เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

จากความจำเป็นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์แสดงถึงการจัดการศึกษาที่ต้องมุ่งเน้น การจัดกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนโดยเริ่มต้นที่การรักการอ่านและการสื่อสารที่ฝึกให้ผู้เรียนได้คิดวิเคราะห์ อีกทั้ง เป็นการเสริมสร้างให้ผู้เรียนมีความสามารถด้านภาษา อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้ในทุกๆ ด้าน โดยผู้เรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในการเรียนรู้ คือ ความสามรถด้านภาษา การอ่านออกเขียนได้ และการสื่อสาร ดังนั้น โครงการพัฒนาครูผู้สอนให้สามารถจัดการเรียนการสอนให้กับ นักเรียนมีทักษะการคิดวิเคราะห์ผ่านกิจกรรม “รักการอ่าน สื่อสารดี” ในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ จึงเป็นโครงการที่จะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ที่ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษาอันเป็นรากฐานสำคัญที่สุด

กลุ่มเป้าหมาย

60  โรงเรียน  ในพื้นที่  จชต.

สถานที่ จังหวัชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 กย 61- 30 กย 62

รายละเอียด

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ริเริ่มให้มีกลไกสำคัญในการพัฒนาเด็กปฐมวัยและการศึกษาปฐมวัยในพื้นที่ชายแดนใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยสาขาการศึกษาปฐมวัยได้เปิดสอนนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพียงหลักสูตรเดียวในพื้นที่ชายแดนใต้และเป็นหลักสูตรจุดเน้นของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและในปี พ.ศ. 2554 มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาได้สนับสนุนให้มีการก่อกำเนิด “หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศด้านการศึกษาปฐมวัย (Center for Research in Early Childhood: CREC)” และมีการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง ในปัจจุบันอีกทั้งได้มีการนำองค์ความรู้จากการวิจัยไปสู่การให้บริการวิชาการและพัฒนาศักยภาพครูปฐมวัยผู้ปกครองและเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายแดนใต้อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้มีการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีความพยายามในการหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับเด็กๆ และเยาวชนในพื้นที่โดยมีการนำเอาแนวทางของ “การจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ หรือ “Area – based Education (ABE) เป็นกรอบในการดำเนินงานโดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่รวมตัวกันในลักษณะภาคีเครือข่ายทางการศึกษาจังหวัด ประกอบไปด้วยหน่วยงานและองค์กรหลักและองค์กรที่บูรณาการพันธกิจและการดำเนินงานร่วมกันคือมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาโดยสาขาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์และสถาบันพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนใต้ร่วมกับภาคีอื่นๆ ประกอบด้วยหน่วยงานจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในระดับพื้นที่คือสำนักงาพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาส กระทรวงมหาดไทยคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในระดับจังหวัดและตำบลรวมถึงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตลอดจนอุทยานการเรียนรู้ (TK Park) รวมถึงโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ชายแดนใต้ กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการอันประกอบด้วยสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนในพื้นที่ตังหวัดยะลา ปัตตานีและนราธิวาสรวมถึงสำนักงานศึกษาธิการภาค รวมทั้งสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับการศึกษาปฐมวัยในทุกสังกัด ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ทำหน้าที่เป็นกลไกประสานงานที่สามารถเชื่อมประสานความร่วมมือจากทุกภาคส่วนโดยเอาโจทย์พื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยในปี 2556 – 2558 ได้มีการดำเนินโครงการ “เครือข่ายการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาความสามารถด้านภาษาของเด็กในจังหวัดยะลา”ซึ่งเป็นความร่วมมือของทุกภาคส่วนรวมทั้งหน่วยงานสนับสนุนหลัก คือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่ง การเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ในการ การดำเนินงานตามโครงการทำให้เกิดกลไกเครือข่ายการทำงานร่วมกันของชาวยะลาเพื่อการแก้ปัญหาในเรื่องของ “ความสามารถด้านภาษา” ให้กับเด็กยะลา และกำหนด อัตลักษณ์ เด็กยะลาไว้ คือ “เด็กยะลา Berilmu : รักการอ่าน สื่อสารดี” หมายถึง ให้เด็กยะลาจงมีความรู้ มุ่งเน้นที่ต้นทาง คือ การรักการอ่านและการสื่อสารอันจะนำไปสู่การพัฒนาทักษะกระบวนการคิด และได้ริเริ่มดำเนินการกับสถานศึกษานำร่อง 16 แห่ง ในเขตเมืองยะลา ครอบคลุมสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และริเริ่มดำเนินการในระดับการศึกษาปฐมวัยและประถมศึกษา จากผลการดำเนินงานและความเข้มแข็งของกรอบแนวคิดการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ประกอบกับความเข้มแข็งของภาคีเครือข่ายทางการศึกษาของจังหวัดยะลาทุกภาคส่วน ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาและภาคีเครือข่ายการศึกษาในพื้นที่ชายแดนใต้ เห็นควรจะได้มีการขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั้งสามจังหวัดโดยเริ่มต้นที่ระดับการศึกษาปฐมวัยซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการศึกษา ซึ่งในปัจจุบันในสามจังหวัด มีประชากรวัยเรียนอายุ 3 – 5 ปี เป็นจำนวน 104,342 คน (ข้อมูลจากสำนักงานศึกษาธิการภาค 8, 2559) แสดงให้เป็นถึงความสำคัญของการเร่งพัฒนาศักยภาพประชากรกลุ่มนี้เพื่อเป็นกำลังสำคัญของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และชาติต่อไป อีกทั้งโจทย์การทำงานหลัก คือ การตระหนักถึงพหุปัญญาของมนุษย์ที่หลากหลาย โดยมุ่งเส้นการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามแนวคิดพหุปัญญาตามความถนัดและศักยภาพ เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาและคุณภาพชีวิตคนในพื้นที่ชายแดนใต้ต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

