เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

การยืดอายุการเก็บรักษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเครื่องแกงให้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านต้นโตนด อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการและวิสาหกิจชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเครื่องแกงบ้านต้นโตนด อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2562-2563

รายละเอียด

ปัจจุบันรัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งและพึ่งตอนเองได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความหลากหลายของพหุวัฒนธรรม มีการพัฒนายกระดับเศรษฐกิจฐานรากในโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ทั้งนี้ประชากรในพื้นที่ประกอบอาชีพทางการเกษตร ส่วนใหญ่ทำสวนยาง เมื่อมีราคายางพาราตกต่ำทำให้ขาดรายได้และคุณภาพชีวิตไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้เกิดผู้ประกอบการทางด้านอาหารใหม่และเครื่องแต่งกายประเภทผ้าเกิดขึ้นเพื่อประกอบอาชีพเสริมโดยผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางอาหารซึ่งผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะทั้งสถานที่ตั้งของผลิตและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง จึงส่งผลต่อการเสื่อมเสียของอาหาร อาหารซึ่งผู้ประกอบการยังขาดองค์ความรู้ในการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับกระบวนการผลิตที่ถูกสุขลักษณะทั้งสถานที่ตั้งของผลิตและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ถูกสุขลักษณะทั้งสถานที่ตั้งของผลิตและการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้อง จึงส่งผลต่อการเสื่อมเสียของอาหารระหว่างการจำหน่ายและผลิตภัณฑ์ไม่มีคุณภาพ ขณะที่เครื่องแต่งกายประเภทผ้าขาดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขาดการพัฒนาลวดลาย รวมทั้งทางการตลาด สถาบันการศึกษาให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาทำให้ประชาชนใช้ทรัพยากรในพื้นที่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างอาชีพใหม่ๆ ทางเครื่องแต่งกายประเภทผ้า โดยนำผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเด่นภายในพื้นที่ ได้แก่ กล้วยหินทอด ลูกหยีกวน และผ้าบาเตะ เป็นต้น แต่ขาดคุณภาพความสม่ำเสมอของผลิตภัณฑ์ทำการพัฒนาและส่งเสริมการผลิต ยกระดับตามความเหมาะสมของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การมีวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนา บรรจุภัณฑ์ การพัฒนาระบบคุณภาพของผลิตภัณฑ์และการพัฒนาโดยการยืดอายุการเก็บรักษา ตลอดจนการจัดช่องทางจัดจำหน่ายที่หลากหลายและเข้าถึงกลุ่มลูกค้า ผ่านการให้ความรู้และการคัดสรรพัฒนาตามความต้องการและความเป็นไปได้ของผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาสินค้าให้มีคุณภาพและยกระดับผลิตภัณฑ์ อันจะก่อให้เกิดอาชีพและรายได้ที่มั่นคงยั่งยืนต่อไป นอกจากนั้นการพึ่งตนเองทางด้านพลังงานก็เป็นช่องทางหนึ่งในการลดรายจ่ายครัวเรือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้มูลสัตว์มาใช้ในการผลิตแก๊สชีวภาพ เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทนแก๊สหุงต้มในครัวเรือนและใช้เป็นพลังงานทดแทนสำหรับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อีกทางหนึ่งด้วย บอกจากนั้นสามารถนำกากตะกอนของบ่อหมักแก๊สชีวภาพมาใช้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์อัดเม็ดเพื่อใช้สำหรับการเกษตรและจัดจำหน่าย ส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง ตลอดจนสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากโครงการดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าหากมีการส่งเสริมกระบวนการจัดการของทรัพยากรของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพทั้งด้านการท่องเที่ยว การส่งเสริมผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่คุณภาพของวัตถุดิบ (ต้นน้ำ) มาตรฐานของผลิตภัณฑ์ (กลางน้ำ) และช่องทางการจัดจำหน่าย (ปลายน้ำ) ตลอดจนการส่งเสริมทางด้านพลังงานทดแทนและปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน ก็สามารถส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการพึ่งพาตนเอง มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิดปรัชญาพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช อันจะนำไปสู่ความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2561

