เว็บไซต์นี้เป็นเวอร์ชั่น Demo เท่านั้น หน้าหลัก

บริการวิชาการ

คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

รายละเอียด

ผ้าบาติกเป็นผ้าที่นิยมใช้กันมากในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศ อินโดเนเซีย มาเลเซีย บรูไนดารุสลาม หมู่เกาะทางภาคใต้ของฟิลิปปินส์ รวมทั้งภาคใต้ของประเทศไทย สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่แล้วมักจะเริ่มต้นทางตอนใต้ของประเทศ เช่น จังหวัดนราธิวาส ยะลา ปัตตานี ผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีลักษณะเฉพาะที่สะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น มีผู้ประกอบการหลายรายได้ผลิตสินค้าดังกล่าวจนเป็นที่ยอมรับให้เป็นสินค้า OTOP ระดับ 4 – 5 ดาว แต่ถึงอย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์หลายประเภทยังต้องการการปรับปรุงและพัฒนาในการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ การนำเทคนิคและการออกแบบที่ทันสมัยผสมผสานกับเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในพื้นที่มาใช้ในการแปรรูปผลิตผ้าบาติก เพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก จะสามารถทำให้ตอบสนองต่อการใช้งานของผู้บริโภคมากขึ้น และสามารถนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และการขยายช่องทางและโอกาสทางการตลาดให้สำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม ซึ่งอาจส่งผลให้มีโอกาสในการจ้างงานที่มั่นคงและสร้างรายได้เพิ่มขึ้น โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตกแต่งสำเร็จและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก เป็นส่วนหนึ่งที่จะเข้าไปช่วยในด้านของการออกแบบและแปรรูปให้กับกลุ่มแม่บ้าน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป กลุ่ม M.Y. MAMA ( MAYO MAMA, มายอมามา ) มีหัวหน้ากลุ่มชื่อ นางปือเสาะ มะเดง ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 2 ตำบล เมืองยอง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี ก่อตั้งมาประมาณ 4 ปี จากการรวมกลุ่มของแม่บ้านจำนวน 35 คน ในหมู่ที่ 2 ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชุมชนโดยตรง ทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เศรษฐกิจครอบครัวเปลี่ยนแปลง ขาดความมั่งคงในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2547 ความรุนแรงในพื้นทีเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต่อการดำรงชีพ และการประกอบกิจการต่างๆ ของคนในพื้นที่ นางปือเสาะ มะเดง จึงชักชวนสตรีในหมู่บ้านมาทำผลิตภัณฑ์ผ้าบาติก เพื่อเป็นอาชีพเสริม แต่ถึงอย่างไรก็ดีผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกของกลุ่มมายอมามา ยังต้องการการปรับปรุงและแปรรูปในการออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ ร่วมไปถึงยังต้องการช่องในการโฆษณาประชาสัมพันธ์และช่องทางในการจำหน่ายสินค้า โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการตกแต่งสำเร็จและแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก นอกจากจะช่วยในด้านการตกแต่งสำเร็จผ้าผืนและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกแล้ว ยังเขียนขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มแม่บ้านในการเป็นช่วยผู้จัดหาช่องทางในการโฆษณาประชาสัมพันธ์และช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้า เช่น การเปิดร้านขายสินค้าใน เฟสบุ๊ค (Facebook ) ซึ่งปัจจุบันการเปิดร้านค้าออนไลน์บน facebook นั้น สามารถทำได้ง่ายๆ เพราะปัจจุบันอินเตอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ และทุกเพศทุกวัย เพื่อเพิ่มช่องทางการซื้อขายพร้อมกับให้บริการข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้ทันกับยุคปัจจุบัน เพื่อรองรับการขยายตัวทางธุรกิจในอนาคตลดรายจ่ายให้แก่กลุ่มแม่บ้าน ตลอดจนอำนวยความสะดวกในการสั่งซื้อสินค้าให้ลูกค้าอีกด้วย 7. วัตถุประสงค์ : 1. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการตกแต่งสำเร็จผ้าผืน 2. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก 3. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเปิดร้านขายสินค้าออนไลน์ รับการจัดสรรงบประมาณ จากสำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558

กลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกลุ่ม  มายมามา  (M.Y.  MAMA  ย่อมาจาก  มายอมามา)
ประธานกลุ่ม  นางปือเสาะ  มะเดง
ชื่อชุมชน  เมืองยอน  หมู่ที่  2  ตำบล  ลุโบะยิไร  อำเภอมายอ  จังหวัดปัตตานี  หมายเลขโทรศัพท์   086-2925012

