เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมผ่านกิจกรรมค่ายศิลปะวิชาการสร้างสรรค์และเพื่อปลูกฝังทัศนคติและแนวคิดของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างทางวัฒนธรรม

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชน    30  คน

สถานที่ ห้องปฏิบัติการ 10 A 401 และลานกลมอาคารศิลปะ

วันที่ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 7 - 8 กรกฎาคม 2561

รายละเอียด

หลักสูตรการเรียนการสอนศิลปะ มิใช่การมุ่งสร้างศิลปินหรือการสร้างงานที่เป็นเลิศ แต่เป็นการสร้างคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดการพัฒนาตน ทั้งผู้เรียนและผู้สอนผ่านกระบวนการทำงานศิลปะและการสังเกตรับรู้จากผลงานศิลปะรอบๆตัวเรา การเรียนการสอนศิลปะที่เน้นกระบวนการนี้จะช่วยให้เด็กๆ เกิดพัฒนาการในหลายๆด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย ความคิดและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการช่วยฝึกทักษะมือ ตา สัมพันธ์กับการรับรู้ที่ละเอียดอ่อน การสอนศิลปะในยุคหลังสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับการบูรณาการและจินตภาพ ซึ่งต้องอาศัยแนวคิดการมองอย่างองค์รวม ในบริบทของศิลปะเพื่อเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม เป็นการบูรณาการความรู้ เชื่อมโยงกับมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา และสิ่งแวดล้อม ซึ่งการจัดการเรียนรู้หรือเทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบทเรียน และศักยภาพของผู้เรียนเน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์และลงมือปฏิบัติ ที่ผ่านกระบวนการคิดโดยเชื่อมโยงประสบการณ์เดิม สร้างทางเลือกที่เป็นไปได้อย่างหลากหลาย โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนใหญ่ครูผู้สอนไม่ได้จบด้านศิลปะ จึงมีปัญหาด้านการสอนทางด้านศิลปะ อาทิเช่น ครูขาดความรู้ความเข้าใจต่อวิชาศิลปะ เนื่องจาก คุณครูไม่ได้จบศิลปะมาโดยตรง เมื่อถูกภาวะจำเป็นทางโรงเรียนขาดศิลปะ จึงสอนไปตามความคิดและความรู้สึกของตนเองซึ่งส่วนใหญ่มักจะคลาดเคลื่อนไปมากจากศาสตร์ของศิลปะ ซึ่งในการพัฒนาผู้เรียนนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิด การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองอย่างมีศักยภาพ พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่มีความสมบูรณ์ ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ และสังคม การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านศิลปศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนตามหลักของศาสตร์และศิลป์ จะเป็นการปลูกฝังให้เกิดความรู้ สามารถพัฒนาตนเองและร่วมมือกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์ มีศาสตร์ทางศิลปะ ซึ่งมีผลต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นกิจกรรมการเรียนการสอนทางศิลปะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียนโดยตรงทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นในตนเองและแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงเห็นความสำคัญและตระหนักในการแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ความช่วยเหลือแก่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล โดยเฉพาะครูและนักเรียนในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ภายใต้โครงการตามพระราชดำริของพระองค์ “โครงการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา “อันจะส่งผลต่อการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาทักษะด้านการสอนศิลปศึกษาให้แก่ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามแนวพระราชดําริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ ด้านศิลปศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ และพัฒนาลักษณะนิสัยที่ดีพร้อมกันในทุกๆด้านอย่างสร้างสรรค์ 3. เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะพื้นฐาน มีจิตนาการและใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์งานด้านศิลปะ

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียน  จำนวน  44  คน  จากโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ ห้องประชุมบราแง อาคาร 24 สังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ วันที่ 25 - 27 พฤษภาคม 2561

รายละเอียด

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนแนวทางการรักษาความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ 2. เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้และการปฏิบัติงานด้านการรู้รักสามัคคีระหว่างภาคประชาชนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนในพื้นที่สามจังหวัด

