เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

การให้บริการวิชาการกลุ่มนมแพะเป็นกิจกรรมที่อยู่ภายใต้กิจกรรม “ต้นแบบการจัดการธุรกิจชุมชนตำบลท่าสาป” โครงการบริการวิชาการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ประจำปีงบประมาณ 2559 โดยการดำเนินงานได้เริ่มจากการเตรียมการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการของหัวหน้าและสมาชิกกลุ่มนมแพะ จึงทำให้ได้มาซึ่งกิจกรรมย่อยในการดำเนินการ 3 กิจกรรมอบรม ได้แก่ 1) การให้การอบรมโดยวิทยากรภายในจากคณะวิทยาการจัดการ (ให้ความรู้ตามศาสตร์การจัดการ) ซึ่งประกอบไปด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติเรื่องการลงบันทึกบัญชีฟาร์มปศุสัตว์อย่างง่าย และการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุน 2) การให้การอบรมโดยวิทยากรภายนอก (วิทยากรจากปศุสัตว์จังหวัด) ในหัวข้อเรื่อง การจัดการแปลงหญ้าเพื่อขยายพื้นที่การปลูกหญ้า 3) การอบรมและศึกษาดูงาน ณ ฟาร์มแพะและกลุ่มนมแพะ จังหวัดกระบี่ ทีมงานบริการวิชาการได้ทำการวางแผนการดำเนินกิจกรรมอบรมต่างๆ พร้อมทั้งระบุกำหนดการที่จะดำเนินการ หลังจากดำเนินกิจกรรมอบรมทั้ง 3 กิจกรรม ผลการดำเนินงานได้ผ่านทุกค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด ที่กำหนดในไว้ในโครงการ ซึ่งโดยภาพรวมแล้วมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (31 – 50 ราย) ผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 (4.05 – 4.19) ส่วนตัวชี้วัดด้านลัพธ์ในเบื้องต้นพบว่า ผู้รับบริการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ผ่านแบบฟอร์มที่ได้ให้ลองปฏิบัติ รวมถึงสามารถแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจผ่านการตอบคำถามระหว่าการอบรม แต่ทั้งนี้ยังต้องมีการติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2560 และจะเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อตัวชื่อวัดด้านผลกระทบที่ต้องดำเนินการติดตามต่อไปในปี พ.ศ. 2560 เช่นกัน สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการให้บริการวิชาการส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องของการสื่อสารที่ผู้เข้ารับบริการบางรายไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้อย่างชัดเจนในบางเรื่อง แต่ทางทีมบริการวิชาการได้จัดวิทยากรที่สามารถสื่อสารภาษยาวีได้ และให้นักศึกษาช่วยงานช่วยสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องนี้ลง การบริการวิชาการให้กับกลุ่มอาชีพนมแพะในปี พ.ศ. 2559 นี้ เป็นการจัดกิจกรรมที่เน้นการให้ความรู้ที่จำเป็นในการทำให้กลุ่มและสมาชิกมีความเข้มแข็งในด้านกระบวนการ ที่เน้นไปในเรื่องของการเตรียมปัจจัยสำคัญในการเลี้ยงแพะนั่นคือ หญ้า ที่เป็นอาหารในการเลี้ยงแพะ และได้เสริมความรู้สำคัญคือเรื่อง การเขียนโครงการ เพื่อให้กลุ่มได้ใช้เป็นเครื่องมือในการขอการสนับสนุนเรื่องต่าง อีกทั้งทีมบริการวิชาการได้ให้ความรู้ในเรื่องของการ ลงบันทึกบัญชีอย่างง่าย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดรายจ่ายและรายได้ของสมาชิก และยังเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ทางทีมบริการวิชาการจะใช้ในการติดตามผลการดำเนินงานของสมาชิกในกลุ่มด้วยอีกทางหนึ่ง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะนม

สถานที่ บ้านปายอ ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี พ.ศ. 2559