สถานที่ กลุ่มบาติกเมืองยอน

วันที่ดำเนินการ 2558

รายละเอียด

ผู้รับผิดชอบหลักโครงการ 1.อ.พอหทัย ซุ่นสั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ 2. ผศ.สุพร สุนทรนนท์ 3. ผศ.อับดุลรอซะ วรรณอาลี 4. อ.ศฤงคาร กิติวินิต 5. อ.สุริยานาคิน 6. ปราโมทย์ ศรีปลั่ง 7. อ.กัปปน์ สรรกิจ 8. อ.สุวสสา เภอทอง 9. น.ส.จิรชยา ฉวีอินทร์ ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ - มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและขายผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากผ้าบาติก ที่ได้รับการออกแบบ 2,000 บาท ต่อคน ต่อเดือน - ลดปัญหาการว่างงาน เพิ่มความสามัคคีในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านผลิตภัณฑ์จักสาน  ตำบลท่าสาป  อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา

สถานที่ อำเภอท่าสาป

วันที่ดำเนินการ 2559

รายละเอียด

โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผ้าบาติกด้วยเทคนิคการซ้อนสีและการเขียนเส้นเงิน เส้นทองนูน เพื่อการแปรรูปเป็นของใช้สําหรับสตรี ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ประจะปีงบประมาณ/ 2560 โดยจัดขึ้นที่กลุ่มบาติกแหลมดิน มีหัวหน้ากลุ่มชื่อ นางสาวฟารินดา ดอมะ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 หมู่บ้านแหลมดิน ตําบลหนองแรก อําเภอยะหริ่ง จังหวัด ปัตตานี ก่อตั้งมาประมาณ 1 ปี จัดอบรมให้แก่กลุ่มแม่บ้านและประชาชนที่สนใจบางส่วน ปัจจุบันคนใน ชุมชนไม่มีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน จึงต้องการฝึกการทําผ้าบาติกเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ดังนั้น โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผ้าบาติกด้วยเทคนิคการซ้อนสีและการเขียนเส้นเงินเส้นทอง นูน เพื่อการแปรรูปเป็นของใช้สําหรับสตรี จึงจัดอบรมเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่สามารถสร้าง มูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ให์สอดคล้องกับความต้องการของตลาด กลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชน โครงการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผ้าบาติกด้วยเทคนิคการซ้อนสีและการเขียนเส้นเงิน เส้นทองนูน เพื่อการแปรรูปเป็นของใช้สําหรับสตรี ได้จัดกิจกรรมเพื่อจัดอบรมให้กับกลุ่มแม่บ้าน 2. ความเป็นมาของโครงการ กลุ่มบาติกแหลมดิน มีหัวหน้ากลุ่มชื่อนางสาวฟารินดา ดอมะ ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 หมู่บ้าน แหลมดิน ตําบลหนองแรก อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ก่อตั้งมาประมาณ 1 ปี จากการรวมกลุ่มของ แม่บ้านจํานวน 35 คน ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบภายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อชุมชนโดยตรงและปัญหาความยากจน ทําให้ทั้งด้านเศรษฐกิจและ สังคม เศรษฐกิจครอบครัวเปลี่ยนแปลง ขาดความมั่งคงในชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2547 ความรุนแรงในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลต้อการดํารงชีพ และการประกอบกิจการต่างๆ ของคน ในพื้นที่ นางสาวฟารินดา ดอมะ จึงชักชวนสตรีในหมู่บ้านมาทําผลิตภัณฑ์ผ้าบาติกเพื่อเป็นอาชีพเสริม 3. วัตถุประสงค์ เพื่อยกระดับการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีอัตลักษณ์เฉพาะ น่าสนใจ เป็นที่ต้องการของ ตลาดอันนํามาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 20% ภายในระยะเวลาการดําเนินโครงการที่กําหนด 4. ผลผลิตของโครงการ กลุ่มบาติกแหลมดิน จังหวัดปัตตานี ได้รับการพัฒนายกระดับการผลิตและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ทํา ให้ผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 11 แบบ ที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ น่าสนใจ เป็นที่ต้องการของตลาด อันนํามาซึ่งรายได้ เพิ่มขึ้นจากเดิม 20% ทุนสนับสนุนโครงการจากจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ในโครงการคูปองวิทย์เพื่อโอทอป (STI for OTOP upgrade) วว.