1)  เด็กปฐมวัยจากสถานศึกษา  200  แห่ง  
2)  ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย  
3)  ครูและบุคลากรทางการศึกษา
4)  ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับการศึกษาปฐมวัยจากจำนวนสถานศึกษา  
5)  นักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย

สถานที่ จังหวัชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 กย 61- 30 กย 62

รายละเอียด

การพัฒนาการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นภารกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาตามปรัชญามหาวิทยาลัยในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น อีกทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้ยืนยงปฏิบัติภารกิจผลิตครูในพื้นที่มาครบ 83 ปี ในปี พ.ศ. 2560 มีความผูกพันและมีเครือข่ายครูที่เข้มแข็งในพื้นที่ ดังนั้นการเข้าร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาศักยภาพครูจึงเป็นบทบาทสำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาจึงเป็นกลไกที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยจะได้มีการเร่งสร้างความแกร่งทางวิชาการ ด้วยการเชื่อมโยงเครือข่ายในพื้นที่ในประเทศและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาสถาบันพัฒนาครูชายแดนภาคใต้ อาทิเช่น ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และมหาวิทยาลัยในส่วนกลางตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนางานด้านการศึกษา ร่วมมือกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ร่วมมือกับ กอ.รมน.ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ในพื้นที่ทั้งหมด และยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศโดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียน ดังนั้นโครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจากผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ จึงมีความสำคัญในการเป็นจุดเริ่มต้นในการขับเคลื่อนงานเชิงยุทธศาสตร์ การพัฒนาตามแผนบรูณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพื่อให้การปฏิบัติภารกิจ ด้านการพัฒนาการศึกษาของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีเอกภาพและมีความเข้มแข็งและมีความยั่งยืนสามารถเป็นแหล่งพึ่งพิงทางวิชาการให้กับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างแท้จริง มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา จึงจัดให้มีโครงการการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในพื้นที่ชายแดนใต้ขึ้น เพื่อการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและมีเอกภาพสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนตามแนวทาง ประชารัฐได้อย่างสมบูรณ์แบบมากที่สุด โดยมีความสอดคล้องกับแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) และแผนยุทธศาสตร์ในระดับชาติและพื้นที่ดังนี้ 1.1 แนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายของสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านการศึกษา (SDG4) Goal : Ensure inclusive and equitable quality education and promote lifelong learning opportunities for all การสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมและสนับสนุนใน การเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวชี้วัด 7 ด้าน โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อลดความเหลื่อมล้ำจากผลกระทบของเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนใต้ เกี่ยวข้องดังนี้ ด้านที่ 5 ขจัดความเหลื่อมล้ำทางเพศในการศึกษาและสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึง ผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กเข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียมภายในปี 2573 ด้านที่ 6 สร้างหลักประกันว่าเยาวชนทุกคนและผู้ใหญ่ในสัดส่วนสูง ทั้งชายและหญิงสามารถอ่านออกเขียนได้และคำนวณได้ภายในปี 2573

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและบุคลากรทางการศึกษาชายแดนถาคใต้

สถานที่ จังหวัชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 กย 61- 30 กย 62

รายละเอียด

พัฒนาคุณภาพการศึกษาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ปีงบประมาณ 2563

กลุ่มเป้าหมาย

ครูและนักเรียนในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

สถานที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 ตค 62- 30 กย 63

รายละเอียด

การสร้างพรีเซนเทชันด้วยโปรแกรม Mentimeter

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนในพื้นที่  จชต.

สถานที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

วันที่ดำเนินการ 10 กันยายน 2563

รายละเอียด

พัฒนาคุณภาพการศึกษาของ รร.ในพื้นที่ 60 โรงเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

รร.ในพื้นที่  60  โรงเรียน

สถานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 ตค 63 - 30 กย 64

รายละเอียด

พัฒนาฐานข้อมูลและข้อมูลขนาดใหญ่ (BIG DATA) การสำรวจและรวบรวมข้อมูลวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย

พื้นที่  3  ตำบล

สถานที่ จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ 1 ตค 63 - 30 กย 64

รายละเอียด

ผลการดำเนินงานของ สถาบันพัฒนาครูฯปี 2564 มีโครงการจำนวน 10 โครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

ครู/ประชาชน  ในพื้นที่ชายแดนใต้

สถานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 ตค 63 - 30 กย 64

รายละเอียด

โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) มหวิทยาลัยดำเนิการโครงการในพื้นที่ 29 ตำบล ตามนโยบาลของกระทรวง อว.

กลุ่มเป้าหมาย

ประชาชนในพื้นที่

สถานที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

วันที่ดำเนินการ 1 กพ - 30 ธค 64

รายละเอียด

รายงานการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 2565

กลุ่มเป้าหมาย

บุคลากรทาางการศึกษาชายแดนใต้

สถานที่ 3 จังหวัด

วันที่ดำเนินการ 1 ตค 64 - 30 กย 65