เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

วรรณคดีพื้นบ้านประเภทนิทานพื้นบ้านที่แพร่กระจายอยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ได้มีการบันทึกไว้และไม่ได้บันทึกไว้ ประกอบไปด้วยนิทานมุขตลก นิทานคติ นิทาน เทพนิยาย นิทานประจำท้องถิ่น นิทานชีวิต และนิทานเรื่องสัตว์ เป็นต้น จากรายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างนิทานพื้นบ้านไทยมุสลิมภาคใต้ตามทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมีร์ พรอพพ์ (2546) ของกิตสุรางค์ กาฬสุวรรณ พบว่ามีมากกว่า 300 เรื่อง นิทานหลายเรื่องมีเนื้อหาที่อธิบายสภาพสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากศูนย์กลางของประเทศไทย และกลุ่มประเทศมลายู นอกจากนี้เนื้อหาและโครงสร้างของนิทานหลายเรื่องยังมีความเหมาะสมกับวัยของเยาวชนในระดับการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การอ่านหรือชมการแสดงนิทานพื้นบ้านของเยาวชน จึงถือเป็นการเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นโดยอ้อม ผ่านทางอรรถรสของวรรณคดี เพราะนิทานพื้นบ้านถือเป็นวรรณคดีพื้นบ้านประเภทหนึ่ง การจัดกิจกรรมบริการวิชาการด้วย การนำองค์ความรู้เรื่อง การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ นิทานพื้นบ้านสู่โรงเรียนในรูปแบบการสาธิตกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและกิจกรรมการแสดงละคร จึงเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องวรรณคดีพื้นบ้านที่จะเกิดประโยชน์ต่อสถานศึกษาในท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เรื่องของท้องถิ่น ซึ่งโรงเรียนในท้องถิ่นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการที่จะให้หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยได้ให้บริการวิชาการในเรื่องนี้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านนิทานพื้นบ้านชายแดนใต้ข้างต้น สามารถจัดได้ในรูปแบบกิจกรรมรักการอ่านรักการเล่า (ประกอบด้วยกิจกรรมการอ่านและเล่าเรื่องจากการอ่าน รวมทั้งการประยุกต์การอ่านกับกิจกรรมละครนักอ่าน (reader theatre) ที่นักเรียนเป็นทั้งผู้อ่าน ผู้เล่า และผู้แสดง) อันจะเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในเรื่องนิทานพื้นบ้านควบคู่ไปกับการส่งเสริมทักษะการอ่านให้แก่เยาวชนชายแดนใต้ซึ่งมีปัญหาการอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ในอัตราสูง การจัดกิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือกิจกรรมการแสดงละครพื้นบ้านแบบเต็มรูปที่ต่างไปจากละครนักอ่าน ในขณะที่ละครนักอ่านเป็นกิจกรรมการละครที่เน้นท่าทางและเรือนร่างของผู้แสดงมากกว่าฉากและวัสดุประกอบการแสดง ละครแบบเต็มรูปก็จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบอื่นๆ ของการละครโดยสมบูรณ์ กิจกรรมทั้งสองประการดังกล่าวถือเป็นการสาธิตแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน และถือเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเชิงปฏิบัติการ เพื่อหวังผลให้สถานศึกษาได้มีแบบอย่างและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานศึกษาและชุมชนใกล้เคียงได้ในวาระต่อไป อนึ่งหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาวรรณคดีท้องถิ่น , รายวิชาการอ่านเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ และรายวิชาการจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก ที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมดังกล่าว การจัดกิจกรรมเผยแพร่นิทานพื้นบ้านสู่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้พัฒนานักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ถือเป็นการบูรณาการการบริการวิชาการกับวิชาเรียนในอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ การจัดโครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยในปี 2560 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 300 คน จากโรงเรียน 4 แห่ง เกินเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 200 คน ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมาก 4.28 คิดเป็นร้อยละ 85.60 และในปี 2561 มีนักเรียนเข้าร่วมโครงการ 364 คน จากโรงเรียน 4 แห่ง เกินเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 200 คน ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมาก 4.58 คิดเป็นร้อยละ 91.60 และจากการติดตามนำงานบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์หรือผลกระทบต่อชุมชน พบว่าโรงเรียนได้นำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการไปจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในโรงเรียนอีกด้วย นับได้ว่าโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ และควรเผยแพร่องค์ความรู้แก่โรงเรียนอื่นในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนในจังหวัดยะลา

สถานที่ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park)

วันที่ดำเนินการ 5 ตุลาคม 2562

รายละเอียด

โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา กิจกรรม “พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยในการวิเคราะห์โจทย์ O-NET ป.6” เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ด้วยการฝึกอบรมการวิเคราะห์โจทย์ O-NET วิชาภาษาไทย ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การฝึกวิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย” 2. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การฝึกวิเคราะห์ผลการประเมินการทดสอบ O-NET ป.6 และวิเคราะห์โจทย์ข้อสอบ O-NET” 3.กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “เทคนิคการติวข้อสอบและการวิเคราะห์โจทย์ O-NET อย่างมืออาชีพ” การดำเนินโครงการ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยและมีทักษะด้านการรู้หนังสือ และให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมโครงการจำนวน 88 คน การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.56 คิดเป็นร้อยละ 91.20 นับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี และครูมีองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโรงเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ ณ ห้องประชุมหลานซา ชั้น 5 อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 14-15 ธันวาคม 2562

