คลิกที่รายการ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม
รายละเอียด
โครงการ Biology Open House (อบรมเชิงปฏิบัติการทางชีววิทยา) เป็นโครงการหนึ่ง ภายใต้โครงการสรรหานักศึกษาของหลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการเกษตร โดยโครงการนี้เป็นการจัดอบรมปฏิบัติการทางชีววิทยาเรื่อง การศึกษาโครโมโซม และการสกัดดีเอ็นเอพืช ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจํานวน 2 ครั้งๆ รวมจํานวน 145 คน ณ ห้อง 05-304 และ 05-307 อาคาร 5 คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏ ยะลา ในวันเสาร์ที่ 14 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 และวันเสาร์ที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ซึ่ง ได้รับอนุมัติให้ดําเนินโครงการโดยใช้งบบํารุงการศึกษาประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 จํานวน 10,000 บาท และมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานักเรียนมีทักษะในการปฏิบัติการทางชีววิทยาและ ประชาสัมพันธ์ในการรับนักศึกษาให้ตรงตามแผนการรับนักศึกษา ในการจัดอบรมให้ความรู้ครั้งนี้มีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4, 5 และ 6 เข้าร่วมโครงการ ในสัดส่วนจํานวนใกล:เคียงกันเท่ากับร้อยละ 63.6, 69.7 และ 66.7 ตามลําดับ ซึ่งมาจากโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยาโรงเรียนซอลีฮียะห์ โรงเรียนพีระยานาวินคลองหินวิทยา โรงเรียนอาสาสุลดีนวิทยา และ โรงเรียนศาสนูปถัมภ์ โดยหลังจากเข้าร่วมการอบรมพบว่านักเรียนมีระดับคะแนนทดสอบความรู้ เพิ่มขึ้นจากคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.09 เป็น 6.76 และมีจํานวนนักเรียนที่ได้คะแนนเต็มเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการในด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดการ ด้านวิทยากร และด้านผู้เข้าร่วมโครงการในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยครั้งที่ 1 = 4.21 และค่าเฉลี่ยครั้งที่ 2 = 4.28)
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 60 คนต่อครั้ง รวมจำนวน 120 คน
สถานที่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
วันที่ดำเนินการ
ครั้งที่ 1 ในวันเสาร์ที่ 14 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2562, ครั้งที่ 2 ในวันเสาร์ที่ 18 เดือนมกราคม พ.ศ. 2563
รายละเอียด
อบรมเทคนิคปฏิบัติการเบื้องต้นทางวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย กิจกรรมการทดลองการหายใจของยีสต์ ให้ความรู้เกี่ยวกับการหายใจและการหมักของยีสต์
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนโรงเรียนดรุณศาสตร์วิทยา อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
สถานที่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ห้อง 05-304 และ 05-307
วันที่ดำเนินการ
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.00-16.00 น.
รายละเอียด
อบรมปฏิบัติการทางชีววิทยา เรื่องการจำลองตัวของดีเอ็นเอ และการสังเคราะห์โปรตีน
กลุ่มเป้าหมาย
ครูระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเข้าร่วมการอบรม จำนวน 15 คน
สถานที่ คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ผ่าน Google meet (ออนไลน์)
วันที่ดำเนินการ
วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2564
รายละเอียด
หลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
ได้จัดโครงการบริการวิชาการ “ปฏิบัติการชีววิทยา: เรื่องจริงของโดเมนยูคาร์ยา(Domain Eukarya)” โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนระดับมัธยมปลาย จำนวน 30 คน ในจังหวัด
ปัตตานี ยะลา และน ราธิวาส เมื่อวัน ที่ 5,12,19 กุมภาพันธ์ 2565 รูปแบบออนไลน์
กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้พื้นฐานทางชีววิทยา และสามารถนำไปใช้
เสริมสร้างความเข้าใจในการเรียนตามระดับชั้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเกิดทักษะในการปฏิบัติการ
ทดลองทางชีววิทยา ซึ่งการจัดกิจกรรมครั้งนี้ได้รับทุนสนับสนุนจาก คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
และการเกษตรมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
สถานที่ ออนไลน์ (สถานการณ์โควิด-19)
วันที่ดำเนินการ
5,12,19 กุมภาพันธ์ 2565
รายละเอียด
โครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สื่อการสอนอย่างง่ายด้านชีววิทยา (พันธุ
ศาสตร์) เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการสรรหานักศึกษาของหลักสูตรชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตรโดยโครงการนี้เป็นการจัดอบรมปฏิบัติการทางชีววิทยาเรื่อง การจำลองตัวของดีเอ็นเอ และการสังเคราะห์โปรตีน ณ ผ่านระบบออนไลน์ ในวันที่ 15 เดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ซึ่งได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ และมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคุณครูให้มีทักษะในการปฏิบัติการทางชีววิทยา และประชาสัมพันธ์ในการรับนักศึกษาให้ตรงตามแผนการรับนักศึกษา ในการจัดอบรมให้ความรู้ครั้งนี้มีพบว่าคุณครูที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมในด้านวิทยกร และด้านผู้เข้าร่วมโครงการ เฉลี่ยเท่ากับ 4.45 ซึ่งอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก โดยเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าครูที่เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจต่อการสร้างบรรยากาศและการถ่ายทอดความรู้ ความชัดเจนในการตอบข้อซักถาม ความพึงพอใจในภาพรวมของวิทยากร ความรู้ที่ได้รับหลังการเข้ารับการอบรม และความพึงพอใจโดยรวมที่มีต่อการอบรม ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการนี้จากความพึงพอใจภาพรวมในด้านต่างๆ เช่น ด้านการจัดการ ด้านวิทยากร และด้านผู้เข้าร่วมโครงการ ของครูที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง การใช้สื่อการสอนอย่างง่ายด้านชีววิทยา (พันธุศาสตร์) สามารถสรุปได้ว่าระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย = 4.37±1.06 ) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าครูมีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในทุกๆ ด้าน และยังให้ข้อเสนอแนะต่อโครงการ ได้แก่ อยากให้มีการจัดอบรมต่อไป อยากให้มีการจัดกิจกรรมการอบรมแบบนี้อีก เหมือนได้ฟื้นความรู้และทำให้เราเข้าใจตรงกันว่าแบบนี้ เวลานำไปสอนจะได้สอนเหมือนๆกัน เด็กๆจะความรู้ที่ถูกต้อง เป็นกิจกรรมที่ดี อยากให้มีการอบรมในเรื่องเคมีพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต
กลุ่มเป้าหมาย
ครู/อาจารย์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้
สถานที่ ออนไลน์ (สถานการณ์โควิด-19)
วันที่ดำเนินการ
15 เดือนกันยายน พ.ศ. 2564
รายละเอียด
ค่ายพรีโอลิมปิกวิชาการสำหรับนักเรียนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีที่ ๔ ในรูปแบบออนไลน์
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
สถานที่ ศูนย>มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา อําเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
วันที่ดำเนินการ
๕ – ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๕
รายละเอียด
โยเกิร์ติเป็นอาหารประเภทนมหมักที่ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์โพรไบโอติก ซึ่งอยู่ในกลุ่มแบคทีเรียแลกติกที่
สามารถปรับสภาพความเป็นกรดในกระเพาะอาหารให้เหมาะสม และยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ที่
เป็นโทษได้(วุฒิกร สระแก้ว และคณะ, 2563) โพรไบโอติกส์เป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ซึ่ง FAO และ WHO ได้ให้
คําจํากัดความไว้ว่า “เป็นจุลินทรีย์มีชีวิต ซึ่งถ้ามีจํานวนมากพอจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่สุขภาพได้” จุลินทรีย์
กลุ่มนี้ใช้กันทั่วโลกในด้านการดูแลสุขภาพและบําบัดโรค (สุภัจฉรา นพจินดา, 2557)
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus) ทําให้เกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโร
นา 2019 หรือโรคโควิด-19 (COVID-19) ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ Severe Acute
Respiratory Syndrome Coronavirus (SARSCoV-2) โดยมีการรายงานยอดผู้ป่วยโควิด-19 สะสมจาก 210
ประเทศทั่วโลก จํานวน 123.4 ล้านราย (Department of Disease Control, 2021) ทําให้มีงานวิจัยหลาย
ฉบับจากทั่วโลกได้มุ่งศึกษา "โพรไบโอติกส์ (Probiotics)" จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจเป็นอีก
ทางเลือกในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโคโรนาหรือ SARS-CoV-2 รวมถึงความเป็นไปได้ในการใช้โพรไบโอติกส์เพื่อ
ป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 จากผลวิจัยของนักวิจัยจากจีนได้ทดลองให้ผู้ป่วยโควิด-19 รับประทานโพร
ไบโอติกส์บางตัว และพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันจากโพรไบโอติกส์มีอาการทุเลาลงมากกว่า รวมถึงการติด
เชื้อในกระแสเลือดลดลง ปริมาณจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในอุจจาระมากขึ้น และสามารถทําให้ภูมิคุ้มกันมีความ
เป็นกลางต่อเชื้อไวรัสได้นอกจากนี้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยดุ๊ก นอร์ทแคโรไลนา ประเทศสหรัฐ เผยว่า โพร
ไบโอติกส์ มีความสามารถในการบรรเทาอาการติดเชื้อและลดการแพร่กระจายของเชื้อเหล่านั้นในร่างกาย เรา
พบว่าโพรไบโอติกส์สามารถกําจัดไวรัสและแบคทีเรียรวมถึงควบคุมการอักเสบ (TNN Oline เกาะติดโควิด-19,
9 มีนาคม 2564)
หลักสูตรชีววิทยาเทคโนโลยีและนวัตกรรม คณะวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการเกษตร ได้เปิดการ
เรียนการสอนรายวิชาจุลชีววิทยา ในระดับปริญญาตรี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการผลิตโยเกิร์ต และได้บูรณาการ
สอนในแบบ project-based learning ให้นักศึกษาคิดค้น ออกแบบและพัฒนาการผลิตโยเกิร์ตผสมผลไม้
ท้องถิ่นขึ้น จากการพัฒนาการผลิตโยเกิร์ตดังกล่าว หลักสูตรเล็งเห็นว่าเป็นความรู้ที่มีประโยชน์ และสามารถ
ถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้แก่ชุมขนได้ ดังนั้นหลักสูตรจึงสนใจจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตโยเกิร์ตโฮมเมด
ผสมผลไม้ท้องถิ่นเสริมสุขภาพป้องกันโควิด-19 เพื่อเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หมักจากนม
การผลิตโยเกิร์ตได้ด้วยตนเองที่สามารถเสริมสุขภาพป้องกันโควิด-19 และยังสามารถนําความรู้ไปประยุกต์เป็น
อาชีพหลักหรืออาชีพเสริมได้
กลุ่มเป้าหมาย
บุคคลทั่วไปในและนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ จํานวนอย่างน้อย 15 คน
สถานที่ ออนไลน์ (สถานการณ์โควิด-19)
วันที่ดำเนินการ
1 มีนาคม 2565-31 กรกฎาคม 2565
รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้สนใจทั่วไป
สถานที่ ปัตตานี
วันที่ดำเนินการ
5-6 มีนาคม 2565