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา

วันที่ดำเนินการ 1-10 กุมภาพันธ์ 2562

รายละเอียด

วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน (ผ้าทอ) โดยใช้กระบวนการย้อมสีธรรมชาติจากวัสดุธรรมชาติในท้องถิ่น ๒) เพื่อร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีรูปแบบ ลวดลาย และสีสันที่เป็นเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ประจำกลุ่ม ๓) เพื่อส่งเสริมช่องทางการตลาดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน ๔) เพื่อยกระดับและต่อยอดผลิตภัณฑ์ชุมชนในระดับที่สูงขึ้น มีมาตรฐานคุณภาพ และมีความโดดเด่น อันจะส่งผลให้กลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มทอผ้า    5  กลุ่ม    กลุ่มบาติก    3    กลุ่ม      กลุ่มมัดย้อม    1    กลุ่ม

สถานที่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 1ตุลาคม 2562 -30 กันยายน 2563

รายละเอียด

โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ2565 กิจกรรมที่2.4 พัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้า และเครื่องแต่งกาย จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส มุ่งเน้นการใช้ เส้นใยธรรมชาติ ทั้งไหมพื้นบ้าน พันธุ์นางน้อย ฝ้ายเข็นมือ ในการ ถักทอและใช้กระบวนการย้อมสี ธรรมชาติจากพืชพื้นถิ่น สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมไปถึง การนำสีธรรมชาติมาสร้างสรรค์ เป็นผลงานโดยใช้แนวคิดหลักจาก หนังสือ Thai Textiles Trend Book

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส

สถานที่ จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ

รายละเอียด

การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสิ่งทอ (Textile art) เทคนิคสื่อผสม โดยการปะเย็บต่อผ้า ย้อม ระบายสี จากสีสกัดจากธรรมชาติในท้องถิ่น ซึ่งเป็นการลดการใช้สารเคมีที่อัตรายและตกค้างเป็น มลพิษให้กับโลก ผสมกับเทคนิคการตัดเย็บถักทอต่อผ้าร่วมกันในผืนผ้านั้น เพื่อสร้างร่องรอยในพื้นผิว ที่น่าสนใจอย่างแตกต่างให้มากขึ้น นอกจากนี้ผู้สร้างสรรค์ยังต้องการให้เกิดมุมมองของการใช้เศษวัสดุ ผ้าที่เหลือ มาจัดสรรความงามเข้าไปใหม่อย่างรู้คุณค่าในชิ้นผลงานสร้างสรรค์ เพื่อเป็นตัวอย่างผลงาน ต้นแบบ ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกชุมชน กลุ่มบาติก บ้านบือแน ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผู้วิจัยสร้างสรรค์ได้เข้าไปมีส่วนร่วมใน การพัฒนาการออกแบบลวดลาย และการย้อมสีธรรมชาติในเบื้องต้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยผู้ สร้างสรรค์ได้นำเทคนิคและรูปแบบในการทำงานครั้งนี้ ไปแนะนำแนวทางในการสร้างสรรค์ให้กับแกน นำกลุ่มบาติกบ้านบือแน ได้นำไปเสริมใช้พัฒนารูปแบบผลงาน และการทำงานที่หลากหลาย เพื่อเป็น ทางเลือกให้กับลูกค้าของกลุ่มมากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มบาติกบ้านบือแน  ตำบลบุดี  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

สถานที่ กลุ่มบาติกบ้านบือแน ตำบลบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 27 มิ.ย. 2564