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ การพัฒนาต้นแบบธุรกิจชุมชนตำบลท่าสาป : กลุ่มนมแพะ ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้งบประมาณแผ่นดิน จำนวน 200,000 บาท มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มมีความเข้มแข็งโดยเน้นการขยายพื้นที่ปลูกหญ้าเพื่อเพิ่มปริมาณอาหารแพะ เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพด้วยการบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมกลุ่มอาชีพให้มีการขยายเครือข่ายในชุมชนเพิ่มมากขึ้น และเพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพให้สามารถเป็นแหล่งศึกษาดูงานแก่ชุมชนเพิ่มมากขึ้น ลักษณะของการให้บริการวิชาการเป็นแบบการอบรมปฏิบัติการ ด้วยการให้ความรู้ผ่านการเสวนากลุ่ม และการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ มีกลุ่มเป้าหมาย คือ สมาชิกกลุ่มอาชีพนมแพะตำบลท่าสาป (กลุ่มเลี้ยงแพะ นายมะ อาแด) และคนในชุมชนที่มีพื้นที่อาศัยโดยรอบของสถานที่ตั้งกลุ่มเลี้ยงแพะ จำนวน 40 คน โดยดำเนินการช่วงไตรมาสที่ 1 – 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ณ กลุ่มอาชีพนมแพะ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยได้รับความอนุเคราะห์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธ์แพะแกะ กลุ่มผู้เลี้ยงแพะนมจังหวัดนราธิวาส (กล่มกะฮ์ลา) และคณาจารย์จากสาขาสัตวศาสตร์ ที่ทำให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาต้นแบบธุรกิจชุมชนตำบลท่าสาป กลุ่มนมแพะขึ้น และยังทำให้เกิดองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินธุรกิจชุมชนฟาร์มแพะ นอกจากนี้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ โดยภาพรวมแล้วมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 40 คน มีความพึงพอใจโดยเฉลี่ยร้อยละ 82.40 การประเมินผลในส่วนของตัวชี้วัดผลผลิต พบว่า กลุ่มอาชีพได้ขยายพื้นที่แปลงหญ้าจากเดิม 1 ไร่ เป็น 2 ไร่ คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 สมาชิก จำนวนสมาชิกที่มีอยู่เดิม 20 ราย ได้รับความรู้ทั้งหมดทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 จำนวนสมาชิกใหม่เพิ่มขึ้น 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 25 และกลุ่มอาชีพสามารถให้กลุ่มผู้เลี้ยงแพะนมจากจังหวัดนราธิวาส (กลุ่มกะฮ์ลา) ได้เข้ามาศึกษาดูงานและเสวนากลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จำนวน 1 ครั้ง สำหรับตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์ พบว่า กลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็งมากขึ้นในเรื่องของความรู้การจัดการแปลงหญ้าเพื่อให้แพะมีอาหารหยาบทานได้ตลอดทั้งปี และมีแนวโน้มในการเพิ่มจำนวนแพะให้มากขึ้น กลุ่มอาชีพมีความรู้ในเรื่องการจัดการกลุ่มมากขึ้นในเรื่องของการจัดทำบัญชีฟาร์ม การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ และการใช้ IT เพื่อจัดการฟาร์ม กลุ่มอาชีพได้มีการขยายเครือข่ายทั้งในส่วนของภาครัฐและกลุ่มอาชีพแพะนมในจังหวัดไกล้เคียงอย่างนราธิวาส โดยสามารถที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ในด้านต่างๆ ให้กับผู้สนใจได้ไม่ว่าจะเป็นนักเรียน และผู้สนใจเลี้ยงแพะนมทั่วไป สำหรับปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการให้บริการวิชาการส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื่องของการสื่อสารที่ผู้เข้ารับบริการบางรายไม่สามารถเข้าใจภาษาไทยได้อย่างชัดเจนในบางเรื่อง แต่ทางทีมบริการวิชาการได้จัดวิทยากรที่สามารถสื่อสารภาษายาวีได้ และให้นักศึกษาช่วยงานช่วยสื่อสารเพื่อลดข้อจำกัดในเรื่องนี้ลง ปัญหาอีกอย่างที่เป็นทิศทางในการพัฒนากลุ่มที่สำคัญคือการสร้างกลุ่มให้เข้มแข็งมากขึ้นด้วยการให้กลุ่มไปจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน และในปี พ.ศ. 2561 ทางทีมงานบริการวิชาการจะได้ดำเนินการวางระบบโครงสร้างและการบริหารจัดการให้มีความเข้มแข็งต่อไป เพื่อให้กลุ่มอาชีพมีศักยภาพในการเป็นแหล่งศึกษาดูงานและแหล่งเรียนรู้ได้ในอนาคต

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะนม

สถานที่ บ้านปายอ ต.ท่าสาป อ.เมือง จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี พ.ศ. 2560

