เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

องค์ความรู้ผ้ามัดย้อมลวดลายเหมืองทองโต๊ะโม๊ะ

เมื่อ 20 Oct 2020 13:39 น.

ความรู้เรื่องรายละเอียดขององค์ประกอบที่สําคัญในการทำผ้ามัดย้อม

การย้อมสีผ้า

          เทคนิคการย้อมสี หมายถึง การนำเอาวัสดุซึ่งมีสีที่ปรากฏแก่สายตา นำไปชุบ นำไปอาบ พ่น ทา ระบาย หรือแช่ ให้วัสดุอื่นเปลี่ยนสภาพการมองเป็นสีเดียวกับสีที่นำไปชุป อาบ พ่น ทา ระบาย หรือแช่ ซึ่งมีหลากหลายกรรมวิธี ในแต่ละวิธีก็ต้องใช้เครื่องมือและเครื่องจักรเพื่อช่วยให้การย้อมสีนั้นติดทน       

          มีการค้นพบการผ้าย้อมสีในประเทศอียิปต์ ผ้าพิมพ์และผ้าทอในหลุ่มศพและที่ปิรามิดที่เมืองซัดคารา (Sakkara) ฝั่งตะวันตกของเมืองเมมฟิส (Memphis) และที่เมืองแอชมิม (Achmim)  และพบโรงงานย้อมสีในซากเมืองอาร์ทริบิส (Arthribis) พบผ้าย้อมเขียนเทียนหรือใช้ดินเหนียวในการย้อมแบบกันสีย้อม (Resist Dyeing) (ภาพที่ 1) มีการค้นพบผ้าพันมัมมี่ในสุสานอายุนานกว่า 130 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ ทำให้พบการเขียนลวดลายด้วยมือเป็นวิธีหนึ่งในการเขียนลวดลายในการตกแต่งในสมัยนั้น พบผ้าลินินสีแดงจากต้นแมดเดอร์ในหลุ่มศพโบราณของอียิปต์ นอกจากนั้นยังพบเม็ดดอกคำฝอย (Saffower) ในหลุ่มศพตุตันคาเมน (Thammes & Hudson 2000 : 24)

ความรู้เรื่อง แรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายผ้าโดยการมัดย้อม เพื่อสร้างอัตลักษณ์

ลวดลายที่ 1 เลียงร่อน (ลวดลายของเลียงที่ใช่ในการร่อนทอง)

          เนื่องจากใต้ผืนดินเป็นแอ่งกระทะ มีสายน้ำที่ไหลผ่านในพื้นที่ ต.ภูเขาทอง มีเกล็ดแร่ทองคำเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝังปะปนอยู่ใต้ดินมากมาย มหาศาล ถึง 5 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ 1 บ้านไอร์ปาโจ หมู่ 2 บ้านภูเขาทอง หมู่ 3 บ้านโต๊ะโมะ หมู่ 4 บ้านไอร์กือเปาะ และหมู่ 8 บ้านวังน้ำเย็นทุกลำคลองสาขาของแม่น้ำสายบุรีที่ไหลผ่าน ต.ภูเขาทอง มีเกล็ดแร่ทองคำไหลตามมาด้วย ชาวบ้านยึดอาชีพการร่อนเกล็ดทอง เพื่อนำไปขายในราคากรัมละ 1,500 บาท มาตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว เพื่อรองรับนโยบายการท่องเที่ยวเมืองหลักและเมืองรองของรัฐบาล จึงอาศัยความได้เปรียบทางธรรมชาติที่สวยงาม และยังมีแหล่งแร่ทองคำในสายน้ำมาพัฒนาและต่อยอด เพื่อให้เป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้หันมาท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในพื้นที่ เพื่อสร้างรายได้เสริมให้ชาวบ้านมากขึ้น

          ที่อีสานเขาขายข้าวซื้อทอง แต่ที่ภูเขาทองพวกเราขายทองซื้อข้าว" เป็นคำกล่าวเปรียบเปรยของ "ป้าแหวน" แสงอรุณ จันทร์หอม วัย 55 ปี ที่อธิบายความเป็น "บ้านภูเขาทอง" ของ อ.สุคิริน จ.นราธิวาส ได้อย่างเห็นภาพที่สุด

          "การร่อนทองไม่ใช่ง่าย เพราะไม่ใช่ว่าร่อนทองแล้วต้องเจอทุกครั้ง มันต้องหากันไปเรื่อยๆ ย้ายที่ร่อนหาทองไปถ้าบริเวณที่ร่อนอยู่ไม่เจอแร่ทอง จนบ้างครั้งต้องไปร่อนหาทองในคลองช่วงที่ผ่านหมู่บ้านของพี่น้องมุสลิมที่อยู่ใกล้กัน ซึ่งพื้นที่ตรงนั้นก็เคยมีเหตุร้ายเหมือนอำเภออื่นๆ ในสามจังหวัด ผิดกับบ้านภูเขาทองที่ไม่เคยมีเหตุร้าย" ป้าแหวนเล่า ชาวบ้านในภูเขาทองส่วนใหญ่มีชีวิตผูกพันกับแร่ทอง จึงมีความเชื่อเหมือนกันเกือบทุกครัวเรือนว่าเวลาจะปลูกบ้านใหม่ ต้องนำแร่ทองคำที่เคยร่อนได้ไปฝังไว้ที่เสาเอก เพราะว่าแร่ทองเหล่านี้เป็นทองดิบ ต้องมีไว้ในบ้านเพื่อเรียกเงินเรียกทองเข้าบ้าน ครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุข วิถีชีวิตคนร่อนทองที่บ้านภูเขาทอง เป็นอีกมุมหนึ่งของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่คนนอกไม่ค่อยได้รับรู้ โดยเฉพาะการดำรงชีวิตอย่างสุขสงบบนผืนดินอันอุดม และปราศจากความรุนแรง

          การร่อนทองแห่งบ้านภูเขาทอง ใช้ "เลียง" เครื่องมือที่ทำจากไม้คล้ายๆ กระทะร่อนหาทองในคลองสายเล็กในหมู่บ้าน คลองสายเล็กๆ นี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายบุรีที่ไหลมาจากภูเขาโต๊ะโมะ แหล่งแร่ทองคำที่มีชื่อของ อ.สุคิริน จึงกลายมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบลวดลายผ้าโดยการมัดย้อมลวดลายที่ 1 เลียงร่อน (ลวดลายของเลียงที่ใช่ในการร่อนทอง) การออกแบบลวดลายที่ออกมาก็จะมีลวดลายในลักษณะกลม ขนาดเล็กบ้างใหญ่บ้างเพื่อให้เหามะสมกับการจัดองค์ประกอบบนผืนผ้า เพื่อนำไปผลิตผลิตภัณฑ์