รายละเอียด

โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา กิจกรรม “พัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยในการวิเคราะห์โจทย์ PISA” เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อ ด้วยการฝึกอบรมการวิเคราะห์โจทย์ PISA ให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การฝึกวิเคราะห์มาตรฐาน และตัวชี้วัดในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย” 2. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การฝึกวิเคราะห์โจทย์ PISA” 3.กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “เทคนิคการติวข้อสอบและการวิเคราะห์โจทย์ PISA อย่างมืออาชีพ” การดำเนินโครงการ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยและมีทักษะด้านการรู้หนังสือ และให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมโครงการจำนวน 87 คน การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85 นับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี และครูมีองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโรงเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สถานที่ ณ ห้องประชุมนังกา ชั้น 3 อาคารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 21 - 22 ธันวาคม 2562

รายละเอียด

โครงการส่งเสริมและเผยแพร่ความจริงที่ถูกต้องเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา กิจกรรม “กิจกรรมพัฒนาศักยภาพครูภาษาไทยที่สอนไม่ตรงสาระ” เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัดหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกอบรมเทคนิคการสอนภาษาไทย ให้แก่ครูที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีกิจกรรมสำคัญในโครงการ ดังนี้ 1. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ “การสร้างสรรค์วิธีการสอนหลักภาษาไทยภาษาไทยแบบ Active learning เพื่อความสุขสนุกสนาน ในชั้นเรียน” 2. กิจกรรมฝึกปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ “การสอนวรรณคดีไทยระดับประถมศึกษาด้วยเทคนิค PBL” 3.กิจกรรมฝึกปฏิบัติ ฝึกปฏิบัติ “การนำหลักสูตรภาษาไทยสู่การปรับประยุกต์ใช้ในชั้นเรียน” การดำเนินโครงการ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้พัฒนาศักยภาพในการจัดการเรียนการสอน ความสามารถด้านการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความสามารถด้านภาษาการอ่านออกเขียนได้ภาษาไทยและมีทักษะด้านการรู้หนังสือ และให้มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีครูในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วมโครงการจำนวน 78 คน การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.40 นับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เป็นอย่างดี และครูมีองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในโรงเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของนักเรียนต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้

สถานที่ ณ ห้องประชุมหลานซา ชั้น 5 อาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 18 - 19 มกราคม 2563

รายละเอียด

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ Science and Mathematics Program : SMP เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทักษะภาษาไทยของนักเรียน ให้สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ ทั้งทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน โดยเน้นการสื่อสารในชีวิตประจำวันได้

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษ  Science  and  Mathematics  Program  :  SMP

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 24-27 มิถุนายน 2562

รายละเอียด

วรรณคดีพื้นบ้านประเภทนิทานพื้นบ้านที่แพร่กระจายอยู่ในสังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งที่ได้มีการบันทึกไว้และไม่ได้บันทึกไว้ ประกอบไปด้วยนิทานมุขตลก นิทานคติ นิทาน เทพนิยาย นิทานประจำท้องถิ่น นิทานชีวิต และนิทานเรื่องสัตว์ เป็นต้น จากรายงานการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างนิทานพื้นบ้านไทยมุสลิมภาคใต้ตามทฤษฎีโครงสร้างนิทานของวลาดิมีร์ พรอพพ์ (2546) ของกิตสุรางค์ กาฬสุวรรณ พบว่ามีมากกว่า 300 เรื่อง นิทานหลายเรื่องมีเนื้อหาที่อธิบายสภาพสังคมและวัฒนธรรม รวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ของท้องถิ่น ตลอดจนมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมจากศูนย์กลางของประเทศไทย และกลุ่มประเทศมลายู นอกจากนี้เนื้อหาและโครงสร้างของนิทานหลายเรื่องยังมีความเหมาะสมกับวัยของเยาวชนในระดับการศึกษาต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การอ่านหรือชมการแสดงนิทานพื้นบ้านของเยาวชน จึงถือเป็นการเรียนรู้เรื่องราวของท้องถิ่นโดยอ้อม ผ่านทางอรรถรสของวรรณคดี เพราะนิทานพื้นบ้านถือเป็นวรรณคดีพื้นบ้านประเภทหนึ่ง การจัดกิจกรรมบริการวิชาการด้วย การนำองค์ความรู้เรื่อง การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่ นิทานพื้นบ้านสู่โรงเรียนในรูปแบบการสาธิตกิจกรรมส่งเสริมการอ่านและกิจกรรมการแสดงละคร จึงเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องวรรณคดีพื้นบ้านที่จะเกิดประโยชน์ต่อเยาวชนในท้องถิ่นจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เรื่องของท้องถิ่น การจัดการแสดงละครพื้นบ้าน ถือเป็นการสาธิตแนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน และถือเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ในเชิงปฏิบัติการ เพื่อหวังผลให้สถานศึกษาได้มีแบบอย่างและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานศึกษาและชุมชนใกล้เคียงได้ในวาระต่อไป อนึ่งหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ได้แก่วิชาวรรณกรรมท้องถิ่น, วิชาการจัดทำหนังสือนิทานสำหรับเด็ก, วิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์, วิชาภาษาต่างประเทศในภาษาไทย, และวิชาคติชนวิทยา ที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมดังกล่าว การจัดกิจกรรมเผยแพร่นิทานพื้นบ้านสู่สถานศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ได้พัฒนานักศึกษาผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ถือเป็นการบูรณาการการบริการวิชาการกับวิชาเรียนในอีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ การจัดโครงการนำองค์ความรู้เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และเผยแพร่วรรณคดีพื้นบ้าน” สู่ชุมชน ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และถือได้ว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมาก และจากการติดตามนำงานบริการวิชาการไปใช้ประโยชน์หรือผลกระทบต่อชุมชน พบว่าเยาวชนได้รู้จักวรรณคดีพื้นบ้านของตนเองเพิ่มขึ้น สถานศึกษาหรือองค์กรที่เกี่ยวช้องให้ความสำคัญกับวรรณคดีพื้นบ้านเพิ่มขึ้น เป็นต้นว่าอุทยานการเรียนรู้ยะลาได้จัดทำโครงการ พลังนักอ่าน Reader Power ประจำปี 2562 ขึ้นโดยกำหนดให้มีการนำวรรณคดีพื้นบ้านไปบูรณาการกับกิจกรรมดังกล่าว นับได้ว่าโครงการได้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการตามที่ได้กำหนดไว้ และควรเผยแพร่องค์ความรู้ดังกล่าวในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