รายละเอียด

กิจกรรมอบรมโมเดลธุรกิจ BMC และแผนธุรกิจเบื้องต้น

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนที่มีแผนจะดำเนินธุรกิจ

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี พ.ศ. 2560

รายละเอียด

อบรมให้ความรู้เรื่อง การผลิตและงานสนับสนุนการผลิต

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 21-22 เมษายน 2561

รายละเอียด

โครงการการพัฒนากระบวนการผลิตและผลิตภัณฑ์จากปลาตับเต่า (ปลากระโดด) เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดบ้านตาพะเยา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จากปลาตับเต่า (ปลากระโดด) และปรับปรุงกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐานและและสามารถยืดอายุในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ให้ได้นานยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันของกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดบ้านตาพะเยา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลาน้ำจืดบ้านตาพะเยา  อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา

สถานที่ บ้านตาพะเยา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 1 มกราคม - 30 กันยายน 2562

รายละเอียด

ผลการดำเนินโครงการ ดังรายละเอียดในเอกสาร ตามลิงค์ที่ให้ไว้

กลุ่มเป้าหมาย

ชาวบ้านในชุมชน  ตำบลธารน้ำทิพย์  อำเภอเบตง  จังหวัยะลา

สถานที่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี 2561

รายละเอียด

ผลการดำเนินโครงการ ดังรายละเอียดในเอกสาร ตามลิงค์ที่ให้ไว้

กลุ่มเป้าหมาย

ชาวบ้านในชุมชน  ตำบลธารน้ำทิพย์  อำเภอเบตง  จังหวัยะลา

สถานที่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี 2561

รายละเอียด

ผลการดำเนินโครงการ ดังรายละเอียดในเอกสาร ตามลิงค์ที่ให้ไว้

กลุ่มเป้าหมาย

ชาวบ้านในชุมชน  ตำบลธารน้ำทิพย์  อำเภอเบตง  จังหวัยะลา

สถานที่ ตำบลธารน้ำทิพย์ อำเภอเบตง จังหวัยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี 2562

รายละเอียด

โครงการวิจัย/บริการวิชาการ เรื่อง การพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นของกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านลิมุด เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา กับ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านลิมุด ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นตามความเชี่ยวชาญของกลุ่มและความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย 2) เพื่อบูรณาการพันธกิจกับการเรียนการสอนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ 3) เพื่อสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านลิมุดผลการดำเนินโครงการสามารถพัฒนาหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นได้ทั้งสิ้น 4 ประเภท 6หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรขนมไทย/ขนมพื้นบ้าน 2 หลักสูตร หลักสูตรขนมเบเกอรี่/ขนมอบ 2 หลักสูตร หลักสูตรตัดเย็บผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะ 1 หลักสูตร และหลักสูตรตัดเย็บเสื้อผ้า 1 หลักสูตร จากการพัฒนาหลักสูตรดังกล่าว ผู้ประกอบการกลุ่มสามารถเปิดอบรมหลักสูตรดังกล่าวได้ทั้งสิ้น 21 รุ่น สร้างรายได้ให้แก่กลุ่ม จำนวน 151,010 บาท โดยมีรายได้จากค่าสมัครเรียน 200 บาท และค่าวัสดุอบรม 150 บาท นอกจากนี้ผลจากการบูรณาการการเรียนการสอนในรายวิชาการตลาดดิจิทัลและโครงงานการตลาด 1 ในภาคเรียนที่ 2/2563 โดยให้นักศึกษาฝึก WIL และลงพื้นที่เพื่อการนำศาสตร์ด้านการตลาดและทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการพัฒนาสื่อการตลาดทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ให้แก่กลุ่มใช้ได้อนาคต

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าบ้านลิมุด

สถานที่ ตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ปี 2564 - 2565

รายละเอียด

หลักสูตรมีวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ดังนี้ 1) วิเคราะห์ธุรกิจ และเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มลูกค้าในยุคดิจิตัล 2) เพิ่มช่องทางการขายสินค้าหรือบริการภายในระบบออนไลน์ 3) นำเสนอสินค้าหรือบริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมายผ่านระบบออนไลน์ 4) ค้นหาแหล่งวัตถุดิบที่เหมาะสมผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบกิจการ  หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ

สถานที่ พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ มกราคม 2565