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มแม่บ้านและประชาชนที่สนใจ

สถานที่ ชื่อกลุ่ม: บาติกแหลมดิน ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 หมู่บ้านแหลมดิน ตําบลหนองแรก อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 2560

รายละเอียด

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติติการพัฒนาชุมชนบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง เป็นโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณาจารย์สังกัด คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างอัตลักษณ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ และพัฒนาแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเหมืองแร่ทองคำโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส การดำเนินโครงการ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของโครงการ กล่าวคือ ผู้ประกอบการด้านผ้าและเครื่องแต่งกายในตำบลภูเขาทองจำนวน 30 คน ได้พัฒนาศักยภาพในการออกแบบลวดลายผ้าโดยการมัดย้อม และพัฒนาของที่ระลึกเพื่อประชาสัมพันธ์เหมืองแร่ทองคำโต๊ะโม๊ะ ตำบลภูเขาทอง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส โดยมีกลุ่มผู้ประกอบการด้านผ้าและเครื่องแต่งกายในตำบลภูเขาทองจำนวน 30 คนเข้าร่วม การประเมินผลโครงการพบว่า มีระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการในกิจกรรมที่ 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.48 คิดเป็นร้อยละ 89.60 และกิจกรรมที่ 3 อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย 4.52 คิดเป็นร้อยละ 90.40 นับว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ประกอบการด้านผ้าและเครื่องแต่งกายในตำบลภูเขาทองได้เป็นอย่างดี และผู้ประกอบการด้านผ้าและเครื่องแต่งกายมีองค์ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในสถานประกอบการของตนเอง เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการด้านผ้าและเครื่องแต่งกายในตำบลภูเขาทองจำนวน  30  คน

สถานที่ องค์การบริหารส่วนตำบลภูเขาทอง

วันที่ดำเนินการ 3 – 7 กรกฎาคม 2563

รายละเอียด

โครงการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกเพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกายและบรรจุภัณฑ์กลุ่มญาริงบาติกได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมประจำปีงบประมาณ 2562 โดยจัดขึ้นที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนญาริง มีหัวหน้ากลุ่มชื่อ นางอาสิเยา มาหมัด ตั้งอยู่ที่ บ้านเลขที่1หมู่1 หมู่บ้านแหลมดิน ตำบลหนองแรก อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ก่อตั้งประมาณ 2 ปี จัดอบรมให้แก่กลุ่มแม่บ้านและประชาชนที่สนใจบางส่วน ปัจจุบันคนในชุมชนไม่มีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน จึงต้องการฝึกการทำ ผ้าบาติกเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ ดังนั้นโครงการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกเพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกายและบรรจุภัณฑ์ กลุ่มญาริงบาติก จึงจัดอบรมเพื่อสนับสนุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดกลุ่มเป้าหมายและเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนโครงการพัฒนาลวดลายผ้าบาติกเพื่อการออกแบบเครื่องแต่งกายและบรรจุภัณฑ์ กลุ่มญาริงบาติก โดยมีการบูรณาการกับงานวิจัยเรื่องวิจัยสร้างสรรค์การออกแบบชุดประจำจังหวัดโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรมเพื่อประชาสัมพันธ์จังหวัดยะลา โดยการนำผลิตภัณฑ์ที่ทางกลุ่มออกแบบไปแสดงแบบการแต่งกาย “ผ้าไทย ผ้าถิ่นยะลา” กิจกรรมเส้นสายบนลายผ้า โครงการส่งเสริมภาพลักษณ์จังหวัดยะลา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 กิจกรรมกลุ่มตามแผนการปฏิบัติงาน แบ่งเป็น 2 ผลผลิต

กลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกกลุ่มญาริงบาติก

สถานที่ กลุ่ม: ญาริงบาติก ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 1 หมู่ 1 หมู่บ้านแหลมดิน ตําบลหนองแรก อําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี

วันที่ดำเนินการ 2562

รายละเอียด

โครงการอบรมพัฒนาการออกแบบผ้าและเครื่องแต่งกายโดยใช้ทุนทางวัฒนธรรม ได้รับ การอนุมัติดําเนินโครงการอบรมและ Incubation โดย ศูนย์นวัตกรรมสร้างสรรค์ เครือข่ายบริหารการ วิจัยภาคใต้ตอนล้าง (UCC-LSB) โดยใช้งบประมาณจํานวน 120,000 บาท มีลักษณะการจัดกิจกรรม แยกเป็น 2 ส่วน คือ กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาและสร้างสรรค์ลวดลายผ้าเพื่องานตัดเย็บ และกิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมปฏิบัติการออกแบบแฟชั่นและการตัดเย็บ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการและผู้ที่มี ความสนใจด้านผ้าและเครื่องแต่งกาย ทางด้านการออกแบบลวดลายผ้า ทางด้านการสร้างแบบในการ ตัดเย็บ และการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตนเอง กลุ่มเป้าหมายจํานวน 25 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 3, 9 - 10 และ 16 - 17 กุมภาพันธ์ 2562 ณ อาคารเรียนศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา

กลุ่มเป้าหมาย

พัฒนาผู้ประกอบการและผู้ที่มี  ความสนใจด้านผ้าและเครื่องแต่งกาย  ทางด้านการออกแบบลวดลายผ้า  ทางด้านการสร้างแบบในการ  ตัดเย็บ  และการเพิ่มมูลค่าให้กับผลงานของตนเอง

สถานที่ ณ อาคารเรียนศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา

วันที่ดำเนินการ 2562

รายละเอียด

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสํานักงานอุตสาหกรรมจังหวัด นราธิวาส ในการดําเนินโครงการ พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจการแข่งขัน 4.0 พร้อมทั้งได้จัดเตรียม ทีมงานและคณะที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็น เอกลักษณ์ของพื้นที่ ให้มีรูปแบบสวยงาม มีการเชื่อมโยงถึงสื่อวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามของท้องถิ่น ตลอดจนความสอดคล้องกับแนวโน้มด้านการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดําเนินธุรกิจที่ สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ในสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงได้

กลุ่มเป้าหมาย

ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายจังหวัดนราธิวาส

สถานที่ จังหวัดนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 2561

รายละเอียด

1. หลักการและเหตุผล สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส ในการดำเนินโครงการ พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจการแข่งขัน 4.0 พร้อมทั้งได้จัดเตรียมทีมงานและคณะที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ให้มีรูปแบบสวยงาม มีการเชื่อมโยงถึงสื่อวัฒนธรรมประเพณีที่งดงามของท้องถิ่น ตลอดจนความสอดคล้องกับแนวโน้มด้านการตลาด เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจที่สนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าและตลาดทั้งในตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน ในสถานการณ์การแข่งขันที่รุนแรงได้ 2. วัตถุประสงค์โครงการ เพื่อพัฒนาทักษะของกลุ่มผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน นักออกแบบ ให้สามารถผลิตสินค้า สิ่งทอ เคหะสิ่งทอ และเครื่องแต่งกายมุสลิมที่มีเอกลักษณ์ สนองตอบต่อความต้องการของตลาดและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่าย และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ 3. เป้าหมาย/ผลผลิตที่คาดว่าจะได้รับ กลุ่มผู้ประกอบการทอผ้า และผ้าบาติก ในจังหวัดนราธิวาส 4. ระยะเวลาของโครงการ 4 เดือน นับจากวันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงหรืออนุมัติดำเนินโครงการ 5. ขอบเขตและขั้นตอนการดำเนินงาน 1. สำรวจข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มผู้ประกอบการ SME OTOP และวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้า และเครื่องแต่งกาย ที่ตั้งกิจการในจังหวัดนราธิวาสทั้งหมด 2. วิเคราะห์ศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย โดยการสำรวจและตรวจวินิจฉัยสถานประกอบการเป้าหมาย ทั้ง 50 กิจการ โดยมีสาระสำคัญ คือ ชื่อสถานที่ตั้ง แผนที่พร้อมเส้นทาง ประเภทของกิจการ ยอดจำหน่าย และผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอพร้อมวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ / สภาพการผลิตเพื่อประเมินศักยภาพ (จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค) และจัดทำกรอบแนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับการตลาดและความต้องการของลูกค้า 3. ให้คำปรึกษาแนะนำเชิงลึกแก่ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้าและเครื่องแต่งกายระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 3 Man-day ต่อกิจการ จำนวน 50 กิจการ ประกอบด้วยกิจกรรมให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อแก้ไขปัญหา และ/หรือ เพิ่มประสิทธิภาพสถานประกอบการ ด้านการผลิต โลจิสติกส์ ปรับปรุงคุณภาพ ลดต้นทุนพลังงานมาตรฐานการผลิต การจัดการการเงิน การตลาด และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยที่ปรึกษาลงพื้นที่อย่างน้อย 2 ครั้ง / กิจการ 4. ที่ปรึกษาดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานของสถานประกอบการ ตามที่ได้ผ่านการอบรมสัมมนา และการให้คำปรึกษาแนะนำความรู้ในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการดำเนินกิจการโดยทำการประเมินศักยภาพของผู้ประกอบการแต่ละราย จำนวน 50 ราย 5. ติดตาม และประเมินผลกลุ่มผู้ประกอบการที่เข้าร่วม ตลอดโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มผู้ประกอบการ  SME  OTOP  และวิสาหกิจชุมชนประเภทผ้า  และเครื่องแต่งกาย  ที่ตั้งกิจการในจังหวัดนราธิวาสทั้งหมด

สถานที่ จังหวัดนราธิวาส

วันที่ดำเนินการ 2561