากสถานทีีท่องเที่ยวต้นแบบ และผลิตภัณฑ์โอท๊อปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาชุมชนต่อไป โดยมอบหมายให้นักศึกษาหลักสูตรการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว ชั้นปีที่ 3 ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยวิทยากร โดยบูรณาการการเรียนการสอนกับรายวิชามัคคุเทศก์ ส่งเสริมให้นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพตนเองตามสายงานวิชาชีพ

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนท่าเรือ  อำเภอโคกโพธิ์  จังหวัดปัตตานี

สถานที่ จังหวัดพัทลุง และ จังหวัดนครศรีธรรมราช

วันที่ดำเนินการ 19 กันยายน 2565

รายละเอียด

หลักสูตรการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว จัดการเรียนการสอนบูรณาการการเรียนรู้ เพื่อบริการวิชาการแก่ชุมชน ในรายวิชา 1 หลักสูตร 1 ชุมชน รายวิชา 3127317 การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน 3127343 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 3127318 ศิลปะการพูดและการนำเสนอสำหรับการท่องเที่ยว และ 3127345 ภาษาอังกฤษเพื่อการโรงแรม จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวโดยชุมชน บ้านปิยะมิตร 3 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

ชุมชนบ้านปิยะมิตร  3  อำเภอเบตง  จังหวัดยะลา

สถานที่ บ้านปิยะมิตร 3 อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ

รายละเอียด

การบริการวิชาการภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี2566 ผลิตสื่อวีดีทัศน์ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยว ชุมชนท่องเที่ยว บ้านบันนังลูวา ตำบลหน้าถ้ำ

กลุ่มเป้าหมาย

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวท่องเที่ยวโดยบ้านบันนังลูวา  จังหวัดยะลา

สถานที่ บ้านบันนังลูวา ตำบลหน้าถ้ำ จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ตุลาคม 2567