เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

ส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รับผิดชอบปีละ 15 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่ปี 2562 ถึงปัจจุบัน เพื่อสนองพระบรมราโชบายในรัชกาลที่ 10

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน

สถานที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 2562-ปัจจุบัน

รายละเอียด

การพัฒนากลุ่มแปรรูปชุมชนบ้านสันติ 2 เพื่อให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืน จาเป็นต้องพัฒนาอย่างรอบด้านตั้งแต่ ต้นน้า คือ ปัจจัยการผลิตที่ส่งผลผลิตภัณฑ์ ได้แก่ วัตถุดิบที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย สถานที่ผลิตอาหารที่เป็นมาตรฐาน บุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการเป็นผู้ผลิตอาหาร รวมทั้งมีความตระหนักรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของผู้บริโภค กลางน้า คือ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าโดยนาเสนอความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น นั่นคือ ผลิตภัณฑ์อาหารมีความเชื่อมโยงกับบริบทต่าง ๆ ของชุมชน อาทิ ใช้วัตถุดิบหลักในท้องถิ่น มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น ไม่สามารถเลียนแบบได้หรือแม้จะเลียนแบบได้แต่จะไม่สามารถแข่งขันราคาได้ เพื่อสร้างจุดขายและป้องกันการลอกเลียนแบบ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิต การขอการรับรองคุณภาพ (อย. / มผช./ ฮาลาล) เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ปลายน้า การสร้างสื่อประชาสัมพันธ์ การพัฒนาช่องทางการจาหน่ายและการตลาด เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงผลิตภัณฑ์ได้ ซึ่งการพัฒนาอย่างรอบด้านนี้จะทาให้กลุ่มผู้ผลิตอาหารของชุมชนบ้านสันติ 2 สามารถพัฒนาตนเองตามศักยภาพ ตามบริบทของชุมชน อันจะทาให้เกิดการรวมกลุ่ม ผลิตและจาหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชนได้อย่างเป็นลาดับต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผลิตปลาส้ม

สถานที่ หมู่บ้านสันติ 2 อ.ธารโต จ.ยะลา

วันที่ดำเนินการ 2563

รายละเอียด

ปัจจุบันอาชีพการเกษตรด้านปศุสัตว์เป็นอาชีพที่สาคัญของภาคใต้ โดยเฉพาะ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพราะมีการบริโภคและจาหน่ายในปริมาณมาก รวมทั้งปศุสัตว์บางชนิด เช่น โคเนื้อและแพะเนื้อ มีความสาคัญในพิธีทางศาสนา ในแต่ละปีมีการใช้เป็นจานวนมาก ซึ่งโดยส่วนมากเกษตรกรที่ประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์จะนิยมเลี้ยงผสมผสานกับอาชีพหลัก เช่น การประกอบอาชีพสวนยางพารา สวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และการทานา แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมายางพารา หรือไม้ผลราคาตกต่า ส่งผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่ขาดรายได้ จึงทาให้เกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ หันมาสนใจการประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์มากขึ้น โดยเฉพาะโคเนื้อ แพะเนื้อ แพะนม และไก่เบตงเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่ามาทาอาชีพด้านปศุสัตว์ และการปลูกพืชอาหารสัตว์ ในขณะเดียวกัน พบว่า การประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ของเกษตรกรในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่วนใหญ่ยังคงประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ที่ยังไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และยังไม่มีการนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้เป็นเหตุทาให้ผลผลิตที่ได้ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย รวมถึงสถานการณ์ด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ยังคงไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ปัญหาราคาผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่ตกต่า ยังส่งผลกระทบทาให้เกษตรกรมีรายได้จากการประกอบอาชีพปศุสัตว์ที่ลดลง ไม่เพียงพอต่อการดาเนินชีวิตในครัวเรือน ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้ สามารถแก้ไขได้ หากเกษตรกรได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้วิชาการตลอดจนการนาหลักการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามาใช้ในการพัฒนาด้านการผลิตในทุกๆ กระบวนการ รวมทั้งการนาผลผลิตด้านปศุสัตว์ มาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และมีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ โดยคานึงถึงความปลอดภัยของผู้ผลิตและผู้บริโภค ผู้นาเสนอโครงการ จึงนาเสนอโครงการโครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตด้านการเกษตร (การเพิ่มมูลค่าการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพื้นที่ภาคใต้ชายแดน) (โค แพะเนื้อ แพะนม ไก่เบตง) ให้มีทักษะกระบวนการเลี้ยง ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐานตามหลักสากล และเพื่อส่งเสริมให้เกษตรผู้ประกอบอาชีพด้านปศุสัตว์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ นาเอาผลผลิตจากปศุสัตว์ในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง มาผ่านกระบวนการต่างๆ ทางเทคโนโลยี เป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปด้านปศุสัตว์ ที่มีความหลากหลาย เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจอาหารฮาลาล เพื่อการจาหน่ายภายในและต่างประเทศ ซึ่งส่งผลทาให้การดารงชีวิตของกลุ่มเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เศรษฐกิจ และรายได้ของเกษตรกรในพื้นที่มีการเจริญเติบโตไปในทางที่ดี

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบอาชีพปศุสัตว์

สถานที่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 2563

รายละเอียด

ยกระดับห่วงโซคณุภาพผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จากพืชอัตลักษณ์ และยกระดับมาตรฐานสินค้าของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการในพื้นที่  3  ชายแดนใต้

สถานที่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา

วันที่ดำเนินการ ต.ค.2565