เยาวชนในจังหวัดยะลา

สถานที่ อุทยานการเรียนรู้ยะลา (TK Park)

วันที่ดำเนินการ 31 ตุลาคม 2563

รายละเอียด

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ดำเนินการจัดโครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน (O-NET) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับความร่วมมือจากหลักสูตรคณิตศาสตร์ และหลักสูตรวิทยาศาสตร์ทั่วไป จากคณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเกษตร หลักสูตรภาษาไทย (ค.บ.) และหลักสูตรภาษาอังกฤษ (ค.บ.) จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และหลักสูตรการประถมศึกษา จากคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทั้งนี้กิจกรรมภายในโครงการจะประกอบไปด้วย กิจกรรมบริหารจัดการเพื่อระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (O-NET) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน (O-NET Camp Camp) โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 กลุ่มสาระวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ กิจกรรมยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ จากมาตรฐานตัวชี้วัดสู่การจัดการเรียนรู้ กิจกรรมกิจกรรมพัฒนาแหล่งเรียนรู้โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 44 และกิจกรรมพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance Learning Television : DLTV) โดยพันธกิจที่สำคัญของโครงการดังกล่าว เป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อพัฒนาครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งการอบรมครู จะจัดขึ้นทั้งหมด 5 ครั้ง เริ่มตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ 2563 และติวข้อสอบให้กับนักเรียน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2563 ถึงวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ 2564 ทั้งนี้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนตระเวนชายแดนจังหวัดชายแดนภาคใต้

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและนักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ การอบรมครูและนักเรียน วิชาภาษาไทย ดำเนินการในวันที่ 21-27 พฤศจิกายน 2563

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง นวัตกรรมละครสร้างสรรค์

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่  3  จังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ รูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Meet

วันที่ดำเนินการ 28-29 สิงหาคม 2564

รายละเอียด

โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนา ท้องถิ่น โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อพัฒนาท้องถิ่น กิจกรรมที่ : 3.1.5 อบรมยกระดับผลการ ทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) โรงเรียนจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ครูและ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6) กลุ่มสาระวิชา : ภาษาไทย ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยมี วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาให้กับโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน O-NET ที่สูงขึ้น กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มโรงเรียนใน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในพื้นที่สามา จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ดำเนินการจัดติว O-NET ในรูปแบบออนไลน์ ให้กับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5-6 เมื่อวันที่ 13 – 17 ธันวาคม 2565 โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 645 คน เป็น นักเรียนจาก 19 โรงเรียน และได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมการติวออนไลน์ของ นักเรียน โดยมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 374 คน สำหรับผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 91.05

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  5-6  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดชายแดนภาคใต้  กลุ่มโรงเรียนใน
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ ในรูปแบบออนไลน์

วันที่ดำเนินการ 13-17 ธันวาคม 2564

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการ เรื่อง พัฒนาเทคนิคการสอนภาษาไทยเพื่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สาระการเรียนรู้ภาษาไทย (งานวิจัยและบริการวิชาการ) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการวิชาการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาไทยโดยมุ่งยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

กลุ่มเป้าหมาย

ครูผู้สอน  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์  ๔๑  จังหวัดยะลา  อำเภอรามัน  จังหวัดยะลา

สถานที่ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๔๑ จังหวัดยะลา อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 21-22 พฤษภาคม 2565