รายละเอียด

โครงการบริการวิชาการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ส้มแขกของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่า สาป ได้รับทุนจากงบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปี 2558 – 2561 รวมเป็นระยะเวลา 4 ปี โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เดียวคือ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าสาป ซึ่งเป็นกลุ่มที่ผลิตส้มแขกแช่อิ่มอบแห้งที่มีความเข้มแข็งระดับ หน่ึง คือ มีอาคารผลิตและอาคารเก็บวัตถุดิบที่ได้มาตรฐาน มีวัสดุอุปกรณ์ท่ีเหมาะสมและเพียงพอในการ ผลิตผลิตภัณฑ์ส้มแขกแช่อิ่มอบแห้งผลิตภัณฑ์ของทางกลุ่มได้รับเครื่องหมายมาตรฐานหลายอย่าง เช่น ฮาลาล, GMP และ มผช. จัดเป็นกลุ่มที่มีผลการดําเนินการที่เข้มแข็งระดับหน่ึง แต่ทางกลุ่มแม่บ้านท่า สาปยังต้องการพัฒนาที่ต่อเนื่อง โดยต้องการผลิตผลิตภัณฑ์จากส้มแขกที่หลากหลายชนิดมากขึ้น โดย คณะกรรมการดําเนินการได้ทําการวิจัย และนําความรู้จากการวิจัยมาอบรมให้กลุ่มแม่บ้านแล้ว 3 ชนิด คือ น้ําส้มแขกเข้มข้น น้ําพริกเผาส้มแขก และส้มแขกสามรส รวมทั้งมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้กับกลุ่ม แม่บ้านด้วย ในปี 2561 ทางโครงการได้นําผลิตภัณฑ์จากส้มแขกที่ได้จากงานวิจัยมาอบรมให้กับกลุ่ม แม่บ้านอีก 4 ชนิด คือ นํ้าพริกนรกส้มแขก แยมส้มแขก น้ําจ้ิมไก่ส้มแขก และชาส้มแขก เพ่ือมุ่งหวังว่า กลุ่มแม่บ้านจะสามารถนําไปผลิตเชิงการค้าเพื่อเพิ่มรายได้ต่อไป จึงเป็นการบูรณาการการวิจัยกับการ บริการวิชาการ ซึ่งเป็นสองในสี่ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย และเป็นการผลักดันให้กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านท่าสาป มีการดําเนินการท่ีก้าวหน้าและสามารถเป็นกลุ่มชุมชนต้นแบบให้กับชุมชนอื่นได้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าสาป