รายละเอียด

วัตถุประสงค์ 1. เพื่อพัฒนาการบูรณาการองค์ความรู้ทางการวิจัยกับการบริการวิชาการเพื่อสร้างรายได้แก่ชุมชน 2. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแหล่งพึ่งพิงของชุมชนในท้องถิ่น 2.ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม เป้าหมาย ▪ เชิงปริมาณ - ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับ จำนวน 9 ผลิตภัณฑ์ - ผลิตเส้นไหมเพื่อจัดจำหน่ายอย่างน้อย 1 แหล่งที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ▪ เชิงคุณภาพ - จำนวนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้ได้มาตรฐาน อย่างน้อย 1 ระดับ - จำนวนแปลงปลูกหม่อนไหมเลี้ยงไหมที่ได้มาตรฐานตามกรมหม่อนไหม จำนวน 1 แปลง ตัวชี้วัดความสำเร็จ ( ระดับผลผลิต ระดับผลิตลัพธ์ และระดับผลกระทบ ) ตัวชี้วัดผลผลิต - จำนวนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสได้รับการพัฒนาอย่างน้อย 3 ผลิตภัณฑ์ ต่อจังหวัด 9 ผลิตภัณฑ์ - จำนวนเส้นไหมที่ผลิตได้จากการส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ -จำนวนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ในพื้นที่จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาสที่ได้รับการยกระดับอย่างน้อย 1 ระดับ 3 ผลิตภัณฑ์ต่อจังหวัด 9 ผลิตภัณฑ์ ตัวชี้วัดผลกระทบ - ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกาย ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการพัฒนาและยกระดับให้มาตรฐานและคุณภาพที่สูงขึ้น 9 ผลิตภัณฑ์

กลุ่มเป้าหมาย

เป้าหมาย
▪ เชิงปริมาณ
- ผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับ  จำนวน  9  ผลิตภัณฑ์                    
- ผลิตเส้นไหมเพื่อจัดจำหน่ายอย่างน้อย  1  แหล่งที่ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
▪ เชิงคุณภาพ
- จำนวนผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายในพื้นที่ได้รับการพัฒนาและยกระดับให้ได้มาตรฐาน  อย่างน้อย  1  ระดับ    
- จำนวนแปลงปลูกหม่อนไหมเลี้ยงไหมที่ได้มาตรฐานตามกรมหม่อนไหม  จำนวน  1  แปลง

สถานที่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565

รายละเอียด

วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.เพื่อส่งเสริมให้ทักษะในการจัดการแปลงปลูกหม่อน 2.เพื่อส่งเสริมให้มีทักษะในการเลี้ยงไหม 3.เพื่อส่งเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร 4.เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทั่วไป ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏเป็นแหล่งพึ่งพิงของชุมชนในท้องถิ่น 2.ผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการสามารถใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

กลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ  พระบรมราชินีนาถ  บ้านไม้แก่น
ตำบลไม้แก่น  อำเภอไม้แก่น  จังหวัดปัตตานี    20  คน

สถานที่ ฟาร์มตัวอย่างในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บ้านไม้แก่น ตำบลไม้แก่น อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2565 -30 กันยายน 2566

รายละเอียด

คณะทีมงานศูนย์ศิลปวัฒนธรรม ลงพื้นที่ดำเนินโครงการส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทุนทางวัฒนธรรม กิจกรรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางศิลปวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเก็บข้อมูลพืชพื้นถิ่นที่จะนำมาย้อมสีเส้นไหมและจัดทำร่างต้นแบบลวดลายผ้าและผลิตภัณฑ์ ณ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสายบน ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

กลุ่มเป้าหมาย

ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสายบน  ตำบลกาหลง  อำเภอศรีสาคร  จังหวัดนราธิวาส

สถานที่ ศูนย์ศิลปาชีพบ้านสายบน ตำบลกาหลง อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 1 ตุลาคม 2565 -30 กันยายน 2566

รายละเอียด

ด้วยกองกํากับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 ค่ายพญาลิไท กำหนดจัดโครงการอบรมพัฒนาทักษะด้านการสอนศิลปศึกษาให้แก่ครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ณ ห้อง 10 A- 202 และ 10A - 203 อาคารศิลปกรรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา ระหว่างวันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2566 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และกระบวนการเรียนการสอนศิลปะที่เน้นการพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์ และพัฒนาศักยภาพในหลากหลายมิติแก่ครูของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มเป้าหมาย

ครู  ตชด  12  โรงเรียน

สถานที่ อาคารศิลปะ

วันที่ดำเนินการ 19 -20 สิงหาคม 2566