สถานที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านท่าสาป

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2558-2561

รายละเอียด

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ (ข้าวบุดี) ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา มีอาชีพหลัก คือ การกรีดยาง แต่เนื่องจากยางมีราคาถูก ทำให้ชาวบ้านหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 8 ต.บุดี อ.เมือง จ.ยะลา รวมตัวกันเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ (ข้าวบุดี) และหันมาปลูกข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ คือ ข้าวพันธุ์มือลอ และข้าวพันธุ์เลือดปลาไหล ซึ่งมีการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้บริโภคในพื้นที่ เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าข้าวขาวทั่วไป รวมทั้งมีวิตามินต่าง ๆ ซึ่งหลายหน่วยงานได้ให้การส่งเสริมการผลิตข้าวพื้นเมืองมากขึ้น กลุ่มจึงได้เริ่มขยายกิจกรรมจากการขายข้าวสารเพียงอย่างเดียวเป็นการผลิตสินค้าแปรรูปจากข้าวที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางในการเพิ่มมูลค่าให้ข้าวพื้นเมือง เพิ่มศักยภาพและอำนาจต่อรองของกลุ่มให้มีมากยิ่งขึ้น กล่าวคือการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์แปรรูปข้าวเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ เป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า และยกระดับเกษตรกรไทยและผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดเพื่อเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจในระดับสากล ปัจจุบัน กลุ่มได้แปรรูปข้าวพันธุ์มือลอเป็นน้ำนมข้าวกล้อง โดยการลองผิดลองถูก ไม่มีหน่วยงานเข้าไปช่วยเหลือ และจากการขายผลิตภัณฑ์ “น้ำนมข้าวกล้อง” พบว่า ผู้บริโภคตอบรับเป็นอย่างดี มียอดสั่งจองเพิ่มขึ้น กลุ่มจึงเห็นแนวทางในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีก โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ข้าวพันธุ์เลือดปลาไหลเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่พบเฉพาะถิ่นนี้ เมื่อหุงแล้วจะมีลักษณะแข็ง ผู้บริโภคจึงไม่นิยมรับประทาน ส่วนใหญ่มักหุงและผสมกับข้าวพันธุ์อื่นเพื่อทำข้าวยำ แต่เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการโดดเด่น คือ คนที่มีอาการปวดข้อเมื่อกินข้าวพันธุ์นี้แล้ว อาการปวดจะลดลง และจากการศึกษาข้อมูลข้าวพันธุ์นี้ยังไม่มีการรายงานคุณค่าทางโภชนา การนำข้าวพันธุ์ “เลือดปลาไหล” มาแปรรูปจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถเพิ่มมูลค่าข้าวได้ กลุ่มจึงต้องการให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าไปช่วยเหลือ โดยคาดหวังว่าในอนาคตกลุ่มจะมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยที่ผู้บริโภคก็จะมีทางเลือกผลิตภัณฑ์แปรรูปที่หลากหลายมากขึ้นเช่นเดียวกัน นอกจากผลิตภัณฑ์ข้างต้นแล้ว ข้าวตังซึ่งเป็นอาหารว่างชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมทางอาหารของไทย จนสมัยปัจจุบันข้าวตังก็ยังได้รับความนิยมและสามารถปรับสูตรให้มีความหลากหลายตอบโจทย์ผู้บริโภค เช่น ข้าวตังหน้าตั้ง ข้าวตังเมี่ยงลาว ฯลฯ (พงษ์ศักดิ์ ทรงพระนาม, 2556) และผลิตภัณฑ์อีกหนึ่งชนิดที่ขึ้นชื่อ คือ ข้าวยำใบยอ ซึ่งนิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า มีส่วนประกอบหลักได้แก่ ข้าวสวย ปลาคั่ว น้ำบูดู และผักเคียง คือ ใบยอ มีงานวิจัยที่พบว่า ใบยอเป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ โดยเฉพาะมีปริมาณแคลเซียมสูงถึง 469 มิลลิกรัม ต่อใบยอน้ำหนัก 100 กรัม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการแคลเซียมของร่างกายมนุษย์ วันละ 800 - 1200 มิลลิกรัม ดังนั้น การรับประทานใบยอต้มสุก จำนวน 1 ถ้วย (น้ำหนักใบยอประมาณ 150 กรัม) จึงค่อนข้างครบถ้วนตามที่ร่างกายมนุษย์ต้องการในแต่ละวัน นอกจากมีปริมาณแคลเซียมสูงแล้ว ใบยอยังมีวิตามินเอในรูปของเบต้าแคโรทีนสูงเช่นเดียวกัน คือ ประมาณ 407 มิลลิกรัม ต่อใบยอน้ำหนัก 100 กรัม นอกจากนี้ ยังพบวิตามินชนิดอื่นรวมถึงวิตามินซี (Ascorbic acid) และฟอสฟอรัส (วันดี กฤษณพัน, 2538) ส่วน “บูดูตูมิฮ” หมายถึง อาหารคาวที่มีลักษณะกึ่งแข็งกึ่งเหลว นิยมรับประทานกันในกลุ่มมุสลิมภาคใต้ เป็นเครื่องเคียง หรือ เป็นน้ำปรุงรสในข้าวยำอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งหายากในปัจจุบันและมีเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่านั้น โดยมีวัตถุดิบในการผลิตหลายชนิด ได้แก่ น้ำ บูดู น้ำกะทิสด มะขามเปียก น้ำตาลแว่น พริกแห้งดอกใหญ่ กระเทียม เป็นต้น ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะนำ “บูดูตูมิฮ” มาผสมผสานกับข้าวตังทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีรสชาติอร่อย สะดวกในการรับประทาน และเป็นการเผยแพร่อาหารที่อัตลักษณ์ของสามจังหวัดให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายอีกผลิตภัณฑ์หนึ่ง จากข้อมูลที่ผู้เสนอโครงการและผู้ร่วมโครงการได้สำรวจไว้ข้างต้น สรุปได้ว่า กลุ่มผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองทั้ง 5 กลุ่ม จากจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส มีความต้องการเทคโนโลยีเพื่อแปรรูปข้าวพันธุ์พื้นเมืองจำนวน 6 สายพันธุ์ ได้แก่ (1) มะจานู (2) เจะบิเดาะ (3) เล็บนกปัตตานี (4) จือดานอ (5) เลือดปลาไหล และ (6) ซีบูกันตัง ให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หลายรูปแบบภายใต้โครงการ “พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อแปรรูปข้าวพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ชายแดน” เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณประจำปี 2562 จากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สป.วท.) ซึ่งประสานงานโดย คลินิกเทคโนโลยี ฝ่ายพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (คลินิกเทคโนโลยี ฯ ม.อ.) ในการดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการตั้งแต่กระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) ที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ปลูกข้าว ฯ ดังกล่าว ให้สมาชิกของแต่ละกลุ่มได้ร่วมคิดร่วมทำในทุกกระบวนการตั้งแต่กระบวนการผลิต/การแปรรูป การคิดต้นทุน การบรรจุภัณฑ์ และกระบวนการจำหน่ายหรือการตลาด เป็นต้น จนสามารถใช้ประกอบอาชีพจริงในชีวิตประจำวันได้สามารถบูรณาการกับกิจกรรมในท้องถิ่น เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ฯ ทั้งในและนอกพื้นที่ สามารถเชิญชวนให้ผู้สนใจทั้งรุ่นผู้ใหญ่และเยาวชนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการขยายผลการใช้ วทน.เพื่อเพิ่มมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคชื่นชอบรวมทั้งการขยายตลาด และการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับทั้งด้านคุณค่าทางโภชนาการและคุณค่าทางจิตใจที่ล้วนมีเรื่องราวจนกลายเป็นสินค้าอัตลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ได้ สร้างความภาคภูมิใจให้กลุ่มคนในพื้นที่ซึ่งสามารถส่งผลให้เกิดการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นเมืองให้คงอยู่เพื่อเป็นมรดกของลูกหลานอย่างสืบเนื่องต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ  บ้านบุดี  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

สถานที่ กลุ่มเกษตรกรปลูกข้าวพื้นเมืองปลอดสารพิษ บ้านบุดี อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2562

รายละเอียด

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงานและแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้กระแสโลกยุคดิจิตอลเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อธุรกิจ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการชุมชน ควรสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การพัฒนาช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองและใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะหน่วยงานทางวิชาการ มีพันธกิจเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศ จึงมีหน้าที่โดยตรงในการสนับสนุนองค์ความรู้และขับเคลื่อนให้เกิดการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันติ  2  ตำบลแม่หวาด  อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา

สถานที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันติ 2 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2563

รายละเอียด

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้มีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พัฒนาฝีมือแรงงานและแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้กระแสโลกยุคดิจิตอลเป็นความท้าทายที่ผลักดันให้ผู้ประกอบการอาหารต้องเรียนรู้และปรับตัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อธุรกิจ การเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการชุมชน ควรสร้างนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สร้างคุณค่าให้กับผู้บริโภค พัฒนารูปแบบของบรรจุภัณฑ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้รับการรับรองมาตรฐาน การพัฒนาช่องทางการตลาดในการกระจายสินค้า โดยมีเป้าหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งพาตนเองและใช้ทรัพยากรภายในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะหน่วยงานทางวิชาการ มีพันธกิจเพื่อพัฒนาท้องถิ่นและตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนประเทศ จึงมีหน้าที่โดยตรงในการสนับสนุนองค์ความรู้และขับเคลื่อนให้เกิดการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันติ  2  ตำบลแม่หวาด  อำเภอธารโต  จังหวัดยะลา  และกลุ่มขยายผล

สถานที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสันติ 2 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ ตลอดปีงบประมาณ 2564

รายละเอียด

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 65 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และคณะวิจัย ลงพื้นที่เพื่อบริการวิชาการผลิตภัณฑ์ส้มแขก ให้กับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร อ.ยะหา จ.ยะลา ในการอบรมเชิงปฏิบัติการในการผลิตส้มแขกกวนรสน้ำผึ้ง ส้มแขกกวนผสมสมุนไพร และเครื่องดื่มส้มแขกพลังงานต่ำ ซึ่งเป็นการการงานวิจัยนำไปสู่การบริการวิชาการ เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในพื้นที่สามารถนำไปต่อยอดในการจำหน่ายต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรายขาว  อ.โคกโพธิ์  จ.ปัตตานี  และกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร  อ.ยะหา  จ.ยะลา

สถานที่ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี

วันที่ดำเนินการ

รายละเอียด

ให้บริการวิชาการในการพัฒนาสถานที่ผลิตปลากุเลาเค็ม อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแปรรูปปลากุเลาเค็ม  บางตาวา  และศรีบารู  อ.หนองจิก  จ.ปัตตานี

สถานที่ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

วันที่ดำเนินการ